Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27254
Title: | การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการทำประกันชีวิต |
Other Titles: | A study on consumers' opinions on taking life insurance |
Authors: | ศรีสุกิจ อำนาจวรประเสริฐ |
Advisors: | อาทร ติตติรานนท์ กุณฑลี เวชสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ธุรกิจประกันชีวิตได้เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังในประเทศไทย เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรูปแบบในการจัดตั้งเป็นแบบบริษัทจำกัด อยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานประกันภัย ปัจจุบันมีอยู่ 12 บริษัท การประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทสามัญ อุตสาหกรรม และ กลุ่ม จาก 3 ประเภทยังสามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบชั่วระยะเวลา แบบตลอดชีพ แบบสะสมทรัพย์ และ แบบเงินได้ประจำ โดยหลักการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของแต่ละแบบ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ อัตรามรณกรรม อัตราดอกเบี้ย และค่าใช้จ่าย ในการขายสินค้าหรือแบบประกันต่างๆบริษัทประกันชีวิตมีการจัดระบบตัวแทนประกันภัยชีวิตหรือให้นายหน้าประกันชีวิตเป็นผู้ชักชวนผู้บริโภคให้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตจากบริษัทเท่าที่ผ่านมาการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากขาดการศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่เพียงพอและยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการประกันชีวิต ทำให้ไม่สนใจและไม่เห็นความจำเป็นในการทำประกันชีวิต ดังนั้น การศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคในวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การเก็บข้อมูลทำจากผู้บริโภค 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าหรือผู้บริโภคที่ทำประกันชีวิตแล้ว และผู้บริโภคทั่วไปที่ยังไม่ได้ทำประกันชีวิตผลจากการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริโภคซื้อกรมธรรม์จากตัวแทนประกันชีวิต เนื่องากพอใจในคำชี้แจงถึงผลจะได้รับ เหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจทำประกันชีวิตคือต้องการความปลอดภัยสำหรับตัวเองและครอบครัว สาเหตุที่ยกเลิกการทำประกันชีวิต คือการชำระเบี้ยประกันเป็นภาระที่หนักเกินไป นอกจากนี้ผู้ที่ได้ทำประกันชีวิตไว้แล้วส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะซื้อกรมธรรม์เพิ่มอีกเพราะไม่เห็นความจำเป็น ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปยังไม่คิดที่จะทำประกันชีวิตเป็นเพราะยังไม่เห็นความจำเป็นสำหรับตัวเองและครอบครัว แต่ถ้าหากคิดจะทำประกันชีวิตจะเลือกซื้อกรมธรรม์จากบริษัทโดยตรงมากกว่า เนื่องมาจากความไม่ไว้วางใจในตัวแทน ในเรื่องของความคิดเห็นด้านการทำประกันชีวิต ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มเห็นว่าการทำประกันชีวิต คือ ความมั่นคงปลอดภัยทำให้ครอบครัวมีหลักประกัน ในด้านบริษัท ผู้บริโภคที่ทำประกันชีวิตแล้ว เห็นว่าบริษัทประกันชีวิตมีฐานะมั่นคง แต่สำหรับผู้บริโภคที่ยังไม่ได้ทำประกันชีวิตกลับเห็นว่าบริษัทประกันชีวิตชอบเอาเปรียบลูกค้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในด้านตัวแทนประกันชีวิต ผู้บริโภคที่ทำประกันชีวิตเห็นว่าเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างสวัสดิการในสังคม แต่กลุ่มที่ไม่ได้ทำประกันชีวิตกลับเห็นว่าตัวแทนประกันชีวิตทำอาชีพนี้เป็นเพียงงานอดิเรกเท่านั้น ในด้านสิ่งควรจะปรับปรุงในธุรกิจประกันชีวิต ผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม เห็นว่าควรจะปรับปรุงทุกด้านโดยให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญในแต่ละด้านคือให้ตัวแทนประกันชีวิตทำงานเต็มเวลา มีความจริงใจ อธิบายรายละเอียดไม่ปกปิดข้อเท็จจริงตลอดจนให้บริการสม่ำเสมอ ลดอัตราเบี้ยประกันชีวิตให้ถูกลงกว่าเดิม ให้มีแบบของการประกันมากขึ้น ให้บริษัทปรับปรุงการบริหารงานทั้งภายในและภายนอก เช่น ปรับปรุงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนและการสร้างภาพพจน์ให้ดีกว่าเดิม และสุดท้ายคือต้องการให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ดูแลออกกฏหมายเพิ่มเติมในเรื่องการลดหย่อนค่าภาษี การลงโทษผู้ที่กระทำผิดในธุรกิจประกันชีวิต กำหนดให้นายจ้างทำประกันชีวิตให้แก่ลูกจ้าง จากผลที่ได้จากการวิจัย ประกอบกับประสบการณ์ของผู้เขียน มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ด้านบริษัท ควรนำหลักการทางการตลาดเข้ามาใช้ให้มากขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจในส่วนผสมทางการตลาด คือ ก. การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรมีการวิจัยความต้องการของผู้บริโภคและคำนึงถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีการสอบก่อนออกตลาดจริง