Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27011
Title: | ความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ เกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชา "สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต" ตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ฉบับพุทธศักราช 2522 |
Other Titles: | Opinions of social studies teachers and adult students concerning "Life experience" instruction in the B.E. 2522 functional education curriculum |
Authors: | สมวาสนา ตั้งตริยพงศ์ |
Advisors: | ก่องแก้ว เจริญอักษร สุวัฒนา อุทัยรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 เกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3-4 ฉบับพุทธศักราช 2522 ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ จุดมุ่งหมายและเนื้อหาหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กระบวนการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 เกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับที่ 3 – 4 ฉบับพุทธศักราช 2522 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างประชากรโรงเรียนผู้ใหญ่ 20 แห่ง ซึ่งเปิดสอนการศึกษาผู้ใหญ่ในระดับที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร ส่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองไปยังครูสังคมศึกษา จำนวน 60 คน และนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 จำนวน 200 คน ในโรงเรียนผู้ใหญ่ ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( Simple Random Sampling) แบบสอบถามที่ได้รับคืนมีจำนวนทั้งสิ้น 231 ฉบับ ซึ่งเป็นแบบสอบถามของครูสังคมศึกษา จำนวน 51 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.00 เป็นแบบสอบถามของนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 จำนวน 180 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ( X ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) การทดสอบค่าที ( t-test )และนำเสนอในรูปตารางและอธิบายประกอบ ผลการวิจัย ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 ส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากในด้านจุดมุ่งหมายหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 2. เนื้อหาของหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 ส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับปานกลางในด้านเนื้อหาหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 3. กระบวนการเรียนการสอน ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 ส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับปานกลางในด้านการะบวนการเรียนการสอน หมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 4. วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 ส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับปานกลางในด้านวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 5. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 ส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับปานกลางในด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูสังคมศึกษากับนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 เกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ปรากฏว่าครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตด้านจุดมุ่งหมาย หมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ครูสังคมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านเนื้อหากระบวนการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | Purposes of Research: The Purpose of this research were 1. To study opinions of social studies teachers and adult students at level 4, according to life Experience instruction in the B.E. 2522 Functional Education Curriculum level 3-4, concerning the objectives, contents, process of instruction, instructional materials and evaluation procedures. 2. To compare the opinions of social studies teachers with adult students at level 4, according to the B.E. 2522 Functional Education Curriculum level 3-4, concerning life Experience instruction Procedures: The researcher selected twenty adult schools in Bangkok, which provided programs for adult students at level 4 as samples. Two hundred adult students and sixty social studies teachers chosen by simple random sampling from these schools were asked to answer the questionnaires constructed by the researcher. Two hundred and thirty one questionnaires were sent back. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and presented in tables with explanation. Conclusion : The social studies teachers and adult students at level 4 expressed their opinions concerning five aspects of ‘ Life Experience ‘ instruction as follow: 1. Objective: Most of the social studies teachers and adult students at level 4 agreed at the high level in the objectives of ‘Life Experience’ instruction. 2. Contents: Most of the social studies teachers and adult students at level 4 agreed at the medium level in the contents of life Experience instruction. 3. Process of instruction: Most of the social studies teachers and adult students at level 4 agreed at the medium level in the process of instruction of Life Experience instruction. 4. Instructional materials: Most of the social studies teachers and adult students at level 4 agreed at the medium level in the instructional materials of Life Experience instruction. 5. Evaluation: Most of the social studies and adult students at level 4 agreed at the medium level in the evaluation of Life Experience instruction. To compare the opinions of social studies teachers with adult students at level 4, concerning the objectives of Life Experience instruction, it appeared that there was no significant difference on .05 but there were significant differences at .05 level among the opinions of social studies teachers and adult students at level 4 concerning about Life Experience instruction, the contents, the process of instruction, the instructional materials and the evaluation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27011 |
ISBN: | 9745625744 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somvasna_Tr_front.pdf | 477 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somvasna_Tr_ch1.pdf | 587.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somvasna_Tr_ch2.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somvasna_Tr_ch3.pdf | 331.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somvasna_Tr_ch4.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somvasna_Tr_ch5.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somvasna_Tr_back.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.