Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27276
Title: | กระบวนการก่อเกิดกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย : ศึกษากรณีสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย |
Other Titles: | The origin and process of an interest group formation in Thailand : a case study of Thailand Sugarcane Planters Federation |
Authors: | สุนทร ลีชีทวน |
Advisors: | กนก วงษ์ตระหง่าน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหรือวิเคราะห์ถึงธรรมชาติของการรวมกลุ่มของชาวไร่อ้อยเขตต่างๆ จนกระทั่งรวมตัวกันก่อตั้งเป็น “สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย” และการแยกตัวของชาวไร่อ้อย พลวัตรการรวมตัว การคงอยู่ของกลุ่มชาวไร่อ้อย และการแยกตัวของชาวไร่อ้อยดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไข 3 มิติ คือ 1. เงื่อนไขทางระบบความคิด คุณค่า และความเชื่อของคนไทย 2. เงื่อนไขทางอำนาจและผลประโยชน์ 3. เงื่อนไขทางสถาวะแวดล้อมทางการเมือง ผู้เขียนต้องการวิเคราะห์ว่าปัจจุบันทั้ง 3 มิติ ช่วยในการรวมกลุ่มและการแตกแยกกลุ่มชาวไร่อ้อยอย่างไร แต่การศึกษานี้จะไม่ครอบคลุมไปถึงประเด็นบทบาทของกลุ่มชาวไร่อ้อยที่มีต่อการกำหนดนโยบายของรัฐ การศึกษาครั้งนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า “กระบวนการก่อเกิดกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย (สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย) อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ส่วนตัว ความไว้วางใจและผลประโยชน์ที่แสดงออก” กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขตต่างๆ 10 สมาคม มีกรรมการบริหารสหพันธ์ชาวไร่อ้อยฯจำนวน 51 คน ผลของการวิจัยเกี่ยวกับประเด็นของธรรมชาติการรวมกลุ่มของชาวไร่อ้อยการต่อสู้ภายในกลุ่มชาวไร่อ้อย การคงอยู่และการขัดแย้งหรือการแตกแยกของกลุ่มชาวไร่อ้อย กรณีสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยพบว่า กระบวนการก่อเกิดของกลุ่มชาวไร่อ้อย (สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย) อยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไข 3 มิติดังกล่าว (ระบบคิด คุณค่า และความเชื่อของสังคมไทย, อำนาจและผลประโยชน์และสถานการณ์ทางการเมือง) เป็นสำคัญ กล่าวคือ ปัจจัยทั้ง 3 มิติดังกล่าว มีบทบาทต่อการรวมกลุ่ม การต่อสู้ภายในกลุ่ม และการแตกแยกหรือขัดแย้งของกลุ่มชาวไร่อ้อยแต่ทั้งนี้อยู่ภายใต้โครงสร้างของสังคมชาวไร่อ้อย ซึ่งมีโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าปัจจัยทั้ง 3 มิติเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อกระบวนการก่อเกิดของสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขตต่างๆ จนกระทั่งรวมตัวกันภายใต้ชื่อว่า “สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย” ระบบคุณค่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสังคมชาวไร่อ้อยซึ่งปรากฎอย่างเด่นชัดว่า กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทหรืออิทธิพลอย่างมากในการรวมกลุ่มของชาวไร่อ้อยคือหัวหน้าโควต้าที่อยู้ในฐานะผู้นำชาวไร่อ้อย ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีลักษณะความเป็นเพื่อนอาชีพเดียวกัน ญาติพี่น้องและมีภูมิลำเนาเดียวกัน อันเป็นลักษณะความสัมพันธ์ส่วนตัวนอกจากนี้กลุ่มบุคคลดังกล่าวยังมีบทบาทมากในการใช้อำนาจในการจัดสรร (ต่อสู้) ผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยจึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่การจัดสรรดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการหรือผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยเป็นหลัก ส่วนผลประโยชน์ร่วมของชาวไร่อ้อยเป็นเพียงกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยนำมากล่าวอ้างเท่านั้น ชาวไร่อ้อยทั่วๆไปไม่มีบทบาทในการใช้อำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ของตนเองเท่าไรนัก บทบาทดังกล่าวตกอยู่กับกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยเกือบทั้งหมด สำหรับการมช้อำนวจในการจัดสรร (ต่อสู้) ผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยภายในกลุ่มสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย จากผลการวิจัย พบว่า อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ส่วนตัว ความใกล้ชิด และความไว้วางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ปัจจัยดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อการจัดสรร (ต่อสู้) ต่อผลประโยชน์ของกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อย สิ่งที่สำคัญยิ่งซึ่งปรากฎอย่างชัดเจนในงานวิจัยชิ้นนี้คือ ภายในกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยเองไม่มีความเป็นเอกภาพเลย เป็นเพียงการประสานผลประโยชน์กันชั่วคราวเท่านั้นเอง พร้อมที่จะแยกตัวได้อยู่ตลอดเวลา ดังปรากฎอย่างชัดเจนในกรณีความขัดแย้งภายในสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2526 และ 2527 ผลที่สุดองค์กรชาวไร่อ้อยระดับประเทศก็มีถึง 3 กลุ่มคือ 1. สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 2. สมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 3.ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย จำกัด องค์กรชาวไร่อ้อยถึง 3 กลุ่มภายใต้การนำของกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยก็ได้พยายามที่จะช่วงชิงบทบาทในการใช้อำนาจในการจัดสรร (ต่อสู้) ผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อย แต่ต่างฝ่ายก็สู้กันโดยยืนอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองเป็นหลักการต่อสู้ของกลุ่มผู้นำชาวไร่อ้อยดังกล่าว พยายามที่จะใช้สถานการณ์เป็นเครื่องมือในการจัดสรรผลประโยชน์แก่กลุ่มคน สามารถสรุปได่ว่า สถานการณ์มีนัยสำคัญต่อการรวมกลุ่ม การต่อสู้ การคงอยู่ และการแตกแยกของกลุ่มชาวไร่อ้อย จากการศึกษาและวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมายืนยันสมมติฐานที่ว่า”กระบวนการก่อเกิดกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย (สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย) อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ส่วนตัว ความใกล้ชิด และผลประโยชน์ที่แสดงออก” ซึ่งเป็นการทดสอบในกรอบทฤษฎีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่มีต่อกระบวนการเกิดกลุ่มของคนไทยในระดับหนึ่ง |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to study or analyze the nature of sugarcane planters’ organization which is called “ Thailand Sugarcane Planters Federation,” the separation of sugarcane planters, the dynamic of organization and the existence of sugarcane planters group. There are 3 basic conditions which the author uses to identify the separation or the formation of sugarcane planters group as the followings : 1. The condition of thought, value and belief system of the Thai people. 2. The condition of power and inters. 3. The condition of political environment. The author would like to analyze that at the present time these 3 dimensions still help in the formation of the separation of sugarcane planters group. However, this study does not cover the role of sugarcane planters group which affected to the formulation of government policy. The hypothesis of this study is “the origin and process of interest group formation in Thailand (Thailand Sugarcane Planters Federation) is based on personal relationship trust and interest”. The author uses Thailand Sugarcane Planters Federation as a case study which composed of 10 sugarcane planters associations in different regions and 51 member in the administrative committee of the Federation. From the study, it was found that the formation of Thailand Sugarcane Planter Federation is based on those 3 dimensions, i.e., thought, value, belief, power and interest, and political environment. These 3 factors play an important role to the formation, the conflict and the separation of sugarcane planters group which is called “Thailand Sugarcane Planters Federation”. As the structure of patron-client relationship, so the value system is an important base of sugarcane planters society. It is clear that quotamen as the leaders of sugarcane planters play an important role of have much influence in the formation of sugarcane planters group. The characteristics of these quotamen are : they are in the same occupation, they are friends or relative and from the same living areas which are the characteristics of personal relationship. What they fight for the benefit of sugarcane planters is in turn their own benefits. Sugarcane planters in general play not much role in the negotiation of their own benefit since this role is in the hand of quotamen. It was also revealed that the use of power to administer the interest among the leaders of Thailand Sugarcane Planters Federation is based on personal relationship, closeness and trust among each other, The major finding of this study was that there is no unity among the leaders of sugarcane planters. What was found is only the temporary integration of interest and this integration of interest is nearly broken all the time. As it had happened in Thailand Sugarcane Planters Federation in 1983 and 1984 and finally we have 3 organizations which represent sugarcane planters in the national level as the followings: 1. Thailand Sugarcane Planters Federation 2. Thailand Sugarcane Planters Associations Union 3.Thailand Sugarcane Planters Cooperative These 3 organization under the guidance of sugarcane planters’ leaders try to fight for the benefit of sugarcane planters. However, they fight by insisting on only the benefit of their own group. They try to use a situation as an instrument to seek for their own benefit. It was said that situation plays a significant role to the formation, the conflict and the existence of sugarcane planters group. From the study and analysis of this research is proved the hypothesis that “the origin and process of interest group formation in Thailand (Thailand Sugarcane Planters Federation) is based on personal relationship, closeness and interest”. This is to testify the theoretical framework of patron-client relationship which is the basis of the frormation of interest group in the Thai socity |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27276 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soonthorn_Le_front.pdf | 561.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch1.pdf | 874.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch2.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch3.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch4.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch5.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch6.pdf | 991.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_ch7.pdf | 524.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_Le_back.pdf | 393.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.