Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27053
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวัสดิ์ ประทุมราช
dc.contributor.authorสิริรัตน์ วิภาสศิลป์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-30T02:17:25Z
dc.date.available2012-11-30T02:17:25Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745614432
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27053
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาว่าการสอนเรื่องเศษส่วนด้วยวิธีการที่แตกต่าง กัน 3 แบบ คือ วิธีการทดสอบย่อยแต่ไม่มีการสอนซ่อมเสริม วิธีมีการทดสอบย่อยและมีการสอนซ่อมเสริม และวิธีไม่มีการทดสอบย่อย กับระดับความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงและต่ำจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพียงใด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบย่อยในเนื้อหาเรื่องเศษส่วนจำนวน 6 ฉบับ และแบบสอบรวมวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 72 คน นักเรียนชาย 39 คน นักเรียนหญิง 33 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มเท่าๆกัน วิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและความแปรปรวนสองทาง การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ใช้วิธีการของนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยมีการทดสอบย่อยและมีการสอนซ่อมเสริมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยมีการทดสอบย่อยแต่ไม่มีการสอนซ่อมเสริม และสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยไม่มีการทดสอบย่อยส่วนนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยมีการทดสอบย่อยแต่ไม่มีการสอนซ่อมเสริมกับนักเรียนได้รับการสอนโดยไม่มีการทดสอบย่อยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนไม่แตกต่างกัน 2. นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับสูง กลุ่มที่มีมีการทดสอบย่อย และมีการสอนซ่อมเสริม มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มที่มีการทดสอบย่อยแต่ไม่มีการสอนซ่อมเสริมแต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีการทดสอบย่อย ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับต่ำการสอนทั้ง 3 แบบ ไม่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนแตกต่างกัน 3. ไม่มีปฏิกิริยาร่วมระหว่างระดับความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิธีสอน
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to study the effects of teaching fraction by three teaching methods namely using formative test without remedial work, using formative test with remedial work and ordinary teaching without using formative test, with two mathematics ability levels upon the achievement on fraction lessons. The instruments were six formative tests and summative mathematics achievement test on fraction for Prathom Suksa Six Students which were prepared by the researcher. The subjects were 72 Prathom Suksa Six pupils,39 boys and 33 girls. The subjects were randomly devided into three groups. The data were analysed by one-way analysis of variance and two-way analysis of variance techniques. The differences between each pair were tested by Newman-Keuls Test.The results of the study are as follows: 1. The performance of pupils who were treated by formative test remedial work were better than the performance of both of those who took formative test without remedial work and the ordinary teaching group. The performance of pupils who were treated by using formative test without remedial work and the ordinary teaching group were not statistically significant differences. 2. Among the high ability level in mathematics groups those who were treated by formative test with remedial work were better than those who treated by formative test without remedial work, but were not better than the ordinary teaching group. Among the low ability level in mathematics groups there were no different in achievement. 3. The interaction effects of mathematics ability level and teaching methods were not statistically significant.
dc.format.extent469232 bytes
dc.format.extent575112 bytes
dc.format.extent1229402 bytes
dc.format.extent762865 bytes
dc.format.extent477129 bytes
dc.format.extent568795 bytes
dc.format.extent1152378 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของการใช้แบบสอบย่อยต่อผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en
dc.title.alternativeThe effect of using formative test on prathom suksa six student mathematics achievement on fractionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat_Wi_front.pdf458.23 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Wi_ch1.pdf561.63 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Wi_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Wi_ch3.pdf744.99 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Wi_ch4.pdf465.95 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Wi_ch5.pdf555.46 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Wi_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.