ข. ควรพิจารณาว่าส่วนประกอบในการบริการมีอะไรบ้าง เรียงตามลำดับความสำคัญ เพื่อพัฒนาระดับบริการให้มีคุณภาพ และมีหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือก ตลอดจนปรับปรุงแผนกบริการลูกค้า ให้สามารถทำหน้าที่รับคำวิจารณ์มาปรับปรุงกิจการ มีการบริการสินเชื่อช่วยทางด้านกำลังเงินแก่ลูกค้า และเผยแพร่ข้อมูลตลอดจนตอบข้อซักถามแก่ลูกค้าได้ ค. ในการคำนวณการเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกัน ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่นลูกค้า ตัวแทน คู่แข่ง รัฐบาล และผู้บริหารบริษัท เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง ง. มีการพิจารณาคัดเลือกตัวแทนให้ได้คุณภาพ หาวิธีการกระตุ้นให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการหมุนเวียนของตัวแทน และพยายามขยายสาขาให้มากขึ้น เพื่อสะดวกในการติดต่อกับลูกค้า จ. ในการส่งเสริมการจำหน่าย ควรให้มีการโฆษณาเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้จักและตัดสินใจ เป็นการปูทางให้ตัวแทนประกันชีวิตเข้าไปพบลูกค้า เพื่อขายกรมธรรม์ประกันชีวิตได้สะดวกขึ้น ทำการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างภาพพจน์บริษัทโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนมีการส่งเสริมการขายเป็นระยะเช่นจัดนิทรรศการ แจกของขวัญเมื่อทำประกันชีวิต 2. ด้านรัฐบาล ควรมีนโยบายที่แน่นอน มีการประสานงานกับบริษัทต่าง ๆร่วมมือกันทำการประชาสัมพันธ์ โดยอาศัยหน่วยงานที่รัฐบาลมีอยู่แล้วทั่วประเทศ บรรจุหลักสูตรวิชาประกันภัยให้เป็นวิชาบังคับ เพิ่มจำนวนเงินเบี้ยประกันที่สามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆให้ทันต่อเหตุการณ์และควบคุมให้บริษัทประกันชีวิตดำเนินงานไปได้อย่างมั่นคง เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและศรัทธา ธุรกิจประกันชีวิตได้เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังในประเทศไทย เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรูปแบบในการจัดตั้งเป็นแบบบริษัทจำกัด อยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานประกันภัย ปัจจุบันมีอยู่ 12 บริษัท การประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทสามัญ อุตสาหกรรม และ กลุ่ม จาก 3 ประเภทยังสามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ แบบชั่วระยะเวลา แบบตลอดชีพ แบบสะสมทรัพย์ และ แบบเงินได้ประจำ โดยหลักการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของแต่ละแบบ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ อัตรามรณกรรม อัตราดอกเบี้ย และค่าใช้จ่าย ในการขายสินค้าหรือแบบประกันต่างๆบริษัทประกันชีวิตมีการจัดระบบตัวแทนประกันภัยชีวิตหรือให้นายหน้าประกันชีวิตเป็นผู้ชักชวนผู้บริโภคให้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตจากบริษัทเท่าที่ผ่านมาการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากขาดการศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภค ผู้บริโภคมีกำลังซื้อไม่เพียงพอและยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการประกันชีวิต ทำให้ไม่สนใจและไม่เห็นความจำเป็นในการทำประกันชีวิต ดังนั้น การศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคในวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การเก็บข้อมูลทำจากผู้บริโภค 2 กลุ่ม คือ ลูกค้าหรือผู้บริโภคที่ทำประกันชีวิตแล้ว และผู้บริโภคทั่วไปที่ยังไม่ได้ทำประกันชีวิตผลจากการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริโภคซื้อกรมธรรม์จากตัวแทนประกันชีวิต เนื่องากพอใจในคำชี้แจงถึงผลจะได้รับ เหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจทำประกันชีวิตคือต้องการความปลอดภัยสำหรับตัวเองและครอบครัว สาเหตุที่ยกเลิกการทำประกันชีวิต คือการชำระเบี้ยประกันเป็นภาระที่หนักเกินไป นอกจากนี้ผู้ที่ได้ทำประกันชีวิตไว้แล้วส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะซื้อกรมธรรม์เพิ่มอีกเพราะไม่เห็นความจำเป็น ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปยังไม่คิดที่จะทำประกันชีวิตเป็นเพราะยังไม่เห็นความจำเป็นสำหรับตัวเองและครอบครัว แต่ถ้าหากคิดจะทำประกันชีวิตจะเลือกซื้อกรมธรรม์จากบริษัทโดยตรงมากกว่า เนื่องมาจากความไม่ไว้วางใจในตัวแทน ในเรื่องของความคิดเห็นด้านการทำประกันชีวิต ผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มเห็นว่าการทำประกันชีวิต คือ ความมั่นคงปลอดภัยทำให้ครอบครัวมีหลักประกัน ในด้านบริษัท ผู้บริโภคที่ทำประกันชีวิตแล้ว เห็นว่าบริษัทประกันชีวิตมีฐานะมั่นคง แต่สำหรับผู้บริโภคที่ยังไม่ได้ทำประกันชีวิตกลับเห็นว่าบริษัทประกันชีวิตชอบเอาเปรียบลูกค้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในด้านตัวแทนประกันชีวิต