Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26961
Title: การชักนำให้เกิดมิวเทชันในเชื้อราที่สามารถลดสีของน้ำกากส่า
Other Titles: Induced mutation in fugi decolorizing mollasses wastewater
Authors: ณัฏยา สมจิตร
Advisors: วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
จิตรา เพียภูเขียว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2548
Abstract: รา CM5 สามารถลดสีของน้ำกากส่าได้สูงที่สุด จากราทั้งหมดที่คัดเลือกมาก 16 ไอโซเลตโดยสามารถลดสีได้สูงสุด 49.19% ภายในเวลา 30 วัน ในอาหารเหลวที่ประกอบด้วย 10% น้ำกากส่าและ 2% malt extract powder จากนั้นนำมาชักนำให้เกิดมิวเทชันด้วยรังสีอัตลาไวโอเลตได้ UV2 มิวแทนต์สามารถลดสีของน้ำกากส่าได้มากถึง 48.30% ในเวลา 8 วัน ในอาหารเหลวที่ประกอบด้วย 10% น้ำกากส่า 0.1% Glucose 0.1% K₂HPO₄ 0.05% MgSO₄•7H₂O 0.05% KCI 0.001% FeSO₄•7H₂O 0.0001% ZnSO₄•7H₂O 0.0001% MnSO₄•5H₂O 0.0001% CuSO₄•5H₂O ในขณะที่ไวด์ไทป์สามารถลดสีได้ 31.42% และ สามารถต้านทานต่อมาลาไซต์กรีนสูงขึ้น มีค่า MIC ต่อมาลาไซต์กรีน คือ 0.06 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรในขณะคีโตโคนาโซลมากขึ้น โดยมีค่า MIC คือ 0.06 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ค่า MIC ต่อคีโตโคนาโซลของไวด์ไทป์ คือ 0.18 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้น UV2 มิวแทนต์ ถูกนำให้เกิดมิวเทชันด้วยสาร MNNG ได้รามิวแทนต์ซึ่งอยู่ในช่วงอัตราการอยู่รอดต่ำกว่า 10% เมื่อนำมาวิเคราะห์ความสามารถในการลดสีของน้ำกากส่า พบว่า UV-NG10 มิวแทนต์สามารถลดสีได้สูงสุดพึง 84.15% ภายในระยะเวลา 8 วัน ในอาหารเหลวที่ประกอบด้วย10% น้ำกากส่า 0.1% Glucose 0.1% K₂HPO₄ 0.05% MgSO₄•7H₂O 0.05% KCI 0.001% FeSO₄•7H₂O 0.0001% ZnSO₄•7H2O 0.0001% MnSO4•5H₂O 0.0001% CuSO₄•5H₂O โดยเชื้อไวด์ไทป์สามารถลดสีได้ 45.39% และมีค่า MIC ต่อมาลาไชต์กรีน คือ 0.12 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ไวด์ไทป์ คือ 0.18 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ไม่สามารถตรวจพบความแปรผันทางพันธุกรรมที่ตำแหน่ง ITS ด้วยการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ จำเพาะ Alul HinƒI และ MboI
Other Abstract: The fungus, CM5, showed the highest decolorized of molasses wastewater from 16 isolated fungi. CM5 decolorized molasses wastewater 49.19% in 30 days, media containing 10% molasses wastewater and 2% malt extract powder. CM5 was induced mutation by ultraviolet irradiation. The mutant strain, UV—2 showed the highest decolorized of molasses wastewater that decolorized 48.30% in 8 days, media composed of 10% molasses wastewater 0.1% glucose 0.1% Glucose 0.1% K₂HPO₄ 0.05% MgSO4•7H₂O 0.05% KCI 0.001% FeSO₄•7H₂O 0.0001% ZnSO₄•7H₂O 0.0001% MnSO₄•5H₂O 0.0001% CuSO₄•5H₂O, that wild type strain decolorized 31.42%. UV—2 enhanced resistant for malachite—green compared with wild type but it highly sensitive in ketoconazole. UV-2 mutant was induced mutation by MNNG then generated many UV-NG mutants. UV2—NG10 mutant was the greatest decolorizing molasses wastewater mutant that showed 84.15% decolorized in 8 days compared with wild type. No difference in ITS region restriction enzyme DNA pattern was detected from Alul HinƒI and Mbol.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26961
ISBN: 9741433638
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattaya_so_front.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_ch1.pdf866.26 kBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_ch2.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_ch3.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_ch4.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_ch5.pdf923.28 kBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_ch6.pdf639.83 kBAdobe PDFView/Open
Nattaya_so_back.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.