Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27000
Title: สายพันธุ์คัดของยีสต์ที่สร้างเอทิลแอลกอฮอล ในสภาพที่เหมาะสมจากน้ำอ้อย
Other Titles: Ethyl alcohol production from cane juice by selected yeast strains in optimal condition
Authors: สมศรี ศิริพิทยางกูร
Advisors: สุมาลี พิชญางกูร
สันติ ถุงสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแยกเชื้อยีสต์จากผลตาล 10 แหล่ง ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงพบว่าผลตาลแต่ละตัวอย่างมียีสต์สายพันธุ์เด่นอยู่ 2 ชนิด แตกต่างกันที่ลักษณะโคโลนีและขนาด คือ กลุ่มหนึ่งโคโลนีสีขาวครีม ฟ่ามๆ เซลล์รูปกลมหรือรูปไข่ ขนาด (3.6 – 4.6) x (4.6 – 7.9) µ และอีกกลุ่มหนึ่งโคโลนีสีขาวครีม ผิดค่อนข้างมัน เซลล์กลมขนาดเล็ก ขนาด (2.4 – 3.6 ) x (4.0 – 4.6 ) µ นำยีสต์ทั้งสองลักษณะที่รวบรวมจากผลตาล 10 แหล่ง กับยีสต์อีก 4 สายพันธุ์ คือ S₉₀ S₁₀ C₁ C₂ S₉₀ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ยีสต์มาตรฐานจากที่อื่นรวมเป็น 24 สายพันธุ์ มาคัดความสามารถเชิงเปรียบเทียบในการผลิตแอลกอฮอล โดยมีวิธีคัด 3 ขั้นตอน คือ 1. นำยีสต์ทั้งหมดรวม 24 สายพันธุ์ มาหมักแอลกอฮอลโดยใช้น้ำตาลซูโครส 25 กรัม% เพิ่มอาหารเสริม 3 ชนิด คือ แอมโมเนียมซัลเฟต 0.5 กรัม/ ลิตร โปตัสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.3 กรัม/ลิตร ยีสต์เอกซ์แทรก 0.4 กรัม/ลิตร ปรับ pH= 4.5 หมักที่อุณหภูมิ 28 ̊ซ. จำนวนรอบการหมุนบนเครื่องเขย่า 80 rpm 2. สายพันธุ์ยีสต์ที่สามารผลิตแอลกอฮอลได้สูงจากการคัดในขั้นตอนที่ 1 จำนวน 10 สายพันธุ์ มาเพาะในน้ำอ้อยซึ่งเพิ่มอาหารเสริมเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ซึ่งคัดความสามารถในการหมักแอลกอฮอลได้สูง จำนวน 5 สายพันธุ์ นำไปคัดความสามารถในการหมักแอลกอฮอลในขั้นต่อไป 3. ยีสต์ที่คัดเลือกได้จำนวน 5 สายพันธุ์ มาคัดความสามารถในการสร้างแอลกอฮอลได้สูงในที่อุณหภูมิ 40 ̊ซ.ในสูตรอาหารเดียวกับข้อ 2 และใช้ยีสต์เป็นสายพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบ โดยวิธีการคัดเลือกข้างต้น ได้ยีสต์ที่มีความสามารถหมักแอลกอฮอลได้สูงสุดคือ สายพันธุ์ A₄ ซึ่งหมักแอลกอฮอลได้สูง 4.8% ในขณะที่ S₉₀ สายพันธุ์เปรียบเทียบหมักได้ 1.92% ผลการศึกษาแสดงให้ผลว่ายีสต์ A₄ และ S₉₀ สามารถหมักแอลกอฮอลได้ 9.14% และ 10.08%ตามลำดับ เมื่ออยู่ในสภาพอาหารที่สมบูรณ์แล้ว คือ น้ำอ้อยที่เพิ่มอาหารเสริมแอมโมเนียมซัลเฟต 0.5 กรัม/ลิตร โปตัสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.3 กรัม/ลิตร และยีสต์เอกซ์แทรก 0.2 กรัม/ลิตร หมักที่อุณหภูมิ 28 ̊ซ. ในสภาพอาหารที่มีความเป็นกรด pH 4.0 จำนวนรอบการหมุนในช่วงการแบ่งเซลล์ 150 rpm เป็นเวลา 9 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนความเร็วในช่วงระยะเวลาหมักเป็น 100 rpm เป็นเวลา 60 ชั่วโมง ปริมาณเชื้อที่ใช้ 10% ซึ่งมีความเข้มข้นของจำนวน เซลล์ของยีสต์ A₄ 2.0 x10⁸ เซลล์/มล. และ S₉₀ จำนวน 1.8 x 10⁸ เซลล์/มล.
Other Abstract: Isolation of yeast from palmyra palm (Borassus flabellifer) ten place in Bangkok and the adjacent regional provinces, found that, the yeast from each ten different locations showed two distinctive size of morphological differences, which were dull-white colony cells spherical to ovate (3.6 – 4.6 ) x (4.6 – 7.9 ) µ and milky-white colony cells spherical globose (2.4 – 3.6 ) x (4.0 – 4.6 ) µ. Both types of yeast from those ten locations included the other four control yeast strains S₉₀, S₁₀, C₁ and C₂, all together 24 isolated yeast samples have been tested the ability of fermentation of ethyl alcohol. The selection of strains was based on three steps as follows : 1. Twenty four yeast isolates were cultivated in liquid medium on the purpose of high percentage alcohol production. The medium composed of sucrose 25 gram (gm) percent plus 3 supplement nutrient additive; ammonium sulphate 0.5 gm per liter potassium dihydrogenphoshpate 0.3 gm per liter and yeast extract 0.4 gm per liter pH value has been adjusted to 4.5 ferment at 28℃ with the rotation rate 80 round per minute (rpm) on the rotary shaker. 2. Ten selected active strains from the above selection were inoculated in the nutrient composed of sugar cane juice and the supplement additives as in step one, only five strains were collected for the third step of screening. 3. The selected five strains of yeast were further screened in order to select high ethanol producer at temperature of 40℃ in the same medium and using the standard strain S₉₀ as a control. The best one was obtained from the selection and gave the name, A₄, strain. The highest yield of alcohol produce by A₄ was 4.8% when the standard S₉₀ strain gave only 1.92% in the screening step. The result revealed that the selected yeast strain A₄ and S₉₀ gave alcohol 9.14% and 10.08% respectively. The optimized medium was composed of sugar cane juice with supplement ammonium sulphate 0.5 gm per liter, potassium dihydrogenphosphate 0.3 gm per liter, and yeast extract 0.2 gm per liter, fermented at 28℃ and pH 4.0. The rotation rate during the propagation period was 150 rpm for 9 hours and then changed the rotation rate to 100 rpm during the fermentation period for 60 hours. The inoculum size was 10 percent which had cell concentration 2.0 x 10⁸ cells per ml of yeast strain A₄ and 1.8 x 10⁸ cells/ml of yeast strain S₉₀.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27000
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_Si_front.pdf604.98 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Si_ch1.pdf252.48 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Si_ch2.pdf797.77 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Si_ch3.pdf617.76 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Si_ch4.pdf960.76 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Si_ch5.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_Si_back.pdf756.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.