Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27218
Title: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์ สำหรับข้อสนเทศทางเศรษฐกิจ
Other Titles: Relational database system development for economic information
Authors: วีรพล สัมฤทธิ์
Advisors: นันทา รัตนกมุท
ไกรวิชิต ตันติเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันแหล่งที่มาของข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งก็คือ รายงานรายได้ประชาชาติของประเทศไทย จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะรายงานสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละปี แต่เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกต่อการค้นหา และข้อมูลบางส่วนมักจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นอาจทำให้ข้อมูลจากรายงานรายได้ประชาชาติของรายการเดียวกันมีมูลค่าไม่สอดคล้องกัน ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจเหล่านั้นผิดพลาดไปได้ ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจให้เป็นแหล่งข้อมูลเดียวกัน แล้วทำการออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์สำหรับข้อสนเทศทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ถึงแม้ข้อมูลจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ผู้วิจัยได้ออกแบบการสอบถามข้อสนเทศจากระบบฐานข้อมูล ให้มีลักษณะเป็นการประมวลผลแบบโต้ตอบ โดยใช้ภาษาไอเอสคิวแอลของระบบจัดการฐานข้อมูลเอสคิวแอล/ดีเอส ซึ่งทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวีเอ็ม/เอสพี ทำให้การสอบถามข้อสนเทศทางเศรษฐกิจเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว
Other Abstract: At present, one of the most important economic data resource is the National Income Reports of Thailand which are collected by Office of the National Economic and Social Development Board. These reports inform the annual economic situation. According to a large amount of data, it is inconvenient to search. Moreover, some of those data may be changed without consistency in the same data item. The result is that analysis of these economic data leads to the mistake information. For these reasons, researcher has collected the economic data into only one resource and then designed and developed the relational database system for economic information. This system will reduce redundancy and inconsistency of the economic data [even though] they always changed. Furthermore, to provide convenience for user, researcher has designed the inquiry of information from database to be the interactive processing system by using ISQL language of SQL/DS database management system which runs under VM/SP operating system. It will help the inquiry of the economic information more convenience and more rapid.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27218
ISBN: 9745677809
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veerapol_su_front.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Veerapol_su_ch1.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Veerapol_su_ch2.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open
Veerapol_su_ch3.pdf9.88 MBAdobe PDFView/Open
Veerapol_su_ch4.pdf7.45 MBAdobe PDFView/Open
Veerapol_su_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Veerapol_su_back.pdf21.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.