Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27240
Title: | การคาดคะเนการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยสแตนดาร์ด เพเนเทรชั่น เทส ในดินกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Prediction of pilee carrying capacity form standard penetration test (N) in Bngkok metropolis subsoil |
Authors: | วีรนันท์ ปิตุปกรณ์ |
Advisors: | สุรฉัตร สัมพันธารักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หลักการออกแบบฐานรากแบบเสาเข็มให้ตั้งอยู่ได้โดยไม่เกิดการวิบัติและประหยัดค่าก่อสร้าง ผู้ออกแบบจะต้องคาดคะเนกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งส่วนใหญ่ค่าพารามิเตอร์กำลังเฉือนของดินที่ใช้คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มด้วย static pile formula มักจะได้มาจากการเจาะสำรวจดินและเก็บตัวอย่างดินมาวัดค่ากำลังในห้องทดลองโดยใช้ unconfined compression test สำหรับชั้นดินแข็งในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่นิยมเก็บตัวอย่างที่ดินที่มีสภาพถูกรบกวน (disturbed sample) และทดสอบ SPT ไปด้สยในตัวเพื่อเป็นการประหยัดและไม่เสียเวลา เพื่อประหยัดเวลาในการออกแบบ ปัญหาที่ควรหาคำตอบคือจะประมาณค่ากำลังเฉือนของดินจากค่า SPT N value อย่างไรหรือจะประมาณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มจากค่า SPT N value ได้อย่างไร เพื่อให้สามารถคาดคะเนกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มตอกในดินแข็งชั้นแรกของกรุงเทพฯ จากค่า N(SPT) ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงเก็บรวบรวมข้อมูลหลุมเจาะดิน และข้อมูลการทดสอบเสาเข็มตอกในบริเวณกรุงเทพฯ เอามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า N(SPT) กับแรงต้านทานของเสาเข็มในส่วนที่เป็นดินแข็ง นอกจากนั้นแล้วยังได้ develop หาค่า adhesion factor ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่าแรงเฉือนจาก unconfined compression test เพื่อมีประโยชน์ในการออกแบบเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายชั้นแรก โดยได้ทำการวิจัยตามขั้นตอนและผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ (i) หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า N(SPT) กับค่ากำลังของดินที่ได้จาก unconfined compression test ของดินเหนียวแข็งชั้นแรกในชั้นดินกรุงเทพฯ เพื่อให้ได้กำลังเฉือนของดินแบบอันเดรน (Su) เอาไปใช้ในการคำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มตอกในชั้นดินเหนียวแข็งตามวิธี total stress โดยทำการวิเคราะห์จากข้อมูลทั้งหมด 426 จุด และใช้หลักการของเส้นถดถอย (Regression analysis) ซึ่งพบว่า สามารถแยกความสัมพันธ์ระหว่างค่า N(SPT) กับ qu ตาม plasticity ของดินเป็นดิน CH (Inorganic clay of high plasticity) และดิน CL (Inorganic clay of low to medium plasticity) โดยพบว่าดินเหนียวแข็ง (CH) ของกรุงเทพฯ ให้ความสัมพันธ์ระหว่างค่า N กับ qu ใกล้เคียงกับที่เสนอโดย Terzaghi และ Peck (1948) ดินเหนียวแข็ง (CL) ได้ความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับเสนอที่โดย Sowers (1961) ความลึกของชั้นดินเหนียวแข็งที่วิจัยอยู่ระหว่าง 14.0 เมตร ถึง 25.0 เมตร จากผิวดิน ค่า plasticity index อยู่ระหว่าง 10 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ Natural water content อยู่ระหว่าง 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ (ii) หาความสัมพันธ์แบบ empirical ระหว่างค่าตัวประกอบการยึดเกาะ (adhesion factor α) กับค่าเฉลี่ยกำลังเฉือนของดินเหนียวแข็ง โดยวิเคราะห์ได้จากข้อมูลการทดสอบเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตอกในบริเวณกรุงเทพฯ จำนวน 32 ต้นและเข็มเหล็ก 2 ต้น ความลึกของปลายเข็มอยู่ระหว่าง 18.5 เมตร ถึง 29.0 เมตรจากผิวดิน ได้ค่า α แปรตามค่าเฉลี่ยแรงเฉือนของดินเมื่อค่าเฉลี่ยแรงเฉือนของดินมากขึ้น