Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27116
Title: การเดินทางของนักเรียนกับปัญหาการจราจรในเทศบาลนครอุดรธานี
Other Titles: Movement pattens of student and traffic problems in Udon Thani municipality
Authors: วรวิมล นิมิตร
Advisors: จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพการจราจรและสาเหตุของปัญหาจราจรติดขัดในเขตนครเทศบาลนครอุดรธานีที่เกิดจากการเดินทางของนักเรียน โดยศึกษาลักษณะการเดินทางของนักเรียน จำนวนและประเภทพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ช่วงเวลา ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย การกระจายตัวของนักเรียนจากจุดตั้งโรงเรียน ตลอดจนศึกษาจุดต้นทาง (Origin) และจุดปลายทาง (Destination) ในการเดินทางของนักเรียน เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงข่ายการจราจรในบริเวณพื้นที่ศึกษาและมาตรการที่คาดว่าจะมีผลต่อการบรรเทาปัญหาจราจรที่เกิดขึ้นจากการเดินทางของนักเรียน การศึกษาการเดินทางของนักเรียนได้ศึกษาจากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนและนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับในสังกัดรัฐบาลและเอกชนในพื้นที่โดยใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามและประมวลผลโดยใช้ SPSS การศึกษาโดยเปรียบเทียบการเดินทางของนักเรียนรัฐบาลและเอกชน ผลการศึกษาพบว่าพาหนะส่วนบุคคลที่ใช้เดินทางของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดของเอกชน มีสัดส่วนร้อยละ 32.1 และนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลมี ร้อยละ 16.0 ของแบบสอบถาม ช่วงเวลาในการเดินทางไปโรงเรียนของนักเรียนโรงเรียนสังกัดรัฐบาลส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเวลา 7.00-7.30 น. เช่นเดียวกับนักเรียนโรงเรียนเอกชน การกระจายตัวของที่พักอาศัย พบว่านักเรียนโรงเรียนเอกชนมี ร้อยละ 40.7 ของแบบสอบถามและนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลมี ร้อยละ 51.3 ของแบบสอบถาม ผลกระทบต่อสภาพการจราจรในพื้นที่ศึกษา พบว่า บริเวณถนนศรีสุขซึ่งเป็นถนนที่มีสถานศึกษาตั้งอยู่หลายแห่ง มีสภาพการจราจรติดขัดเนื่องจากมีการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุด โดยมีสัดส่วนปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างทั้งหมดต่อปริมาณยานพาหนะประมาณร้อยละ 67 โดยปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนในบริเวณหน้าสถานศึกษาและได้ส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดทั้งระบบ ข้อเสนอแนะควรจัดทำแผนการจราจรโดยให้ความสำคัญในบริเวณแหล่งสถานศึกษาและบริเวณต่อเนื่อง ปรับปรุงระบบไหลเวียนของการจราจรและการจอดรถบริเวณหน้าสถานศึกษา พิจารณาแนวทางในการลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้โรงเรียนจัดระบบรถโรงเรียนร่วมพื้นที่ (Aggregate School Bus) ด้วยวิธีการจัดระบบรถโรงเรียนบริการนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้กัน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของการเดินทางและต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการใช้รถโรงเรียน ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐ
Other Abstract: The objectives of this research are to examine the traffic conditions and the cause of traffic congestion in Udon Thani Municipality which relates directly to the students’ commuting. The study concentrates on the students’ commuting patterns, the number and types of vehicles, the period of travel time, costs, the distribution of students from the school locations as well as the origin and destination of the students’ commuting with an aim to introduce some development alleviation of traffic congestion caused by the students’ commuting. The study of the students’ commuting is determined from a group selection of schools with students under the compulsory education program from public and private schools within the area. The methodology includes field trips, interviews, and administered questionnaires, gathered data are processed by the SPSS programme. The study of students’ commuting by comparing. The movement patterns of the public and private schools. The study found that the vehicles mostly used in commuting are private schools students amount of 32.1 percent of the total. While public schools students on 16.0 amount of percent of the total. The period of travel time to schools found that the public schools students are between 7.00-7.30 hour morning as same as the private schools students. The distribution of residential location. It is found that the public schools students on amount of 40.7 percent of the total stay in the study area. While the private schools students on amount of 51.3 percent of the total stay in the study area. In regard of the impact of traffic condition on the study area, Srisuk Road, zone with a large number of educational institutions, was heavily affected by the traffic congestion due mainly to the use of private cars, the ratio of which used by the focus group as a whole to all vehicles being as high as 67 percent of the total. This resulted in traffic congestion not only in front of educational institutions but also the whole area during rush hour. The findings of this research revealed that as the study area was rather packed with educational institutions, traffic plans should be developed with emphasis on the educational institution areas and in the neighborhood. The traffic flows and cars parking in front of educational institutions should also be improved. Moreover, the initiative in the use of less private cars should be taken into consideration by supporting and promoting the use of aggregate school buses among schools in order to serve students in various schools within the same area. This solution will place an emphasis on the efficiency of students’ commuting and costs or expenses on school buses, which has to be supported by the government agencies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27116
ISBN: 9745318345
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawimon_ni_front.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_ch1.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_ch2.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_ch3.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_ch4.pdf12.53 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_ch5.pdf23.09 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_ch6.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Worawimon_ni_back.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.