Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26951
Title: การนำเสนอรูปแบบการจัดตั้งหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่ สำหรับระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Other Titles: A proposed model for establishing the mobile learning resource init for Sukhothai Thammatirat Open University distance education system
Authors: ศุทธินี โอบายะวาทย์
Advisors: กิตานันท์ มลิทอง
สมพิศ คูศรีพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปรูปแบบการจัดตั้งหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่ ประจำศูนย์วิทยบริการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการสำรวจความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ประชากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่จำนวน 17คน และการสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิดจากกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นผู้บริหาร และบุคลากร มสธ. จำนวน 28 คน และนักศึกษา มสธ. จำนวน 904 คน แล้วนำข้อมูลมาคำนวณค่าสถิติ ด้วยค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทอสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการจัดตั้งหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่ของ มสธ. ต่อไป ผลการวิจัยสรุปได้ว่าหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับระบบการสอนทางไกล มสธ. และควรดำเนินการจัดตั้งขึ้นทันที โดยจัดทำเป็นโครงการทดลองแบบประหยัดก่อนสำหรับรูปแบบของหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่ที่จะตั้งขึ้นในระยะทดลอง ณ ศูนย์วิทยบริการ จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นจะใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 2 ปี โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะคือ ระยะวางแผน เตรียมการใช้เวลา 1 ปี และระยะทดลองปฏิบัติงาน 1 ปี กลุ่มเป้าหมายหลักในระยะทดลองโครงการคือนักศึกษา มสธ. ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ประมาณ 4,000 คน โดยใช้รถยนต์ตู้ขนาด 2,300 ซีซี ที่ได้ดัดแปลง ต่อเติมให้เป็นห้องสมุดหนังสือ ห้องสมุดภาพและห้องสมุดเสียง เพื่อบรรทุกวัสดุอุปกรณ์โสตทัศน์ไปให้บริการห้องสมุด สื่อการศึกษา การสอนเสริมด้วยภาพทัศน์ และแนะแนวการศึกษาแก่นักศึกษา ในวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ตามตารางเวลาที่ได้ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าทาง “ข่าวมสธ.” และสื่อมวลชนทุกสาขา สถานที่จอดของหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่ คือ โรงเรียนประจำจังหวัด โรงเรียนประจำอำเภอ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด หรืออำเภอ เพื่อให้ผู้ใช้บริการยืมสื่อการศึกษาจากเจ้าหน้าที่ประจำรถ และนำไปใช้ในห้องที่จัดเตรียมไว้ โดยจะมีการฉายภาพทัศน์เพื่อการสอนเสริมเป็นรอบๆ ละ 30 นาที่ และมีอาจารย์สัญจรจาก มสธ. ไปให้คำปรึกษาทางวิชาการในบางอำเภอและบางชุดวิชาที่ได้แจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า ในด้านบุคลากรจะใช้บุคลากรประจำของศูนย์วิทยบริการสับเปลี่ยนหมุดเวียนกันปฏิบัติงานตามปฏิทินงานการทดลองซึ่งแบ่งเป็น 2 ครั้ง โดยจัดบุคลากรเป็น 2 ทีมๆ ละ 3 คน หมุนเวียนกันปฏิบัติงานทีมละ 1 เดือน โดยหน่วยบริการการศึกษาเคลื่อนที่จะกลับมาบริการที่อำเภอเดิมในเวลา 2 เดือน ภายหลังการทดลองโครงการแต่ละครั้งจะมีการประเมินผล และนำผลสรุป เสนอผู้บริหาร มสธ. เพื่อการตัดสินใจในการดำเนินการจริงต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26951
ISBN: 9745684201
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutdhinee_ob_front.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open
Sutdhinee_ob_ch1.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Sutdhinee_ob_ch2.pdf23.86 MBAdobe PDFView/Open
Sutdhinee_ob_ch3.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
Sutdhinee_ob_ch4.pdf27.58 MBAdobe PDFView/Open
Sutdhinee_ob_ch5.pdf10.23 MBAdobe PDFView/Open
Sutdhinee_ob_back.pdf33.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.