Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27268
Title: การผันแปรของดีเอ็นเอในเห็ดหอม Lentinula edodes (Berk.) Pegler
Other Titles: Variation of DNA in shiitake lentinula edodes (Berk.) pegler
Authors: ศลยา สุขสอาด
Advisors: วิเชียร ริมพณิชยกิจ
สัณห์ พณิชยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เห็ดหอม -- การปรับปรุงพันธุ์
ดีเอ็นเอ
ความผันแปร (ชีววิทยา)
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เห็ดหอม (Lentinula edodes (Berk.) Pegler) เป็นเห็ดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย สายพันธุ์เห็ดหอมที่ใช้เพาะเลี้ยงทางการค้าในปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการคัดเลือกและผลิตสายพันธุ์ให้มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงทางการค้า การวิจัยนี้ได้ศึกษาการผันแปรของดีเอ็นเอในเห็ดหอม โดยการจัดกลุ่มเห็ดหอมสายพันธุ์พ่อ-แม่และลูกผสมที่ใช้ทดลองด้วยเทคนิค Restriction Fragment Length Polymorphisms (RFLPs) โดยศึกษาแถบดีเอ็นเอที่ได้จากการตัดด้วยเรสทริกชันเอนไซม์ และศึกษาแถบดีเอ็นเอที่ได้จากการทำไฮบริไดเซชันกับดีเอ็นเอทติดตามที่เตรียมจากชิ้นดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสซ้ำของสายพันธุ์ MU12 (สายพันธุ์พื้นเมือง) ซึ่งได้จากการโคลนชิ้นส่วนดีเอ็นเอของโครโมโซมเห็ดหอมสายพันธุ์ MU12 ลงใน พลาสมิด pUC118 ที่ตำแหน่ง EcoRI ได้ดีเอ็นเอลูกผสม 125 โคลน สุ่มมาทำ Dot-blot hybridization กับดีเอ็นเอติดตามที่เตรียมจากโครโมโซมเห็ดหอม MU12 จำนวน 59 โคลน เลือกโคลนที่ให้สัญญาณการไฮบริไดซ์เข้มได้ 10 โคลน นำไปสกัดเฉพาะชิ้นดีเอ็นเอ insert ได้ 15 ชิ้น แล้วทำ Dot-blot hybridization กับดีเอ็นเอติดตามจาก MU12 อีกครั้งหนึ่ง เลือกชิ้นดีเอ็นเอ insert ที่ให้สัญญาณการไฮบริไดซ์เข้ม ซึ่งคาดว่เป็นชิ้นดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสซ้ำได้ 3 ชิ้น คือ จากโคลน #50 2 ชิ้นขนาด 5.0 และ 2.0 กิโลเบส และจากโคลน #21 1 ชิ้นขนาด 0.9 กิโลเบส นำไปสร้างเป็นดีเอ็นเอติดตามให้รหัสเป็น *50.1, *50.2 และ *21 ตามลำดับ ผลการทดลองสามารถจัดกลุ่มเห็ดหอมสายพันธุ์พ่อ-แม่ออกจากกันได้ ด้วยการศึกษาแถบดีเอ็นเอที่ได้จากการตัดด้วยเรสทริกชันเอนไซม์ EcoRI, Sau3AI และ TagI และสามารถจัดกลุ่มจากการศึกษาแถบสัญญาณการไฮบริไดซ์กับดีเอ็นเอติดตามที่เตรียมขึ้น โดยใช้เอนไซม์และดีเอ็นเอติดตามดังนี้ คือ HaeIII/*50.1(ดีเอ็นเอของโครโมโซมที่ถูกย่อยด้วย HaeIII และไฮบริไดซ์กับดีเอ็นเอติดตาม *50.1), Sau3AI/*50.1 และ TagI/*50.1 โดยรูปแบบของแถบดีเอ็นเอที่เกิดสัญญาณการไฮบริไดซ์ของสายพันธุ์ลูกผสม (HY) ส่วนใหญ่จะเกิดจากการผสมกันระหว่างแถบลัญญาณของสายพันธุ์พ่อ-แม่ (MU4xMU12) และลักษณะของแถบจะมีความคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ MU14 มากกว่าสายพันธุ์ MU12 อย่างไรก็ตามในการศึกษาต่อไปจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนตัวอย่างของสายพันธุ์พ่อ-แม่ และสายพันธุ์ลูกผสมที่ใช้ในการทดลองให้มากขึ้น เพื่อสามารถบ่งบอกการผันแปรของสายพันธุ์เห็ดหอมได้อย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: Lentinula edodes (Berk.) Pegler or Shiitake (black mushroom) is cultivated on a commercial scale in Thailand. All of the strains used come from abroad. Thus selection is necessary to find strains which are suitable for culture in Thailand. The objective of this study was to group parental strains and their hybrid by Restriction Fragment Length Polymorphisms (RFLPs) technique. Grouping was done by observing restriction patterns and hybridization signals with labelled probes. Probes were repetitive DNA sequences from the local strain, MU12, cloned into the EcoRI site of vector pUC118. The cloning generated 125 clones, of which 59 were randomly selected for Dot-blot hybridization with the MU12 chromosomal DNA probe. 10 clones gave strong hybridization signals with this probe. The recombinant plasmids from these 10 clones were digested with EcoRI and electrophoresed. 15 DNA inserts were eluted and reused for Dot-blot hybridization with the MU12 probe. 3 of these fragments which gave strong signals were selected. These DNA fragments were expected to contain repetitive sequences. 2 of the 3 fragments were from clone #50 and were 5.0 kb. and 2.0 kb. in length while the third fragment of 0.9 kb. came from clone #21. Probes were prepared from these fragment and named *50.1, *50.2 and *21, respectively. Parental strains were grouped by restriction patterns obtained from digestion of chromosomal DNA with EcoRI, Sau3AI and TagI and by hybridization patterns of HaeIII/*50.1 (HaeIII digested chromosomal DNA hybridized with 50.1 DNA probe), Sau3AI/*50.1 and TagI/*50.1. The hybridization patterns of the parental DNAs (MU4xMU12). The patterns are more similar to that of MU4 than that of MU12. Further work involving greater number of strains will be necessary for the grouping to be significant.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27268
ISBN: 9746319973
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Solaya_su_front.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Solaya_su_ch1.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Solaya_su_ch2.pdf785.03 kBAdobe PDFView/Open
Solaya_su_ch3.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open
Solaya_su_ch4.pdf12.78 MBAdobe PDFView/Open
Solaya_su_ch5.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Solaya_su_back.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.