ผู้บริโภคที่ทำประกันชีวิตเห็นว่าเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างสวัสดิการในสังคม แต่กลุ่มที่ไม่ได้ทำประกันชีวิตกลับเห็นว่าตัวแทนประกันชีวิตทำอาชีพนี้เป็นเพียงงานอดิเรกเท่านั้น ในด้านสิ่งควรจะปรับปรุงในธุรกิจประกันชีวิต ผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม เห็นว่าควรจะปรับปรุงทุกด้านโดยให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญในแต่ละด้านคือให้ตัวแทนประกันชีวิตทำงานเต็มเวลา มีความจริงใจ อธิบายรายละเอียดไม่ปกปิดข้อเท็จจริงตลอดจนให้บริการสม่ำเสมอ ลดอัตราเบี้ยประกันชีวิตให้ถูกลงกว่าเดิม ให้มีแบบของการประกันมากขึ้น ให้บริษัทปรับปรุงการบริหารงานทั้งภายในและภายนอก เช่น ปรับปรุงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนและการสร้างภาพพจน์ให้ดีกว่าเดิม และสุดท้ายคือต้องการให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ดูแลออกกฏหมายเพิ่มเติมในเรื่องการลดหย่อนค่าภาษี การลงโทษผู้ที่กระทำผิดในธุรกิจประกันชีวิต กำหนดให้นายจ้างทำประกันชีวิตให้แก่ลูกจ้าง จากผลที่ได้จากการวิจัย ประกอบกับประสบการณ์ของผู้เขียน มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ด้านบริษัท ควรนำหลักการทางการตลาดเข้ามาใช้ให้มากขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจในส่วนผสมทางการตลาด คือ ก. การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรมีการวิจัยความต้องการของผู้บริโภคและคำนึงถึงอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีการสอบก่อนออกตลาดจริง ข. ควรพิจารณาว่าส่วนประกอบในการบริการมีอะไรบ้าง เรียงตามลำดับความสำคัญ เพื่อพัฒนาระดับบริการให้มีคุณภาพ และมีหลายรูปแบบให้ลูกค้าเลือก ตลอดจนปรับปรุงแผนกบริการลูกค้า ให้สามารถทำหน้าที่รับคำวิจารณ์มาปรับปรุงกิจการ มีการบริการสินเชื่อช่วยทางด้านกำลังเงินแก่ลูกค้า และเผยแพร่ข้อมูลตลอดจนตอบข้อซักถามแก่ลูกค้าได้ ค. ในการคำนวณการเปลี่ยนแปลงอัตราเบี้ยประกัน ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่นลูกค้า ตัวแทน คู่แข่ง รัฐบาล และผู้บริหารบริษัท เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง ง. มีการพิจารณาคัดเลือกตัวแทนให้ได้คุณภาพ หาวิธีการกระตุ้นให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการหมุนเวียนของตัวแทน และพยายามขยายสาขาให้มากขึ้น เพื่อสะดวกในการติดต่อกับลูกค้า จ. ในการส่งเสริมการจำหน่าย ควรให้มีการโฆษณาเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้จักและตัดสินใจ เป็นการปูทางให้ตัวแทนประกันชีวิตเข้าไปพบลูกค้า เพื่อขายกรมธรรม์ประกันชีวิตได้สะดวกขึ้น ทำการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสาร และสร้างภาพพจน์บริษัทโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม ตลอดจนมีการส่งเสริมการขายเป็นระยะเช่นจัดนิทรรศการ แจกของขวัญเมื่อทำประกันชีวิต 2. ด้านรัฐบาล ควรมีนโยบายที่แน่นอน มีการประสานงานกับบริษัทต่าง ๆร่วมมือกันทำการประชาสัมพันธ์ โดยอาศัยหน่วยงานที่รัฐบาลมีอยู่แล้วทั่วประเทศ บรรจุหลักสูตรวิชาประกันภัยให้เป็นวิชาบังคับ เพิ่มจำนวนเงินเบี้ยประกันที่สามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆให้ทันต่อเหตุการณ์และควบคุมให้บริษัทประกันชีวิตดำเนินงานไปได้อย่างมั่นคง เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและศรัทธา |
Other Abstract: | Insurance business has played a critical role in Thailand after World War II. At present, there are 12 established limited companies under control of Insurance Office. Life insurance can be divided into 3 types: ordinary, industrial and groups life insurance. These three types can be divided into 4 basic plans : term, whole life, endowment, and annuity. Life insurance premium can be calculated by using three parameters consisting of mortality rate, interest rate, and expenses. In selling varieties of life insurance contracts, life insurance companies have agents or brokers to induce consumer to buy their policies. The growth of insurance business is not in progress as it should be. This is because insurance companies do not have enough knowledge and about consumers’ wants and needs. In addition, consumers do not have sufficient understanding about life insurance which may cause ignoring and feeling of unnecessity for consumers. A study about consumers’ opinion can solve these problems. Data was collected from two consumer groups: the consumers who have life insurance and the consumers who never have life insurance. Results of the study show that most consumers buy policies from agents