Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27242
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สำเรียง เมฆเกรียงไกร | - |
dc.contributor.author | ทิวานันท์ พสุธาดล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-30T08:44:04Z | - |
dc.date.available | 2012-11-30T08:44:04Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27242 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | ธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนเป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นการผนวกธุรกิจโรงแรมและธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าด้วยกัน มีความหลากหลายทั้งประเภทผลิตภัณฑ์วันหยุดพักผ่อน และโครงสร้างการถือครองวันหยุดพักผ่อน ทำให้ธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนต้องการกฎหมายเพื่อการบังคับใช้เป็นการเฉพาะ แต่ปัญหาการปรับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อน ทั้งประเด็นการปรับใช้สัญญาเช่าทรัพย์แทนสัญญาซื้อขายหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่เกิดจากการกระทำผิดสัญญาหรือข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เพราะยังไม่มีประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ตลอดจนการขาดกฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนโดยตรง รวมถึงประเด็นปัญหาเรื่องทรัพยสิทธิในการถือครองวันหยุดพักผ่อนด้วย ในขณะที่กฎหมายของต่างประเทศทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างมีบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ซื้อวันหยุดพักผ่อน และการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนเป็นการเฉพาะ ตลอดจนความชัดเจนในประเด็นเรื่องนิติกรรมสัญญาและสิทธิถือครองอสังหาริมทรัพย์ประเภทวันหยุดพักผ่อน ดังนั้น ประเทศไทยควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และเพิ่มบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนเป็นการเฉพาะ โดยนำหลักการและแนวคิดที่ได้จากการศึกษากฎหมายของต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายกับธุรกิจอย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการโรงแรมชาวไทย ให้มีศักยภาพในการแข่งขันตามนโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียน ตลอดจนการแข่งขันในตลาดการค้าโลก | en |
dc.description.abstractalternative | Vacation ownership and timeshare business is a distinctive business which combines hotel business with real estate business, and has various types of long-term holiday products and the structure of equity-holders or tenancy, therefore it is necessary to have special legislation (Sui genesis) to be applied for. However, the application of present legislations in Thailand has not been suitable for the distinction of Vacation ownership and Timeshare business, which causes many problems including the application of the provision of Rental Agreement instead of the provision of Purchase Agreement or Leasehold Agreement, the incompletion of consumer protection from the unfair contract due to none of announcement by the Office of Consumer Protection Board that regulates Vacation ownership and Timeshare business being under control, the lack of legislation of business supervisory and inspection, and the problem of real rights. In particular, the special legislation of Consumer Protection of the purchaser of Vacation ownership and timeshare contracts, and special legislation of business and profession in both European Union and the United States of America resolve the problem of type of contract and real rights. It is imperative, therefore, Thailand should improve the Consumer Protection Act and provide the legislation of Vacation Ownership and Timeshare Business Act in order to be applied with the business in Thailand by implementing the principles and concepts of those foreign laws in suitable manner for the purpose of completion and systematic application of law and to support Thai businesspersons to increase their potential of competition in the ASEAN and the world market. | en |
dc.format.extent | 2120921 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1943 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไทม์แชริง (อสังหาริมทรัพย์) | en |
dc.subject | ไทม์แชริง (อสังหาริมทรัพย์) -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en |
dc.subject | ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว | en |
dc.subject | บ้านพักตากอากาศ | en |
dc.subject | Timesharing (Real estate) | en |
dc.subject | Timesharing (Real estate) -- Law and legislation | en |
dc.subject | Real estate business | en |
dc.subject | Tourism | en |
dc.subject | Vacation homes | en |
dc.title | การนำหลักกฎหมายต่างประเทศมาปรับใช้กับธุรกิจจัดสรรวันหยุดพักผ่อนในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | The application of foreign laws on vacation ownership and timeshare business in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Samrieng.M@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1943 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
dhivanant_pa.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.