Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27048
Title: | ต้นกำเนิดของชนชั้นนายทุนในประเทศไทย (พ.ศ.2398-2453) |
Authors: | สิริลักษณ์ ศักดิ์เกรียงไกร |
Advisors: | ฉัตรทิพย์ นาถสุภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์วิวัฒนาการของชนชั้นนายทุนในประเทศไทยจาก พ.ศ.2398 จนถึง พ.ศ.2453 ซึ่งเป็นระยะที่เศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองเข้าสู่เศรษฐกิจที่ผลิตเพื่อการค้าภายหลังจากที่ไทยเซ็นสัญญาเบาริ่งเป็นต้นมา นับเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งต่อการก่อรูปของชนชั้นนี้ สิ่งมุ่งหมายที่นำมาอธิบายในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ กระบวนการสะสมทุนในมือของชนชั้นนายทุน ซึ่งในระบบการผลิตแบบทุนนิยมนั้น ลักษณะที่สำคัญนอกเหนือจากการผลิตเพื่อการค้าแล้ว การก่อรูปของสถาบันทุนและแรงงานเสรีเป็นส่งสำคัญที่สุด ในการพิจารณาจะได้ศึกษาถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการเมืองแบบเก่าของไทย ทั้งนี้เพื่อสัมพันธ์ให้เห็นถึงต้นกำเนิดของชนชั้นนายทุน ภายใต้ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น นายทุนที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนาสู่การเป็นชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมได้หรือไม่อย่างไร นอกจากนี้การศึกาเปรียบเทียบกับต้นกำเนิดของชนชั้นนายทุนในสังคมแบบเก่าของประเทศอื่นๆ เช่น สังคมศักดินาแบบยุโรปและสังคมศักดินาแบบเอเชีย จะเป็นกรอบสำคัญที่สุดของการวิจัยเช่นกัน ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างสังคมแบบเก่าของไทยซึ่งมีลักษณะการรวมเอาทรัพยากรทั้งหมดของชาติมารวมอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ทำให้การก่อรูปมูลค่าส่วนเกินของชนชั้นนายทุนเกิดขึ้นจากการดำเนินเศรษฐกิจภายใต้การเป็นเจ้าภาษีนายอากรหรือผู้ดำเนินการค้าของชนชั้นปกครองเดิม นายทุนมีลักษณะเป็นนายทุนข้าราชการ นอกจากนี้การบุกรุกทางเศรษฐกิจของทุนนิยมโพ้นทะเลในปลายศตวรรษที่ 19 มีผลให้เกิดนายทุนนายหน้าขึ้น นายทุนส่วนนี้ดำเนินกิจการภายใต้ผลกำไรจากการปฏิบัติหน้าที่คอมปราโดร์ ดังนั้นต้นกำเนิดของชนชั้นนายทุนจึงไม่เป็นอิสระ แต่กลับมีลักษณะประนีประนอมกับชนชั้นปกครองเดิมซึ่งจะมีผลต่อมาคือชนชั้นนายทุนไม่สามารถเป็นผู้นำประเทศเข้าสู่สังคมแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมอันเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อต่อมา |
Other Abstract: | This thesis is an analysis of the evolution of the capitalist class from B.E.2398 to 2453. During this period Thailand was transformed from a self-sufficient economy to a commodity economy. The period was most crucial for the emergence of the capitalist class. The objective of this thesis is to explain the process of capital accumulation in Thailand. In the capitalist system, apart from commodity production and free labour, capital formation is the most important characteristic. This thesis will examine the traditional politico-economic structure of Thailand under which the process of capital accumulation took place. The thesis will find out whether under the existing politico-economic structure, The emerging capitalists were able to develop into industrial capitalists. A reference to the origins of the capitalist class in Europe and Asia will be utilized as a comparative framework. The research finding is that under the traditional social structure of Thailand, characterized by the centralization of resources under the state, capital accumulation was realized mainly through the tax farming system. The Chinese tax farmers, acting as agents of the ruling class, accumulated huge profit. They transformed this profit into capital. Therefore, the capitalists in Thailand were essentially bureaucratic capitallists. Morever, the penetration of overseas capital in the latter part of the 19th century resulted in the birth of compradore capitalists. The compradores operated as brokers for the foreign capitalists. Consequently the capitalists in Thailand were not independent capitalists. The capitalist class compromised with the traditional ruling class. The result is that the capitalist class was unable to lead the country to industrialization. |
Description: | กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, 2523 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27048 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirilak_Sa_front.pdf | 621.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirilak_Sa_ch1.pdf | 867.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirilak_Sa_ch2.pdf | 729.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirilak_Sa_ch3.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirilak_Sa_ch4.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirilak_Sa_back.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.