Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26836
Title: การผลิตโปรตีนจากเซลด้วยกระบวนการตะกอนเร่ง ที่มีอัตราสูงจากน้ำทิ้งโรงงานเบียร์
Other Titles: Production of cell protein from brewery waste by high rate activated sludge process
Authors: ศิววรรณ พูลพันธุ์
Advisors: ธีระ เกรอต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการผลิตเซลโปรตีนจากน้ำทิ้งโรงงานเบียร์ด้วยกระบวนการแอคทิเวเตดสลัดจ์อัตราสูง ทำโดยใช้แบบทดลองในห้องปฏิบัติการ พารามิเตอร์ควบคุมที่ศึกษาได้แก่ อายุตะกอนและเวลากักน้ำ ค่าอายุตะกอนที่ใช้แปรจาก 0.25 ถึง 4 วันและเวลากักน้ำแปรจาก 0.5 ถึง 2 ชั่วโมง เมื่อแปรอายุตะกอนที่ใช้เวลากักน้ำคงที่ 2 ชั่วโมง พบว่าเซลที่มีอายุตะกอน 2 วัน สามารถแยกออกได้ดีที่สุดโดยการตกตะกอนด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกความเร็วในการตกตะกอนแบบชั้น (ZSV) มีค่าเท่ากับ 2.22 ซม./นาที เมื่อ MLSS มีความเข้มข้น 3 กก./ม.3 และสัดส่วนอัตราการรับมวลแข็งจำกัดมีค่าเท่ากับ 2.6 กก./ม.2-ชม. เมื่ออัตราเวียนตะกอนเท่ากับ 0.19 ม.3/ม.2-ชม. ประสิทธิภาพการกำจัด COD เท่ากับ 68.8% พารามิเตอร์จลนพลศาสตร์ของระบบมีค่าดังนี้ อัตราการสลายตัวจำเพาะ (b’) 0.055 ชม.-1 ยีลด์ที่แท้จริง (Y’g) 0.879 ก.เซล/ก.TbOD อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงสุด (µm) 0.322 ชม.-1 และค่าคงที่ที่ความเร็วครึ่งหนึ่ง (Ks) 414 มก./ล. เมื่อแปรเวลากักน้ำและใช้อายุตะกอนคงที่ 2 วัน พบว่าเมื่อใช้เวลากักน้ำ 1 ชั่วโมง เซลที่เกิดขึ้นสามารถแยกออกได้ดีที่สุดโดยการตกตะกอนด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ความเร็วในการตกตะกอนแบบชั้นมีค่า 3.12 ซม.2/นาที เมื่อ MLSS มีความเข้มข้น 3 กก./ม.3 และสัดส่วนอัตราการรับมวลแข็งจำกัดมีค่าเท่ากับ 2.8 กก./ม.2-ชม. เมื่ออัตราเวียนตะกอนเท่ากับ 0.19 ม.3/ม.2-ชม. ประสิทธิภาพการกำจัด COD เพิ่มขึ้นตามเวลากักน้ำ ปริมาณโปรตีนในตะกอนเลนที่มีอายุตะกอน 2 วันและเวลากักน้ำ 1 ชั่วโมงมีค่าเท่ากับ 275.7 มก./ก.นน.แห้งของตะกอนเลน
Other Abstract: The production of cell protein from brewery waste by high rate activated sludge process was studied by using laboratory model. The studied control parameters were sludge age (θc) and hydraulic retention time (HRT). The sludge age varied from 0.25 to 4 days and HRT varied from 0.5 to 2 hours. By varying sludge age and using constant HRT of 2 hrs. It was found that cells of 2 days of sludge age could separate best by gravity settling. The zone settling velocity (ZSV) and limiting flux were 2.22 cm./min. when MLSS was 3 kg./m.3 and 2.6 kg./m2-hr. when the sludge recycle rate was 0.19 m.3/m.2-hr., respectively. The COD removal efficiency was 68.8%. The kinetic parameters of the system, the specific decay rate(b’) was 0.055 hr.-1, the true growth yield (y’g) was 0.879 g.cell/g. TbOD, the maximum specific growth rate (µm) was 0.322 hr.-1 and the half velocity constant (Ks) was 414 mg/l. By varing HRT and using constant sludge age of 2 days. It was found that cells of 1 hour HRT could separate best by gravity settling. The ZSV and limiting flux were 3.12 cm./min. when MLSS was 3 kg./m.3 and 2.8 kg./m.2-hr. when the sludge recycle rate was 0.19 m.3/m.2-hr., respectively. The COD removal efficiency increased with the increased of HRT. The protein contents of the sludge at sludge ages of 2 days and 1 hour HRT was 275.7 mg/g.dry weight sludge.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26836
ISBN: 9745693847
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sivawan_ph_ch1.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Sivawan_ph_ch2.pdf17.63 MBAdobe PDFView/Open
Sivawan_ph_ch3.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open
Sivawan_ph_ch4.pdf28.08 MBAdobe PDFView/Open
Sivawan_ph_ch5.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Sivawan_ph_back.pdf41.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.