ค่า α จะมีค่าน้อยลงและแนวโน้มของเส้น curve ความสัมพันธ์ของค่า α กับค่าเฉลี่ยแรงเฉือนของดินที่หาได้ใกล้เคียงกับเส้น curve ของ Peck (1958) ได้ค่า α มากกว่าค่าที่เสนอโดย Holmberg (1970) เมื่อเอาค่า α ไปคำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัยของเสาเข็ม จะได้ค่าต่างไปจากผลการทดสอบในสนามไม่เกิน ±20 เปอร์เซนต์ (iii) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบ empirical ระหว่างค่า N(SPT) กับแรงต้านทานของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดเข็มตอก เฉพาะส่วนที่เป็นดินเหนียวแข็ง จากข้อมูลการทดสอบเสาเข็มจำนวน 34 ต้น และค่าN(SPT) กับแรงต้านทานของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดเข็มดอกเฉพาะส่วนที่เป็นดินทรายปนดินเหนียว (ค่า PI อยู่ระหว่าง 10 ถึง 20 เปอร์เซนต์ Wn อยู่ระหว่าง 15 ถึง 25 เปอร์เซนต์ และขนาดเม็ดดินผ่านตะแกรง เบอร์ 200 40 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนัก) ข้อมูลทดสอบเสาเข็มที่มีปลายเข็มจมอยู่ในดินทรายปนดินเหนียว จำนวน 9 ต้น ความลึกของปลายเข็ม อยู่ระหว่าง 20.0 เมตร ถึง 27.5 เมตร สมการความสัมพันธ์ระหว่างค่า N(SPT) กับแรงต้านทานของเสาเข็มในดินเหนียวแข็งมีดังนี้ Pu(stiff clay) = 5.75 NpAp + 0.28 N ̅SAS สมการที่ (1) เมื่อ Pu = ค่าแรงต้านทานสูงสุดของเสาเข็มเฉพาะในส่วนที่อยู่ในดินเหนียวแข็ง หน่วยเป็นตัน Ap = พื้นที่หน้าตัดที่ปลายเข็ม หน่วยเป็นตารางเมตร AS = พื้นที่ผิวประสิทธิผลของเสาเข็ม (คิดจากเส้นรอบรูปรอบเสาเข็มที่สั้นที่สุด) หน่วยเป็นตารางเมตร NP = ค่าเฉลี่ย N(SPT) ของดินเหนียวแข็งในช่วง ± หนึ่งเท่ากับของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเข็มจากระดับปลายเข็ม หน่วยเป็น blows per foot N ̅S = ค่าเฉลี่ยของ N(SPT) ของชั้นดินแข็งตลอดความยาวของเสาเข็ม หน่วยเป็น blows per foot สมการนี้มีรูปแบบเหมือนกับสูตร empirical ที่เสนอโดย Meyerhof (1956 และ 1976) สมการความสัมพันธ์ระหว่างค่า N(SPT) กับแรงต้านทานของเสาเข็มเฉพาะส่วนที่จมอยู่ในดินทรายปนดินเหนียว มีดังนี้ Pu(clayey sand) = 0.007 q ̅vavg N ̅SAS + 0.394 q ̅vavg NPAP สมการที่ (2) เมื่อ Pu = ค่าแรงต้านทานสูงสุดของเสาเข็มเฉพาะส่วนที่อยู่ในชั้น clayey sand หน่วย เป็นตัน q ̅vavg = ค่าเฉลี่ยของค่าความเต้นประสิทธิผลในแนวดิ่งของดิน ( σ ̅VO) เฉพาะในชั้นดิน clayey sand ถึงระดับปลายเข็ม หน่วยเป็นตันต่อตารางเมตร N ̅S = ค่าเฉลี่ย N (SPT) ตลอดความหนาของชั้นดินclayey sand ถึงระดับปลายเข็ม หน่วยเป็น blows per foot (ไม่ต้องแก้ไขค่า N ที่วัดได้ในสนาม) Np = ค่าเฉลี่ย N (SPT) ของชั้นดินในช่วง ± หนึ่งเท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็มจากระดับปลายเข็ม หน่วยเป็น blows per foot (ไม่ต้องแก้ไขค่า N ที่วัดได้ในสนาม) Ap = พื้นที่หน้าตัดที่ปลสยเข็ม หน่วยเป็นตารางเมตร AS = พื้นที่ผิวประสิทธิผลของเสาเข็ม หน่วยเป็นตารางเมตร สมการนี้ประกอบด้วยค่าเฉลี่ยของความเค้นประสิทธิภาพของดินในแนวดิ่งและค่า N (SPT) เมื่อทดสอบสูตร empirical ที่หาได้ โดยการคำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัยของเสาเข็มทั้งหมด (รวมแรงเสียดทานของเสาเข็มในชั้นดินอ่อนและแข็งปานกลางชั้นบนและรวมทั้งแรงเสียดทานเนื่องมาจากดินแข็งชั้นบนในกรณีที่ปลายเข็มอยู่ใน clayey sand) เปรียบเทียบกับกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่ทดสอบได้ในสนาม (ค่าน้ำหนักบรรทุกประลัยจากการทดสอบ หาได้โดยใช้หลักการของ Vesic 1963) จะพบว่าค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัยของเสาเข็มในดินเหนียวแข็งจะมีค่าผิดพลาดไม่เกิด ±25 เปอร์เซนต์ และเสาเข็มที่มีปลายเข็มจมอยู่ในชั้นดินทรายบนดินเหนียว จะมีค่าผิดพลาดเกิดขึ้นไม่เกิด ±10 เปอร์เซนต์เท่านั้น |
