Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27181
Title: | การเผยแพร่ประชาธิปไตยของรายการสนทนาทางวิทยุระหว่าง นายมั่น ชูชาติ กับ นายคง รักไทย ช่วง พ.ศ. 2484-2486 |
Other Titles: | The dissemination of democracy through radio program of Nai Man-Nai Kong's conversation in 1941-1943 |
Authors: | ศศิ เสตะจันทน์ |
Advisors: | จุมพล รอดคำดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | สื่อมวลชนกับการเมือง -- ไทย รายการวิทยุ -- ไทย วิทยุ -- การจัดรายการ ไทย -- การเมืองและการปกครอง |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 อย่างคือ เพื่อทราบแนวคิดในการเผยแพร่ประชาธิปไตยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และเพื่อทราบลักษณะรูปแบบ เนื้อหา วิธีการนำเสนอของรายการสนทนาระหว่างนายมั่น ชูชาติ กับ นายคง รักไทย ช่วง พ.ศ.2484-2486 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวคิดเรื่องอุดมกาณ์ เรื่องการเจรจาต่อรอง ทฤษฎีเข็มฉีดยา หรือการสื่อสารทางเดียว ทฎษฎีโครงสร้างนิยมและสัญญะวิทยา เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยค้นพบว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม ใช้ “ลัทธิชาตินิยม” ในการบริหารประเทศและมีความต้องการให้ประเทศไทยเป็นไปตามอุดมการณ์ของคน 3 ประกาศคือ (1) ต้องการให้ประเทศไทยเป็นเอกราช (Independence) คือเป็นอิสระแก่ตนไม่เป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจ (2) ต้องการให้ประเทศเป็นอธิปไตย(Sovereignty) โดยการใช้อำนาจสูงสุดของรัฐที่จะบังคับบัญชาในอาณาเขตของตนให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัย และ (3) ต้องการเห็นประเทศไทยมีความเป็นชาติ (Nationhood) และต้องการเห็นคนไทยมีความเป็นไทย (Thainess) จริง ๆ คือรักชาติรักแผ่นดินและรักความสามัคคี ส่วนลักษณะรูปแบบ เนื้อหาและวิธีการนำเสนอในรายการสนทนาระหว่าง นายมั่น ชูชาติ กับ นายคง รักไทย พบว่าพระราชธรรมนิเทศได้นำเอาแนวคิดและนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงครามผ่าน “ซองเหลือง” มาแปลงเป็นบทสนทนา และมอบให้ นายมั่น-นายคง นำไปพูดคุยกันในรายการนี้ |
Other Abstract: | This thesis has two objectives, to study ideas in the propagation of democratic principles by Field Marshal P. Pibulsonggram, and the study content, form, and method of presentation of the conversation between Nai Man Chuchart and Nai Khong Rakthai, during 1941-1943, by the means of qualitative research methodology, using ideological principles, negotiating skills, hypodermic needle theory – a one-way communication technique, structuralism and semiology as the frame of thought and analysis. The research has found that Field Marshal P. Pibulsonggram resorts to “nationalism” in his administration, with three ideologal aims, national independence for the country , free from colonial rules and influences, national sovereignty, with state authority strongly imposed for security and safety, and the sense of nationhood, with the creation of Thainess among the Thai people, the attachment to the land, the nation and strong unity in the country. Moreover, the content, the program format and the presentation techniques are found that they are produced in the follow manner; first Phrarachdhamnites received a “yellow letter” from Field Marshal P. Pibulsonggram, and then he wrote a script for Nai Man-Nai Kong to present in the program. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27181 |
ISBN: | 9745833967 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sasi_se_front.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sasi_se_ch1.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sasi_se_ch2.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sasi_se_ch3.pdf | 860.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sasi_se_ch4.pdf | 107.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sasi_se_ch5.pdf | 13.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sasi_se_back.pdf | 4.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.