Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26953
Title: การกำหนดค่าความสูงโดยอัตโนมัติให้กับเส้นชั้นความสูงแบบจุดภาพ
Other Titles: Automated height assignment to the raster contour lines
Authors: ศุปกิจ จีระมงคลพาณิชย์
Advisors: สุกิจ วิเศษสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการให้ค่าความสูงแก่เส้นชั้นความสูงโดยอัตโนมัติ บนเงื่อนไขที่ต้องมีจุดที่รู้ค่าระดับบนแผนที่เส้นชั้นความสูงเพียงพอที่จะทำงาน โดยจุที่รู้ค่าระดับเหล่านั้นจะถูกนำเข้าโดยการโต้ตอบผ่านจอคอมพิวเตอร์หรือเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีรูปแบบตามที่กำหนดไว้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นแผนที่เส้นชั้นความสูงเชิงตัวเลขเพื่อที่จะนำไปสร้าง DTM (Digital Terrain Model) และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ผลการพัฒนางานวิจัยนี้ ประกอบด้วยโปรแกรมซึ่งพัฒนาขึ้นโดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ขั้นตอนหลัก และ 1 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นตอนแรกจะทำการบีบอัดข้อมูล และจำแนกใส่รหัสประจำเส้นชั้นความสูงแต่ละเส้น ขั้นตอนที่สองจะทำการกำหนดค่าความสูงให้แต่ละเส้นชั้นความสูง โดยใช้ข้อมูลจุดที่รู้ค่าความสูง ขั้นตอนที่สาม ตรวจสอบและเพิ่มเติมข้อมูลจุดที่รู้ค่าระดับ เพื่อใช้กำหนดค่าความสูงแก่เส้นชั้นความสูงในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ และ ขั้นตอนย่อย คือ การใส่ค่าจุดที่รู้ค่าความสูง ประสิทธิภาพของโปรแกรมขึ้นอยู่กับ ความสะอาดชัดเจนของแผนที่และจำนวนจุดระดับที่กระจายและเพียงพอ
Other Abstract: The aim of this thesis is to study and develop a set of computer programs for automated height assignment to the raster contour lines on condition of having enough spot heights on raster contour map. These spot heights can be inputed by interactive or formatted ASCII file. The result is the digital contour line which ready for DTM (Digital Terrain Model) generation. The result of this development is the programming package. This package has 3 main function and 1 subfunction. The first function is to compress raster data and assign a code to raster contour lines. The second function is to assign a height to each raster contour lines by using spot heights. The third function is to check the completeness of the height assignment and input more spot heights for the incorrect part. The subfunction is for inputing the spot heights. The efficiency of the package is depended on cleanness of a map and number of spot heights.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26953
ISBN: 9746348701
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supakit_je_front.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch1.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch2.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch3.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch4.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch5.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch6.pdf7.88 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_ch7.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Supakit_je_back.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.