because they are satisfied with the benefits. The most important incentive which makes them decide to buy policies is security for their families and themselves. A reason why they cancel their policies is the insurance premium is too high. Furthermore, consumers who already have life insurance do not feel need to buy an additional insurance. For consumers who do not have life insurances, they do not realize the necessity for their families and themselves. If they want to have their own policies, they would like to buy the policies directly from the insurance company because they do not trust the agent. Both consumer groups agree that life insurance provides good security for their families. A consumer group who has life insurance believes that insurance companies have the stable status, while the other consumer group insurance thinks that companies always take advantage of clients in paying indemnity. For the opinions about life insurance agent, the consumer group who has the life insurance agrees that insurance business provides social welfare while the other group thinks that agents do not take the business seriously. Both groups wants to see the improvement in all aspects for the insurance business. They suggest that the agent should work full-time, giving full explanation and consistent services to customers, decreasing insurance premium rate, producing more life insurance plans, improving the management about indemnity and the image of the insurance company. Finally, consumers want the government to involve in controlling and issuing the additional law about tax deduction, penalty for violators in insurance business, and enforcement for employers to provide insurance for employees. The following suggestions are results of the study : 1. The insurance company should bring in the marketing strategy especially the decision making including these areas: 1.1 Studying the consumer requirement as well as the influence of internal and external and testing the product before introducing the new one. 1.2 Considering the components of the service in order to develop high quality service. Providing the variety of products. Providing information and answering consumers requests. 1.3 Considering the impact of changing the premium rate from every relevant parties such as client, agent, rival, government and top management. 1.4 Recruiting qualified agents. Inducing the agent to work continuously and efficiently. Reducing turnover of agents and expanding more branches for the convenience of clients 1.5 There should be additional advertising and promotions to attract customers’ interest so that it will be easier for agents to sell. Providing information and good image by social participation along with some promotions such as exhibition displays, gifts for new insurance buyers. 2. The government should have certain policy and cooperate with the insurance companies by having public relation through the government agency. Filling the academic curriculum with the insurance courses as a compulsory one. Increasing the amount of premium that can be tax deductable. Updating rules and laws and controlling companies to have stable operations for clients. Insurance business has played a critical role in Thailand after World War II. At present, there are 12 established limited companies under control of Insurance Office. Life insurance can be divided into 3 types: ordinary, industrial and groups life insurance. These three types can be divided into 4 basic plans : term, whole life, endowment, and annuity. Life insurance premium can be calculated by using three parameters consisting of mortality rate, interest rate, and expenses. In selling varieties of life insurance contracts, life insurance companies have agents or brokers to induce consumer to buy their policies. The growth of insurance business is not in progress as it should be. This is because insurance companies do not have enough knowledge and about consumers’ wants and needs. In addition, consumers do not have sufficient understanding about life insurance which may cause ignoring and feeling of unnecessity