Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26761
Title: เขตอำนาจศาลในคดีอาญา
Other Titles: Criminal Jurisdiction
Authors: สุผานิต มั่นศุข
Advisors: ดำรง ธรรมารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เขตอำนาจศาลในคดีอาญา ในความหมายของวิทยานิพนธ์นี้ เป็นขอบเขตของการใช้อำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาของรัฐ อำนาจศาลในคดีอาญาของรัฐเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากการที่รัฐมีอำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจทางตุลาการที่จะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของรัฐ ซึ่งเป็นความผิดต่อชุมชน และความสงบเรียบร้อยของรัฐ และการที่รัฐจะใช้อำนาจศาลในคดีอาญาได้นี้ ต้องมีกฎหมายอาญาที่กำหนดการกระทำที่เป็นความผิดอาญานั้นเสียก่อน รัฐจึงจะสามารถใช้อำนาจศาลในคดีนั้นได้ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ ใช้อำนาจศาลในคดีอาญาตามหลัก 3 ประการ คือ 1) อำนาจศาลเหนือดินแดนหรืออาณาเขตของรัฐ 2) อำนาจศาลเหนือบุคคล 3) อำนาจศาลในหลักลงโทษสากล อำนาจศาลเหนือดินแดนหรืออาณาเขต เป็นขอบเขตของอำนาจศาลของรัฐที่ใช้ต่อการกระทำความผิดอาญาที่เกิดขึ้นในดินแดน มุ่งประสงค์ต่อความผิดที่กระทำภายในดินแดนทั้งหมด ไม่ว่าผู้กระทำความผิดนั้นจะเป็นผู้ใด เป็นคนในสัญชาติของรัฐ ผู้มีภูมิลำเนาในรัฐ คนต่างด้าว หรือคนไร้สัญชาติ แต่ในหลักนี้มีข้อยกเว้นตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในอื่น ๆ ของรัฐ อำนาจศาลเหนือบุคคลเป็นอำนาจศาลตามหลักที่จะพิจารณาพิพากษาการกระทำความผิดอาญาที่เกี่ยวกับสถานะของบุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับรัฐ ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำหรือผู้เสียหายในกรณีที่ความผิดอาญาได้เกิดขึ้นในต่างแดน รวมถึงอำนาจศาลในคดีอาญาเหนือเรื่อ และอากาศยานที่จดทะเบียนของรัฐด้วย อำนาจศาลในหลักลงโทษสากล เป็นการที่รัฐใช้อำนาจศาลในคดีอาญาแก่การกระทำความผิดอาญาที่ถือเป็นความผิดต่อนานาชาติ หรือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นความผิดที่ถือว่ามีเป็นความผิดต่อมวลชุมชน รัฐมีอำนาจศาลลงโทษบุคคลผู้กระทำความผิดได้ แม้ว่าความผิดนั้นเกิดขึ้นภายนอกรัฐ และผู้กระทำความผิดไม่มีความเกี่ยวข้องพิเศษอะไรกับรัฐ รัฐมีอำนาจศาลในคดีอาญาลงโทษความผิดในหลักนี้ได้ ถ้าผู้กระทำความผิดปรากฏตัวอยู่ในรัฐ ความผิดในหลักลงโทษสากลนี้โดยมากเป็นความผิดตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐที่เป็นภาคีมีอำนาจก็จะลงโทษได้ไม่ว่าความผิดจะเกิดขึ้น ณ ที่ใด โดยหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการดังกล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องช่วยเหลือกันปราบปรามผู้กระทำความผิด โดยให้กฎหมายอาญาของตนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังจะต้องร่วมมือช่วยเหลือกันที่จะส่งตัวผู้กระทำผิด ซึ่งหลบหนีไปยังรัฐอื่น โดยอาศัยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เขตอำนาจศาลในคดีอาญาของประเทศไทยนั้น ในสมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประเทศไทยเรามีขอบเขตอำนาจศาลอย่างสมบูรณ์ในดินแดน จนกระทั่ง พ.ศ. 2507 ประเทศไทยได้เสียเอกราชในการศาลเป็นครั้งแรกในการทำสนธิสัญญากับฮอลันดาเกี่ยวกับให้สิทธิภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวฮอลันดา และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เราก็ต้องเสียเอกราชในการศาลให้ประเทศฝรั่งเศสอีก และเมื่อสิ้นรัฐสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไทยก็มีอำนาจศาลในคดีอาญาอย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้เสียเอกราชในการศาลให้แก่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่แสวงหาอาณานิคมในประเทศตะวันออกไกลอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแลกกับเอกราชและอธิปไตยของประเทศ และในสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยก็กลับมีเอกราชในการศาลมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีเขตอำนาจศาลในคดีอาญาตามหลักทั่วไปที่นานาประเทศยึดถือ คือหลักอำนาจศาลเหนือดินแดนหรืออาณาเขต อำนาจศาลเหนือบุคคล และอำนาจศาลในหลักลงโทษสากล ประเทศไทยมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับนานาประเทศด้วย โดยมีการสนธิสัญญาต่อกัน และใช้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อนึ่ง วิทยานิพนธ์นี้ยังได้กล่าวถึงปัญหาที่ไม่ค่อยจะกล่าวถึงข้อเขียนในภาษาไทยนัก เช่นเรื่องกฎหมายขัดกันทางอาญา การยอมรับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ และเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา เช่น การร่วมมือระหว่างรัฐในทางศาล ในอันที่จะขจัดการกระทำผิดอันเป็นความผิดระหว่างประเทศ เรื่องศาลสิทธิมนุษยชน และเรื่องความคิดในการก่อตั้งศาลระหว่างแผนกคดีอาญา และในบทสรุปได้กล่าวถึงปัญหาบางประการในทางอาญาของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมของไทย เช่นปัญหายาเสพติด ปัญหาเรื่องการพาและส่งหญิงออกไปนอกราชอาณาจักร และปัญหาเรื่องบิดามารดาขายบุตรสาว ซึ่งเกิดขึ้นเสมอในชนบท.
Other Abstract: Criminal Jurisdiction as used in this thesis means the extent over which state’s authority applies to criminal offenses a part of its sovereignty through which it exercises legislative as well as judicial authority to determine and punish crimes against the community and public order. The jurisdiction must derive from the municipal criminal law and is based upon the limit conferred by international law. Under international law, every state’s criminal jurisdiction is based on three basic principles 1) territorial principle 2) personal principle and 3) universal principle. The territorial jurisdiction is the extent of the state’s jurisdiction applicable to offenses, committed within the territory of the state. It is generally intend to embrace all intraterritorial offenses, practically without and qualification whatsoever. It makes no difference whether the offender is the national of the state, has his domicile there, is an alien, or is stateless. There are, however, certain exception: the exemption based on the constitutional law, upon the international law and upon the other domestic laws. Personal Jurisdiction is generally applied to extraterritorial offenses depending upon connecting factors upon either the status of offender or victim as the national of the state, or one having domicile in the state. This principle also confers criminal jurisdiction upon ships and aircrafts registered with the state claiming it. The universal principle of jurisdiction is the one which occasionally confers the state’s criminal jurisdiction by virtue of the special quality of the class of offenses known as delicta juris gentium-crimes under international law. The crimes threaten to undermine the very foundation of an enlightened international community as a whole, and it is this quality that gives each state the right to extend the incidence of its criminal jurisdiction to penalize them although they are committed outside the state’s boundaries and the offenders
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26761
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphanit_Mo_front.pdf734.49 kBAdobe PDFView/Open
Suphanit_Mo_ch1.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open
Suphanit_Mo_ch2.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Suphanit_Mo_ch3.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Suphanit_Mo_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.