Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27239
Title: การบริการวางแผนครอบครัว ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขสมาคมสตรีไทย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร : เปรียบเทียบภูมิหลังและภาวะทางสังคม ของผู้มารับบริการตลอดทุกขั้นตอน กับผู้มารับบริการเฉพาะในระยะแรก
Other Titles: Family planning service at Thai women association health center department of health Bangkok metropolis : a comparative study of background and social condituons of continued users and dropouts
Authors: สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์
Advisors: สัญญา สัญญาวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ประการคือ เพื่อเปรียบเทียบภูมิหลังและภาวะทางสังคมของผู้มารับการวางแผนครอบครัวทุกขั้นตอนกับผู้มมารับการวางแผนครอบครัวเฉพาะระยะแรก ณ. ศุนย์บริการสาธารณสุขสมาคมสตรีไทย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการของผู้มารับบริการวางแผนครอบครัว ข้อมูลสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ได้จากผู้มารับบริการ ซึ่งแยกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ ผู้รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยา และการใส่ห่วงอนามัย เลือกผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 200 คน เป็นผู้มารับบริการทุกขั้นตอน 100 คน และผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก 100 คน จากการศึกษาพบว่า ผู้มารับบริการทั้งสองประเภทมีลักษณะที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน สิ่งที่คล้ายคลึงกันคือ ระดับการศึกษา อายุที่มารับบริการ ฐานะทางเศรษฐกิจ และแหล่งข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว ส่วนที่แตกต่างกันก็คือ สถานภาพการสมรส และจำนวนบุตร ปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการวางแผนครอบครัวมีดังนี้คือ ผลข้างคียงสำหรับผู้รับประทานยา ความต้องการมีบุตรเพิ่มสำหรับผู้ฉีดยา ความต้องการมีบุตรเพิ่มและแพทย์แนะนำให้เลิกใช้สำหรับผู้ใช้ห่วงอนามัย เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่า มีทั้งยอมรับและไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ดังนี้คือ ก. ไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ผู้มารับบริการทุกขั้นตอนมีการศึกษาสูงกว่าผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก ข. ไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า สามีของผู้มารับบริการทุกขั้นตอนมีระดับการศึกษาสูงกว่าสามีผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก ค. ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ผู้มารับบริการทุกขั้นตอนมีระดับเศรษฐกิจสูงกว่าผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก ง. ไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า สตรีผู้ที่ทำงานนอกบ้านนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้มารับบริการทุกขั้นตอนมากกว่าผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก จ. ไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า สามีผู้ที่มารับบริการเฉพาะระยะแรกส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำงานอย่างใช้แรงงานมากกว่าสามีผู้ที่มารับบริการทุกขั้นตอน ฉ. ไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ผู้มารับบริการทุกขั้นตอนน่าจะมีบุตรมากกว่าผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก ช. ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ผู้มารับบริการวางแผนครอบครัวทุกขั้นตอนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยมารับบริการอื่นๆ ที่ศูนย์ฯมากกว่าผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก ซ. ไม่ยอมรับสมมุติฐานที่ว่า ผู้มารับบริการทุกขั้นตอนส่วนใหญ่มีอายุอยู่กลางวัยเจริญพันธ์มากกว่าผู้มารับบริการเฉพาะระยะแรก
Other Abstract: The objectives of the study are two folds: to compare the background and social conditions of continued users and dropouts at Thai Women Association Health, Center, Department of Health, Bangkok Metropolis and to study factors affecting the contraceptive continuation rate of the users. The data for this study were collected from 3 groups of contraceptive adopters classified by kinds of contraception: oral pill, DMFA injectable and intrauterine devices (IUD). Questionaires were administered to 200 women: 100 contraceptive continued users and 100 dropouts. The study found some similarity and dissimilarity in characteristics of the two categories of respondents. Those in similarity, for example, educational level, fecundity age, economic status and sources of knowledge about contraceptive methods. The differences are marriage status, numbers of children and original domiciles. Factors affecting the continuation rate are as follows- side affect for the pill users, desire for more children for the DMPA group, and desire for additional children and doctor advice for IUD users. In addition,elecited data confirmed and refused some hypothesis as follow: a. The data refused the hypothesis that the continued users should have a higher educational level. b. The study also refused the hypothesis that educational level of continued users husband should be higher than that of the dropouts. c. The data from this study confirmed the hypothesis that economic status of the continued users should be higher than that of the dropouts. d. The data also refused the hypothesis that those women who go out to work should have a higher continuation rate than those who do not. e. It was hypothesized that women whose husband are manual workers should be dropouts rather than continued users. This hypothesis was disconfirmed by the study. f. The data also dismissed the hypothesis that the continued users are those who have more children than the dropouts. g. Another confirmed hypothesis is that continued users are those women who also come to health clinic for other services more than dropouts. h. The last hypothesis refused by the study is that whose women in middle state of fecundity should be more continued users than dropouts.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27239
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suteera_Ph_front.pdf486.68 kBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_ch1.pdf457.28 kBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_ch2.pdf749.48 kBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_ch3.pdf647.67 kBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_ch5.pdf768.92 kBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_ch6.pdf516.66 kBAdobe PDFView/Open
Suteera_Ph_back.pdf698.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.