Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2709
Title: การศึกษาคำเรียกรสและทัศนคติเกี่ยวกับรสในภาษาจีนแต้จิ๋วตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
Other Titles: Ethnosemantic study of taste terms and taste attitudes in teochiu
Authors: พรลัดดา เมฆบัณฑูรย์, 2523
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Amara.Pr@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาจีนแต้จิ๋ว--อรรถศาสตร์
อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
ภาษาจีนแต้จิ๋ว--การใช้ภาษา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกคำเกี่ยวกับรสในภาษาจีนแต้จิ๋วออกเป็นคำเรียกรสพื้นฐาน คำเรียกรสไม่พื้นฐาน และคำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับรส อีกทั้งวิเคราะห์ระบบของคำเรียกรสไม่พื้นฐาน กลวิธีการสร้างคำเรียกรสไม่พื้นฐาน และความหมายของคำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับรสในภาษาจึนแต้จิ๋ว ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจีนแต้จิ๋วจำนวน 20 คน โดยใช้รายชื่ออาหารทั้งสิ้น 185 ชนิด ผลการวิเคราะห์พบว่า คำเรียกรสพื้นฐานในภาษาจีนแต้จิ๋วมีทั้งสิ้น 9 คำ ได้แก่ /tsia:4/ 'จืด' /s1/ 'เปรี้ยว' /kiam5/ 'เค็ม' /ti:1/ และ /tiam5/ 'หวาน' /khow4/ 'ขม' /kam1/ 'ชุ่มคอ' /siab2/ 'ฝาด' และ /hiam1/ 'เผ็ด' และคำเหล่านี้เป็นตัวแทนของประเภทรสพื้นฐานในภาษาจีนแต้จิ๋ว 8 ประเภท ซึ่งจากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า คำเหล่านี้แตกต่างกันใน 7 มิติ ได้แก่ ความคงทนของรส ความผะอืดผะอม การได้กลิ่นทางจมูก ความแสบ ความเหนียวคอ ความกระหายน้ำ และความเสียวฟัน จากการวิเคราะห์โครงสร้างของคำเรียกรสไม่พื้นฐานในภาษาจีนแต้จิ๋วพบว่า ผู้พูดภาษาจีนแต้จิ๋วมีกลวิธีในการสร้างคำเรียกรสไม่พื้นฐานทั้งหมด 3 กลวิธีใหญ่ ได้แก่ 1) กลวิธีการซ้ำคำเรียกรส (รส1+รส1) 2) กลวิธีการผสมคำเรียกรสพื้นฐานเข้าด้วยกัน (รส1+รส2) และ 3) กลวิธีการผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำขยาย (รส+คำขยาย) กลวิธีสุดท้ายนี้ยังแบ่งออกเป็นกลวิธีย่อยอีก 6 กลวิธี คือ 3.1) การผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำแสดงความรู้สึกทางประสาทสัมผัสอื่น (รส+ประสาทสัมผัส) 3.2) การผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำบอกลักษณะ (รส+ลักษณะ) 3.3) การผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำบอกความเจือจางของรส (รส+เจือจาง) 3.4) การผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำบอกอุณหภูมิ (รส+อุณหภูมิ) 3.5) การผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำว่า /tshuk5/ 'ออก' (รส+'ออก') และ 3.6) การผสมคำเรียกรสพื้นฐานกับคำว่า /s[epsilon]:1/ 'เกิด' (รส+'เกิด') การผสมคำเรียกรสไม่พื้นฐานในภาษาจีนแต้จิ๋วดังกล่าว ทำให้ความหมายของคำเรียกรสเปลี่ยนแปลงไป คือ การมีระดับความเข้มข้นที่อ่อนลงของรส การมีรสมากกว่า 1 รสผสมกัน การรับรู้รสที่เกิดร่วมกับการรับรู้กลิ่นในขณะเดียวกัน การแสดงถึงรสร่วมกับลักษณะของอาหาร และการแสดงถึงความร้อนที่เกิดขึ้นภายในปากขณะรับประทานอาหาร ผลการวิเคราะห์คำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับรสในภาษาจีนแต้จิ๋วพบว่า ผู้พูดภาษาจีนแต้จิ๋วใช้คำแสดงทัศนคติเกี่ยวกับรสที่มีความหมายทางบวกเพื่อแสดงความพึงพอใจที่มีต่อรส มีทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคำที่มีความหมายว่า "ถูกปาก" "อร่อย" "ดี" "เจริญอาหาร" "ยินดี" "มีรส" และ "ไม่เลว" คำแสดงทัศนคติทางลบที่แสดงความไม่พึงพอใจที่มีต่อรส มีทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคำที่มีความหมายว่า "ไม่ถูกปาก" "ไม่อร่อย" "ไม่ดี" "เลี่ยน" "กินยาก" "ไม่มีรส" และ "รสจัด" และคำทัศนคติที่มีความหมายเป็นกลาง ที่มิได้แสดงถึงความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจต่อรสของอาหาร มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความหมายว่า "กินง่าย" "ธรรมดา" "ไม่แตกต่าง" และ "พอสมควร"
Other Abstract: This study aims to categorize taste terms in Teochiu into basic taste terms, non-basic taste terms, and taste attitude terms, and to analyze the system of basic taste terms, linguistic strategies in forming non-basic taste terms, and the meanings of taste attitude terms. The data used in this study was gathered by asking twenty Teochiu informants to identify and describe the tastes of 185 kinds of food. The results show that in Teochiu there are nine basic taste terms representing eight basic taste categories: /kiam5/ (SALTY), /s1/ (SOUR), /ti:1/ or /tiam5/ (SWEET), /hiam1/ (HOT), /khow4/ (BITTER), /tsia:4/ (FLAT), /siab2/ (ASTRINGENT) and /kam1/ (MOIST). The meanings of all the basic taste terms are differentiated by seven dimensions of contrast: duration of taste sensation, nauseousness, pungency, soreness, stickiness, thirstiness, and tingle. With regard to non-basic taste terms, it is found that they are formed by three main strategies: reduplication of basic taste term (taste1+taste1), combining two basic taste terms (taste1+taste2), and combining a basic taste term with a modifier. The last strategies can be divided into six sub-categories; namely, taste+sensation, taste+characteristic, taste+dilution, taste+temperature, taste+ /tshuk5/ 'out', and taste+ /s[epsilon]:1/ 'to be born'. The analysis of taste attitude terms shows that they are divided into three groups according to the meanings: positive, negative and neutral attitudes. The positive category can be divided into seven groups: 'savory', 'delicious', 'good', 'appetizing', 'tasteful', and 'not bad'. The negative category can be divided into seven groups: 'not savory', 'not delicious', 'not good', 'fatty', 'difficult to eat', 'tasteless', and 'strong', and the neutral category can be divided into four groups: 'easy to eat', 'simple', 'not different', and 'moderate'.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2709
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.861
ISBN: 9741770146
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.861
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornladda.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.