Other Abstract: | The principle of single pile foundation design is essentially for the stability of pile groups against failure and economical construction. The load carrying capacity of single pile must be closely predicted to the actural one. Usually, the pile capacity is calculated by static pile formula using shear strength parameters from unconfined compression tests from undistrubed samples in soft and medium clay and disturbed samples from split spoon samplers obtained during SPT tests. For economy reason, it is best if the reliable relationships are available for engineer to obtain the estimated ultimate pile load capacity from SPT N value. This is save engineer the cost for performing unconfined compression test in stiff clay and will yield approximate pile capacity after N values are known from field exporation. To achieve the close prediction of load carrying capacity of driven pile in first stiff clay layer expecially in Bangkok area. The author had collected the informations from both soil boring log and pile load test data in Bangkok area in order to analyze for the relationship between N value from standard penetration test and load resistance of driven pile having its tip in stiff clay and clayey sand layer. In addition, the empirical formula had been developed to related the adhesion factor and the shear strength parameter obtained from unconfined compression test. Both of these relations are so useful for designing the prestressed concrete pile capacity which is driven in the first Bangkok stiff clay layer or even in the first clayey sand stratum. Followings are the procedure and result of this research. (i) Data are collected for obtaining the relationship between N value from standard penetration test and shear strength parameter taken from unconfined compression test of the first Bangkok stiff clay layer. The result was obtained by regression analysis from 426 samples. It can be concluded that the relationship between N value and qu depending on the plasticity of clay. The relationship can, therefore, be divided into two groups: CH (Inorganic clay of high plasticity) group and CL (Inorganic clay of low to medium plasticity) group. The relationship between N value and qu in CH Soil group is close to that proposed by Terzaghi and Peck (1948) whereas the other (i.e. for CL Clay) is close to that proposed by Sowers (1961). The depth of the stiff clay layer under study is varied from 14.0 meter to 25.0 meter below ground level. The plasticity index and the natural water content of clays are between 10-50 percent, and 20-40 percent respectively. The developed relationships are aimed for estimating undrained shear strength from SPT N value. They will also be used in this study for developing the adhesion factor. (ii) Data were collected for obtaining the empirical formula relating the adhesion factor (α) to the average undrained shear strength of first Bangkok stiff clay layer. The results were obtained from 32 prestressed concrete and 2 steel II pile loading tests. The depths of pile tips are varied from 18.5 meter to 29.0 meter below ground level. It can be concluded that the adhesion factor will adversely vary with the average undrained shear strength. Increase in the average undrained shear strength will lead to the decrease in the adhesion factor. The proposed curve is closed to the curve proposed by Peck (1958), but yields a greater value of α than that proposed by Holmberg (1970). The study yields that using the