Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27258
Title: ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ : ศึกษากรณีธรรมยุติกนิกาย (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2464)
Other Titles: Change within the sagha : a case study of Dhammayuttikanikaya (1825-1921)
Authors: ศรีสุพร ช่วงสกุล
Advisors: สายชล วรรณรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในช่วงที่สังคมไทยคลี่คลายเปลี่ยนแปลงจากสังคมจารีตเป็นสังคมสมัยใหม่และมีการก่อตัวของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคณะสงฆ์ในระยะดังกล่าวได้แก่การสถาปนาธรรมยุติกนิกาย ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิดทางพุทธศาสนา ตลอดจนบทบาททั้งต่อคณะสงฆ์และต่อสังคมไทยได้ด้วยดี จนสามารถดำรงรักษาฐานะและบทบาทสำคัญในสังคมไทยไว้ได้ วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาธรรมยุติกนิกายในบริบททางประวัติศาสตร์ เพื่อจะเข้าใจธรรมยุติกนิกายอย่างลึกซึ้งและรอบด้านขึ้น โดยวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลโดยตรงให้เกิดการสถาปนาธรรมยุติกนิกาย หลักการของธรรมยุติกนิกาย ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของผู้นำธรรมยุติกนิกาย โดยเฉพาะแนวความคิดเรื่องกรรม แนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์และเป้าหมายของชีวิต ตลอดจนแนวความคิดเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ และความเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทของธรรมยุติกนิกายต่อคณะสงฆ์และต่อสังคมส่วนรวมในระหว่าง พ.ศ. 2368 – 2464 ผลจากการวิจัย ทำให้ได้พบความรู้ใหม่ที่สำคัญคือ การสถาปนาธรรมยุติกนิกายมิได้เกิดจากปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น แต่เกิดจากลักษณะทางอัตตวิสัยของผู้ทรงสถาปนานิกายนี้ด้วยส่วนในด้านแนวความคิดของผู้นำที่สำคัญของธรรมยุติกนิกายมีลักษณะมนุษยนิยม เหตุผลนิยมและสัจจนิยม ปรากฏว่ามีการเน้นความคิดเรื่องกรรมและผลของกรรมในชาตินี้อย่างมาก แนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ในระยะแรกยังคงอธิบายถึงมนุษย์ด้วย ความคิดทางพุทธศาสนาทั้งหมดแต่ในระยะหลังผู้นำธรรมยุติกนิกายจะทรงนำความรู้จากตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับคำอธิบายของพุทธศาสนาอย่างกลมกลืน ส่วนเป้าหมายของชีวิตเปลี่ยนจากนิพพานมาเป็นการเน้นให้ประพฤติดีเพื่อประโยชน์ในชาตินี้ โดยผู้นำธรรมยุติกนิกายในระยะแรกทรงเน้นการประพฤติดีและทำหน้าที่ในหน่วยย่อยของสังคมที่จะส่งผลให้ปัจเจกบุคคลปราศจากทุกข์ ส่วนผู้นำธรรมยุติกนิกายในระยะหลังจะเน้นการประพฤติดี ในแง่ของความสัมพันธ์ทางสังคมในระดับรัฐ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับคนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อความเจริญและความเป็นเอกราชของชาติ สำหรับบทบาทของธรรมยุติกนิกายทั้งต่อคณะสงฆ์และต่อสังคมจะค่อย ๆ ขยายมากขึ้นทั้งนี้โดยสัมพันธ์กับฐานะของธรรมยุติกนิกายที่เปลี่ยนจากการเป็น “สำนัก” มาเป็น “คณะ” สัมพันธ์กับแนวความคิดของผู้นำธรรมยุติกนิกายในแต่ละช่วง และสัมพันธ์กับพัฒนาการของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วย
Other Abstract: During the time that Saim evolved from being a traditional state into an absolute monarchy, changes took place within the Sangha, related in turn to changes in Siamese society as a whole. The most important change within the Sangha during this period was the formation of the Dhammayuttikanika ̅ya which successfully reformed Buddhist thought, as well as defining its own role both within the Sangha and in society, thus ensuring its survival and continuing importance in Siamese society. This thesis aims to study the Dammayuttikanika ̅ya in its historical context. This is done through an analysis of factors which contributed to the establishment of the Dammayuttikanika ̅ya of changes in the thought of the sect’s leaders (especially their ideas on karma, mankind, the purpose of life, the state, and the monarch), and of changes in the role of Dammayuttikanika ̅ya between 1825 and 1921, both within the Sangha and in society as a whole. Research undertaken by the author shows that, significantly, the founding of the Dammayuttikanika ̅ya did not arise out of political reasons alone, but also from the personal experiences of the sect’s founder (King Rama IV). The thoughts of the leading figures in the Dammayuttikanika ̅ya had a humanistic bent, and also emphasized reason and realism. There was much emphasis too on karma and the results of karma in this life. At first, ideas on mankind were expressed wholly in terms of religion, but later on the leaders of the Dammayuttikanika ̅ya blended Western knowledge with Buddhist thought and beliefs. The purpose of life changed from a quest to attain nibbana (nirvana) to being one which emphasizes good and useful behaviour in this life. The sect’s leaders initially stressed the importance of an individual’s good behavior and devotion to duty in his or her own field of activity, conduct which will result in a releade from dhukka (suffering). Later, the sect’s leaders stressed the importance of an individual’s good social behavior within the state, especially social relations between the king and various groups of people which would serve to increase the prosperity of the country and safeguard the independence of the nation. The role of the Dammayuttikanika ̅ya , both in relation to the Sangha and to society as a whole, steadily expanded, owing to its change of states from being a thought of its leaders (in each phase), and to the formation of an absolutist state.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27258
ISBN: 9745679224
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisupon_ch_front.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_ch1.pdf945.45 kBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_ch2.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_ch3.pdf16.11 MBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_ch4.pdf18.36 MBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_ch5.pdf12.6 MBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_ch6.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Srisupon_ch_back.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.