for consumers. A study about consumers’ opinion can solve these problems. Data was collected from two consumer groups: the consumers who have life insurance and the consumers who never have life insurance. Results of the study show that most consumers buy policies from agents because they are satisfied with the benefits. The most important incentive which makes them decide to buy policies is security for their families and themselves. A reason why they cancel their policies is the insurance premium is too high. Furthermore, consumers who already have life insurance do not feel need to buy an additional insurance. For consumers who do not have life insurances, they do not realize the necessity for their families and themselves. If they want to have their own policies, they would like to buy the policies directly from the insurance company because they do not trust the agent. Both consumer groups agree that life insurance provides good security for their families. A consumer group who has life insurance believes that insurance companies have the stable status, while the other consumer group insurance thinks that companies always take advantage of clients in paying indemnity. For the opinions about life insurance agent, the consumer group who has the life insurance agrees that insurance business provides social welfare while the other group thinks that agents do not take the business seriously. Both groups wants to see the improvement in all aspects for the insurance business. They suggest that the agent should work full-time, giving full explanation and consistent services to customers, decreasing insurance premium rate, producing more life insurance plans, improving the management about indemnity and the image of the insurance company. Finally, consumers want the government to involve in controlling and issuing the additional law about tax deduction, penalty for violators in insurance business, and enforcement for employers to provide insurance for employees. The following suggestions are results of the study : 1. The insurance company should bring in the marketing strategy especially the decision making including these areas: 1.1 Studying the consumer requirement as well as the influence of internal and external and testing the product before introducing the new one. 1.2 Considering the components of the service in order to develop high quality service. Providing the variety of products. Providing information and answering consumers requests. 1.3 Considering the impact of changing the premium rate from every relevant parties such as client, agent, rival, government and top management. 1.4 Recruiting qualified agents. Inducing the agent to work continuously and efficiently. Reducing turnover of agents and expanding more branches for the convenience of clients 1.5 There should be additional advertising and promotions to attract customers’ interest so that it will be easier for agents to sell. Providing information and good image by social participation along with some promotions such as exhibition displays, gifts for new insurance buyers. 2. The government should have certain policy and cooperate with the insurance companies by having public relation through the government agency. Filling the academic curriculum with the insurance courses as a compulsory one. Increasing the amount of premium that can be tax deductable. Updating rules and laws and controlling companies to have stable operations for clients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27254 |
ISBN: | 9745676586 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Srisukit_um_front.pdf | 4.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_ch1.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_ch2.pdf | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_ch3.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_ch4.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_ch5.pdf | 20.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_ch6.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisukit_um_back.pdf | 7.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.