Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27103
Title: ผลของขนาดคละมวลรวมต่อคุณสมบัติของผิวทางระบายน้ำ
Other Titles: Effect of aggregate gradation on properties of porous asphalt pavement
Authors: วิทวัส อัศตรกุล
Advisors: ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การระบายน้ำของถนน
ผิวทางแอสฟัลต์
การระบายน้ำ
Road drainage
Pavement, Asphalt
Drainage
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผิวทางระบายน้ำสามารถที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยได้ ในเชิงการระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพจากผิวจราจร ในกรณีฝนตกหนัก เป็นการลดอันตรายเนื่องมาจากการลื่นไถล การกระเด็นของละอองน้ำ และแสงสะท้อนจากผื้นผิว ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณสมบัติของผิวทางระบายน้ำ ผลของขนาดคละมวลรวมที่มีต่อคุณสมบัติของผิวทางระบายน้ำ รวมทั้งหาความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การทดสอบคุณสมบัติของแอส ฟัลต์คอนกรีตระบายน้ำ 2) การหาความหนาที่เหมาะสมของแอลฟัสต์คอนกรีตระบายน้ำในการปูทับบนพื้นรองแอสฟัลต์คอนกรีตที่มีความหนาแน่นสูง จากการศึกษาพบว่าขนาดคละมวลรวมที่มีปริมาณมวลรวมละเอียดอยู่มาก จะทำให้การรับแรงขัดสีเพิ่มขึ้น ค่าหน่วยน้ำหนักสูงขึ้น มีเสถียรภาพดีขึ้น การไหลดีขึ้น รวมถึงความต้านทานต่อการหลุดลอกที่เพิ่มขึ้น ในส่วนประสิทธิภาพการใช้งาน จะมีค่าความต้านทานการเปลี่ยนรูปแบบถาวร และความต้านทานการแตกร้าวเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการระบายน้ำจะมีค่าต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดคละที่มีมวลรวมละเอียดอยู่น้อย ขณะเดียวกัน ขนาดคละของมวลรวมที่ต่างกัน จะไม่มีผลต่อความต้านทานแรงเสียดทานของแอสฟัลต์คอนกรีตระบายน้ำ ในส่วนของความหนาของแอลฟัลต์คอนกรีตระบายน้ำ ที่เหมาะสมในการปูทับบนชั้นพื้นรองทางที่มีความหนาแน่นสูง จะต้องพิจารณาระหว่าง ความต้านทานการยุบตัวแบบถาวร และความสามารถในการระบายน้ำ ว่าคุณสมบัติในด้านใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากัน เนื่องมาจากความหนาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความสามารถในการระบายน้ำดีขึ้น แต่ความต้านทานต่อการยุบตัวแบบถาวรจะมีค่าที่ต่ำลง
Other Abstract: Porous asphalt pavement can be employed in Thailand in view of efficiency in draining water during heavy down pour, lessen the effect of aquaplaning and glaring. The purposes of this research were to study the effects of aggregate gradation on the properties of porous asphalt pavement and to determine its suitability to be employed in Thailand. The test were divided in to two parts 1) To test the properties of porous asphalt concrete and 2) To determine the suitable thickness of porous asphalt concrete for laying over underlined dense grade asphalt concrete. The testing results revealed that the gradation of the specimens with high percentage of fine aggregate were more resistance to abrasion, higher unit weight, more stable, higher flow and resistance to stripping. As for the performance, it exhibited great resistance to permanent deformation and cracking but, with less in permeability. Compared to open grade with less fine aggregate. However, the gradation have no effect on the skid resistance. As for the thickness of porous asphalt pavement for laying over the underlined dense grade asphalt pavement, considerations must be made between which is the most important, the resistance to permanent deformation or the permeability. Because when the thickness was increased the permeability increased where as the resistance to permanent deformation decreased.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27103
ISBN: 9745315249
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wittawat_as_front.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Wittawat_as_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Wittawat_as_ch2.pdf9.1 MBAdobe PDFView/Open
Wittawat_as_ch3.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open
Wittawat_as_ch4.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open
Wittawat_as_ch5.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Wittawat_as_back.pdf12.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.