Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26968
Title: การวิเคราะห์ข้อสอบแบบแบตเตอรีคัดเลือกของโรงเรียนเทคนิค ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา
Other Titles: An item analysis of entrance examination test battery for technical shools in the loan project for improvement of vocational education
Authors: ฉวีวรรณ โพธิ์ศรี
Advisors: ประคอง กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิทยาลัยเทคนิค -- การสอบคัดเลือก
แอดรีเนอร์จิค รีเซพเตอร์
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์แบบสอบคัดเลือกของโรงเรียนเทคนิคในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2517 คำนวณหาอำนาจจำแนกระดับความยาก สัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยง สัมประสิทธิ์แห่งความตรงเชิงพยากรณ์ และปกติวิสัยของแบบสอบ ใช้คะแนนจากกระดาษคำตอบจำนวน 370 ฉบับ โดยสุ่มจากกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทั้งหมด 2074 คน จากโรงเรียนเทคนิคในโครงการเงินกู้ 4 แห่งผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบสอบแต่ละวิชามีข้อสอบความยากและอำนาจจำแนกดีตามเกณฑ์เรียงลำดับดังนี้ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ความถนัดทางช่าง ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 76, 58 , 43, 40,และ 35 ตามลำดับ 2. แบบสอบคัดเลือกมีสัมประสิทธ์แห่งความเที่ยงสูงระหว่าง .9011 ถึง .9569 และแบบสอบถามแต่ละวิชาสามารถจำแนกบุคคลในกลุ่มที่ได้รับการทดสอบได้ 3. สัมประสิทธิ์แห่งความตรงเชิงพยากรณ์ เมื่อใช้แบบสอบ 5 วิชาร่วมพยากรณ์ ตัวเกณฑ์มีค่าสูงสุดเป็น .6693 ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และสหสัมพันธ์พหุคูณ เมื่อใช้แบบทดสอบ 5 วิชาร่วมพยากรณ์ มีความแกต่างอย่างมีนัยสำคัญ กับสหสัมพันธ์พหุคูณเมื่อใช้แบบทดสอบน้อยกว่า 5 วิชา ร่วมพยากรณ์ที่ระดับ .05 4. สมการทดถอยพหุคูณที่ใช้พยากรณ์สัมฤทธิ์ผลทางเรียน (y) เป็นดังนี้ Z y = .1217z1 +.3072z2 +.1055z3 +.1579z4 +.2216z5 5. ตำแหน่งเปอร์เซนไตล์ต่ำสุดของนักเรียนที่สอบคัดเลือกได้ในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความถนัดทางช่าง เป็น 15, 7, 18, 20, และ 9 ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to find out the power of discrimination, the level of difficulty, the reliability coefficient, the predictive validity coefficient and the norms of the Entrance Examination Test Battery for Technical Schools in the Loan Project for Improvement of Vocational Education. A random sample of 370 students was drawn from 2,074 students of four technical schools in the Loan Project for Improvement of Vocational Education. The finding were as follows. 1. The qualified test items of mathematic, English, mechanical aptitide, Thai and sciences were 76, 58, 43, 40 and 35 percent respectively. 2. The reliability coefficient of each subtest were from .9011 to .9569, and each subtest measures sufficiently accurately to differentiate among individuals. 3. The predictive validity coefficient of the test was .6093 4. The Multiple regression equation for predicting grade point average (y) was z y = .1217z1 + .3072z2 + .1055z3 + .1579z4 + .2216z5 5. The Lowest percentile rank of students who had past the entrance examination in mathematic, sciences, Thai, English, mechanical aptitude were 15, 7, 18, 20 and 9 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26968
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaweewan_Bh_front.pdf465.23 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Bh_Ch1.pdf375.86 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Bh_Ch2.pdf612.03 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Bh_Ch3.pdf400.09 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Bh_Ch4.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Bh_Ch5.pdf404.29 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Bh_back.pdf712.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.