Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2702
Title: การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการบอกเวลาในภาษาไทยกรุงเทพฯและภาษาจ้วงส้างซี
Other Titles: A comparative study of temporal expressions in Bangkok Thai and Shangsi Zhuang
Authors: หยู, ฮุยถาย, 2516-
Advisors: ปราณี กุลละวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Pranee.K@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- ไวยากรณ์
ภาษาจ้วง -- ไวยากรณ์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบวิธีการบอกเวลาในภาษาไทยกรุงเทพฯและภาษาจ้วงส้างซี โดยมุ่งศึกษาวิธีการบอกจุดของเวลาและระยะของเวลา รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบโลกทัศน์ของผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจ้วงที่สะท้อนจากวิธีการบอกเวลาด้วย การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากพจนานุกรมและจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาจ้วง ผลการศึกษาพบว่า ภาษาไทยและภาษาจ้วงมีการบอกเวลาภายใน 1 วันเป็น 3 แบบ คือ การบอกเวลาที่ไม่เป็นทางการ การบอกเวลาที่เป็นกึ่งทางการ และการบอกเวลาที่เป็นทางการ ทั้งสองภาษาใช้วิธีการบอกเวลาที่คล้ายคลึงกันในการบอกเวลาที่ไม่เป็นทางการและการบอกเวลาที่เป็นทางการ แต่ใช้วิธีการบอกเวลาที่แตกต่างกันในการบอกเวลาที่เป็นกึ่งทางการซึ่งทำให้ทั้งสองภาษามีการแบ่งเวลาภายใน 1 วันแตกต่างกัน นอกจากนั้นพบว่า ภาษาไทยและภาษาจ้วงมีการบอกจุดของเวลาวัน เดือน ปีเป็น 2 แบบ คือ การบอกเวลาที่ไม่เป็นทางการและการบอกเวลาที่เป็นทางการ โดยทั้งสองภาษาใช้วิธีการบอกเวลาที่คล้ายคลึงกันในการบอกเวลาที่ไม่เป็นทางการและใช้วิธีการบอกเวลาที่แตกต่างกันในการบอกเวลาที่เป็นทางการ ผลการศึกษายังพบว่า ภาษาไทยและภาษาจ้วงมีการใช้หน่วยสร้างต่างๆ และสำนวนต่างๆ มาบอกระยะเวลาโดยประมาณ โดยภาษาไทยปรากฏใช้หน่วยสร้างทั้งหมด 13 หน่วยสร้างและสำนวนทั้งหมด 4 ประเภท แต่ภาษาจ้วงปรากฏใช้หน่วยสร้างทั้งหมด 10 หน่วยสร้างและสำนวนประเภทเดียวนอกจากนั้น ภาษาไทยและภาษาจ้วงได้แบ่งระยะของเวลาเป็น 4 ระดับเหมือนกัน วิธีการบอกเวลาที่เหมือนกันและแตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันของผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาจ้วง
Other Abstract: This study aims at comparing temporal expressions between Thai and Zhuang. It compares temporal expressions of 2 types: point of time and period of time. Worldviews of the speakers of both languages reflected through temporal expressions are also studied. Data are collected from several Thai dictionaries and from interviews of Thai and Zhuang informants. The result of the study has shown that both Thai and Zhuang divide temporal expressions within one-day into three groups, namely, non-formal temporal expressions, semi-formal temporal expressions, and formal temporal expressions. While non-formal temporal expressions and formal temporal expressions are similar, semi-formal temporal expression differ. It is here that Thai and Zhuang differ as to dividing a day into sections. Both Thai and Zhuang divide day-month-year temporal expressions into two groups, namely, non-formal temporal expressions and formal temporal expressions. Both languages show similarities in non-formal temporal expressions, but they differ in formal temporal expressions. In addition, the study reveals that both Thai and Zhuang use certain different constructions and idioms to express the period of time. There are thirteen types of constructions and four types of idioms found in Thai language, but ten types of constructions and one type of idioms found in Zhuang language. Considering period of time. It is found that both Thai and Zhuang group the temporal expressions into 4 types. Finally, Thai and Zhuang temporal expressions reflect the differences and similarities in worldview.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2702
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.937
ISBN: 9745311901
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.937
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Huicai.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.