obtained adhesion factor, the calculated ultimate load carrying capacity of driven prestressed concrete pile are differed from values obtained from pile load tests in range of ±20 percent (iii) Data from 34 pile load tests and numerous N values were collected for obtaining the empirical formula relating the N value to the load resistance of driven prestressed concrete piles having their tips in stiffy clay layer. The obtained equation is shown below. Pu(stiff clay) = 5.75 NpAp + 0.28 N ̅SAS ………. (1) where Pu = Ultimate load carrying capacity of pile due to stiff clay layer portion (tons). Ap = Cross sectional area of pile tip (Square meter). AS = Effective surface area of pile embedded in stiff clay layer (square meter). NP = Average SPT N value in stiff clay layer, in the range of ± pilediameter measured from pile tip (blows per foot). N ̅S = Average SPT N value of pile embedded in stiff clay layer (blows per foot). This equation is similar in the form to the empirical formula proposed by Meyerhof (1956 and 1976) (iv) Data were also collected for obtaining the empirical formula relating the N value to the average load resistance of driven prestressed concrete piles having their tips in clayey sand layer. Data were from 9 pile loading tests where the depths of pile are varied from 20.0 meter to 27.5 meter. The plasticity index and the natural water content of the clayey sand are between 10-20 percent, and 15-25 percent respectively. And soil particle passing through seive No. 200 is not more than 40 percent by weight. The obtained equation is shown below. Pu(clayey sand) = 0.007 q ̅vavg N ̅SAS + 0.394 q ̅vavg NPAP .. (2) Where Pu = Ultimate load carrying capacity of pile in clayey sand layer portion (tons). q ̅vavg = Average effective overburden pressure along pile shaft (Tons per square meter). N ̅S = Average SPT N value along pile in clayey sand layer (blows per foot) Np = Average SPT N value in the range of ± pile diameter measured from pile tip (blows per foot) Ap = Cross sectional area of pile tip (square meter). AS = Effective surface area of pile embedded in clayey sand layer (square meter). It is verified that the total ultimate load carrying capacity of pile calculated from equation (1) after adding the ultimate load resistance in soft and medium clay layers is slightly different to that obtained from pile load test in which the method of calculating the ultimate load was proposed by vesic (1963). The difference is in the range of ±25 percent. While the total ultimate load calculated from equation (2) after adding the ultimate load resistance in soft, medium and stiff clay layers is only ±10 percent different to that obtained from pile loading test. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27240 |
ISBN: | 9745622184 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weeranan_pi_front.pdf | 5.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weeranan_pi_ch1.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weeranan_pi_ch2.pdf | 7.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weeranan_pi_ch3.pdf | 3.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weeranan_pi_ch4.pdf | 18.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weeranan_pi_ch5.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weeranan_pi_back.pdf | 57.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.