Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26762
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิสุทธิ์ บุษยกุล | - |
dc.contributor.advisor | ประคอง นิมมานเหมินท์ | - |
dc.contributor.author | สุพรรณ ทองคล้อย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T11:38:14Z | - |
dc.date.available | 2012-11-28T11:38:14Z | - |
dc.date.issued | 2524 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26762 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาวิเคราะห์ถึงที่มาและวิวัฒนาการของการสร้างบทร้อยกรองพื้นถิ่นอีสาน นอกจากนั้นยังต้องการวิเคราะห์ถึงรูปลักษณ์ เนื้อหา และลักษณะการใช้บทร้อยกรองของชาวพื้นถิ่นอีสานอีกด้วย ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพสังคมทำให้เกิดบทร้อยกรองขึ้นมา ประกอบกับชาวพื้นถิ่นอีสานรวมไปถึงชาวไทยทั่วไปมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนชอบพูดถ้อยคำให้คล้องจองกัน แรก ๆ จะเป็นถ้อยคำที่มีสัมผัสอย่างสั้น ๆ ไม่กี่คำ และจึงขยายวรรคจนเกิดเป็นบทร้อยกรองขนาดยาวขึ้นมา และไม่ว่าชาวพื้นถิ่นอีสานจะเรียกชื่อบทร้อยกรองให้แตกต่างเช่นไรก็ตาม แต่โดยรูปลักษณ์ที่ปรากฏแล้ว บทร้อยกรองเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีลักษณะสัมผัสแบบร่ายยาวของทางภาคกลางนั่นเอง ทางด้านเนื้อหาของบทร้อยกรองที่ผู้วิจัยหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์ทั้งหมด 6 ชนิด คือ ปริศนาคำทาย ผญา คำสู่ขวัญ บทเซิ้งต่าง ๆ หมอลำ แลเพลงสำหรับเด็กนั้น แม้จะมีความหลากหลายกันอย่างไรก็ตาม แต่ก็พอสรุปได้ว่า บทร้อยกรองพื้นถิ่นอีสานจะสะท้อนสภาพของสังคมพื้นถิ่นออกมาอย่างค่อนข้างรอบด้าน ไม่ว่าจะทางรูปธรรมหรือนามธรรม ยิ่งไปกว่านั้น บทร้อยรกรองเป็นจำนานมากจะบรรจุเนื้อหาที่เกี่ยวกับคติสอนใจ หรือข้อชี้แนะให้ผู้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติตาม จึงพออนุมานได้ว่า บทร้อยกรองพื้นถิ่นอีสานมีเนื้อหาที่ไปเอื้อต่อการสร้างความสงบสุขของสังคมได้ในลักษณะหนึ่ง สำหรับส่วนที่กล่าวถึงลักษณะการใช้บทร้อยกรองของชาวพื้นถิ่นอีสานนั้น สรุปได้เป็น 2 ประเด็น คือ ใช้เพื่อควบคุมสังคม และใช้เพื่อความบันเทิง ในส่วนของการใช้เพื่อควบคุมสังคม แสดงให้เห็นว่าชาวพื้นถิ่นอีสานได้นำเอาความเชื่อดั้งเดิม ความประพฤติที่ควรปฏิบัติและหลักคำสอนทางพุทธสาสนามาผสานกันแต่งสร้างเป็นบทร้อยกรองขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับผู้คนร่วมสังคมได้อย่างน่าชมเชย ส่วนการใช้บทร้อยกรองเพื่อความบันเทิงนั้นก็มิได้มุ่งแต่ความบันเทิงสถานเดียว มักจะมีจุดมุ่งหมายอื่น เช่น เพื่อใช้ฝึกเชาวน์ปัญญา หรือเพื่อกล่อมเด็ก เป็นต้น | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study the background and development of poetry of the Northeast of Thailand. Emphasis is placed on the forms, contents and functions of various types of poetry of this area. It is found in the research that the Northeastern poets, who, in their literary composition, employed rhyme and rhythm to create this folk poetry, began their works by combining a set number of works into a definite pattern which gradually grew into final poetical forms. Their works were influenced by the social conditions of their time and place. Most of their poetry correspond to the rai yao (ร่ายยาว) type of poetry of the central part of Thailand. By contents, six types of poetical works are studied namely riddles (ปริศนาคำทาย) , similes (ผญา) , benediction( บทสู่ขวัญ ) , short poems for seasonal performance( กาพย์เซิ้ง ) minstrel’s ballads (หมอลำ) and nursery rhymes ( เพลงสำหรับเด็ก). They strongly reflect the social conditions of the region. Besides, these poetical works are often didactic in nature, containing proverbs and / or guidance for readers to follow the accepted ethical norm. These poetical works are therefore essential in the establishment and maintenance of peace. Functionally, the Northeastern folk poetry serves as a means for social control, based on tradition, social behavior and Buddhist teachings and it is in general effective. Besides, it provides practical and intellectual entertainment. It is invariable that a nursery rhyme or a lullaby is written in poetical form. | - |
dc.format.extent | 426829 bytes | - |
dc.format.extent | 361101 bytes | - |
dc.format.extent | 903088 bytes | - |
dc.format.extent | 4683022 bytes | - |
dc.format.extent | 1002770 bytes | - |
dc.format.extent | 318651 bytes | - |
dc.format.extent | 1309090 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ลักษณะร้อยกรองพื้นถิ่นอีสาน | en |
dc.title.alternative | Aspects of folk poetry of the Northeast | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supharn_Th_front.pdf | 416.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supharn_Th_ch1.pdf | 352.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supharn_Th_ch2.pdf | 881.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supharn_Th_ch3.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supharn_Th_ch4.pdf | 979.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supharn_Th_ch5.pdf | 311.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supharn_Th_back.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.