Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2721
Title: กลวิธีทางภาษาที่ใช้โจมตีรัฐบาลทางอ้อมในปริเฉทการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
Other Titles: Linguistic devices in indirect attack on the government during censure debates
Authors: พรรณธร ครุธเนตร
Advisors: ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Natthaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย--การใช้ภาษา
อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล--ไทย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้โจมตีรัฐบาลทางอ้อมในปริจเฉทการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากแถบบันทึกเสียงการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจในระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2545 จำนวน 71 ม้วน มีระยะเวลาในการอภิปรายประมาณ 71 ชั่วโมง จากการศึกษาปริบทการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจตามกรอบ SPEAKING ของ Hymes พบว่า การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจจะต้องดำเนินไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกำหนดเวลาสถานที่ ผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ จุดมุ่งหมาย ลำดับขั้นตอน และลักษณะภาษาที่ใช้ ในความเป็นจริงแล้ว จุดมุ่งหมายของการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจไม่ได้เป็นไปเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว พรรคฝ่ายค้านยังต้องการให้ประชาชนได้รับทราบว่ารัฐบาลบริหารประเทศชาติบกพร่องอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเลือกฝ่ายตนเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศชาติในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่ด้วยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรกำหนดห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ ใส่ร้ายหรือเสียดสี พรรคฝ่ายค้านจึงต้องเลือกใช้กลวิธีทางภาษารูปแบบต่างๆ เพื่อโจมตีรัฐบาลทางอ้อม ผลการศึกษาเรื่องกลวิธีทางภาษาพบว่า พรรคฝ่ายค้านใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อโจมตีรัฐบาลทางอ้อม 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำนัยผกผัน การถาม การใช้รูปประโยคเงื่อนไข การใช้คำอ้างถึงโดยไม่ระบุชื่อ การใช้ความเปรียบหรืออุปลักษณ์ การใช้สำนวน การยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้ฟังตีความว่าผิด และการเล่นคำ เมื่อศึกษาหน้าที่ในการสื่อสารของกลวิธีทางภาษาทั้ง 8 กลวิธี พบว่า นอกจากลวิธีทางภาษาที่พรรคฝ่ายค้านเลือกใช้จะทำหน้าที่โจมตีรัฐบาลแล้ว กลวิธีเหล่านี้ยังทำหน้าที่ในการสื่อสารอื่นซึ่งช่วยให้การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจสัมฤทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่พรรคฝ่ายค้านวางไว้ หน้าที่ดังกล่าวนั้นก็คือ ช่วยเลี่ยงการละเมิดข้อข้อคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ช่วยเลี่ยงความรับผิดชอบคำพูดของตน ช่วยโน้มน้าวใจผู้ฟังให้เชื่อถือ ช่วยเรียกร้องความสนใจช่วยสร้างความขบขันสนุกสนาน ช่วยสื่อความให้เห็นภาพได้ชัดเจน ช่วยเน้นความ และช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้รวดเร็ว เมื่อพิจารณาการปรากฏของกลวิธีทางภาษาที่พรรคฝ่ายค้านเลือกใช้ พบว่า พรรคฝ่ายค้านเลือกใช้ถ้อยคำนัยผกผันและใช้การถามเพื่อโจมตีรัฐบาลทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาของพรรคฝ่ายค้าน คือ ปริบทของการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ หน้าที่ในการสื่อสารของกลวิธี และวัจจนลีลาเฉพาะตัว
Other Abstract: This study aims at examining linguistic devices in indirect attack on the government during censure debates. The data elicited includes the 2002 censure debates which took place on 22-24 May 2002. The censure debates is about 71 hours. A contextual analysis based on SPEAKING frame reveals that the discourse of Thai censure debates are strictly governed. The scene, the ends of the speech event, the roles of the participants, the instrumentalities, as well as the sequence of acts are stated in the rules of the parliamentary regulations. According to the rules of the debate, the role of the opposition party is to present cases of wrong-doing such as corruption to the public. However, the rules of the parliamentary regulations also state that while doing so, the debaters are not allowed to use verbal and non-verbal abuses. This might be a major reason why the opposition has to adopt indirect strategies in order to attack the credibility of the ruling-government. It is found that debaters from the opposition party adopt eight linguistic devices to attack government. Thoses devices are-using verbal irony, using rhethorical questions, using conditionals, using indefinite description, using metaphor, using idioms, providing examples implicating cases of wrong-doing, and using puns. In terms of function, the present study indicates that the 8 devices help achieve not only the main function -- to attack the opponents -- but also other communicative goals. Those functions are - to avoid breaching the rules of the parliamentary regulations, to disclaim responsibility, to persuade the audience, to attract the audience's attention, to provoke humor, to give a clear picture of what is described, to emphasize and to hearer get the extended meaning. Among the eight devices, verbal irony and rhethorical questions appear to be the most preferred. The findings indicate that the strategy selection depends on the regulations of the debate, the communicative goals a strategy can achieve, as well as, the debater's style.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2721
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.38
ISBN: 9745319716
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.38
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannatorn.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.