Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27133
Title: โครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและพื้นที่โดยรอบเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
Other Titles: Urban improvement for Wat Phramahathatvorramhahawihan and surrounding, Nakhon Si Thammarat municipality
Authors: วิรุจ ถิ่นนคร
Advisors: บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย
จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: ภูมิสถาปัตยกรรมเมือง -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
การพัฒนาเมือง -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (นครศรีธรรมราช)
Urban landscape architecture -- Thailand -- Nakhon Si Thammarat
Urban development -- Thailand -- Nakhon Si Thammarat
Wat Phramahathatvorramahawihan (Nakhon Si Thammarat)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ การปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและพื้นที่โดยรอบ เพื่อรักษาคุณค่าความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ประวัติศาสตร์ รวมทั้งสามารถรองรับกิจกรรมทางศาสนาและนันทนาการของเมืองได้ โดยใช้การพัฒนาเชิงอนุรักษ์ และให้สอดคล้องตามปรัชญาพุทธศาสนา ในการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองเก่านครศรีธรรมราช มีพัฒนาการของเมืองมาโดยตลอด ทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและพื้นที่โดยรอบ 3 ประการ คือ ปัญหาความไม่เหมาะสมทางด้านกายภาพต่อกิจกรรมและความเป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และปัญหาพื้นที่ที่มีผลกระทบด้านมุมมองที่มีต่อวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ แนวทางการปรับปรุงพื้นที่ได้เสนอให้ 1) ปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดมหาธาตุฯซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักให้เป็นที่หมายตาและสามารถรองรับกิจกรรมของเมืองได้ 2) ปรับปรุงองค์ประกอบอื่นๆของเมืองที่มีความสัมพันธ์กับวัดพระมหาธาตุฯ ให้มีความชัดเจนและถูกต้องตามเอกลักษณ์ อันประกอบไปด้วย พื้นที่บริเวณทางตอนเหนือของวัดพระมหาธาตุฯถึงหอนาฬิกา พื้นที่บริเวณทางตอนใต้ของวัดพระมหาธาตุฯถึงแนวกำแพงเมือง พื้นที่บริเวณศาลากลางจังหวัด พื้นที่บริเวณกลุ่มศาสนสถานด้านทิศเหนือ พื้นที่บริเวณแนวกำแพงเมืองและคูเมือง 3) แนวทางการปรับปรุงรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ โดยเสนอให้พื้นที่บริเวณลานวัฒนธรรม เป็นพื้นที่หลักสำหรับรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว 4) แนวทางอนุรักษ์และควบคุมอาคารบริเวณพื้นที่เมืองเก่านครศรีธรรมราช เพื่อสร้างเอกลักษณ์และบรรยากาศของพื้นที่ๆมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาคือ ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นไปตามแนวทางการศึกษาคือ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
Other Abstract: The main purpose of this research was to improve the area of Phramahathatvorramahawihan Temple and its environs in order to preserve this historical site and to meet needs for religious activities and urban recreational activities through conservation based on Buddhism architectual principles prevalent when the Chedi was built. It was found that the site of the Chedi, an old area of this province, has been improved on in physical socio-economic and cultural ways. Such improvement affects the temple and its surroundings in three ways. The first is the physical inappropriateness for certain activities related to the historical identity of the temple and the second is attitudes towards the temple. The third is tourist activities in the area. The proposed guidelines for improvement are 1) improving the site of the temple so that it will be once more a focal point and serve its urban community, and 2) improving other temple environs so that they are in line with the temple’s characteristics. Such environs include the area north to the temple up to the clock tower, the area south to the temple up to the city wall, the area around the town hall, the area around religious buildings on the north side and the area along the city wall and the city moat. 3) With regard to eco-tourism, the cultural open space should be the major area for conducting tourist activities and 4) the buildings of the old area of the province should be preserved and controlled to protect the area’s unique identity and historical atmosphere as well as to improve the quality of life of people in the community. According to the research, major factors contributing to the proposed improvement are cooperation between agencies, the dissemination of necessary cooperation information and the participation of the local community. These will contribute to a sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27133
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1451
ISBN: 9741753055
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1451
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirut_th_front.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_ch1.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_ch2.pdf15.77 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_ch3.pdf23.36 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_ch4.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_ch5.pdf31.24 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_ch6.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Wirut_th_back.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.