Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอลิศรา ชูชาติ-
dc.contributor.authorธัญญรัตน์ แก้วศรีงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-30T14:22:59Z-
dc.date.available2012-11-30T14:22:59Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27292-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องแสงและการมองเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4EX2 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องแสงและการมองเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4EX2 และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบทั่วไป 3) เปรียบเทียบทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4EX2และ 4)เปรียบเทียบทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4EX2 และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคปลาย ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4EX2 และกลุ่มเปรียบเทียบซึ่งได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดมโนทัศน์เรื่องแสงและการมองเห็น และแบบวัดทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 และ 0.75 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที(t-test)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องแสงและการมองเห็น หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องแสงและการมองเห็นสูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThis study was a quasi-experiment research. The purposes of this research were 1) to compare concepts about light and vision of students learning science through 4EX2 instruction model between before and after learning 2) to compare concepts about light and vision of students after the experiment between groups learning science through 4EX2 instruction model and conventional teaching method and 3) to compare skills in interpreting data and making conclusions of students learning through 4EX2 instruction model between before and after experiment 4) to compare skills in interpreting data and making conclusions of students after the experiment between groups learning science through 4EX2 instruction model and conventional teaching method. The samples were two classes of Matayomsuksa two students of Sriprachan Mathepramook School in the second semester of academic year 2011.Those classrooms samples were assigned to an experimental group learning science though 4EX2 instruction model and a control group learning science through conventional teaching method. The research instruments were test on concepts about light and vision and on skills in interpreting data and making conclusions with reliability at 0.79 and 0.75 respectively. The collected data were analyzed by using arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. After the experiment, the experimental group had an average score of concepts about light and vision higher than before the experiment at .05 level of significance. 2. After the experiment, the experimental group had an average score of concepts about light and vision higher than the control group at .05 level of significance. 3. After the experiment, the experimental group had an average score of skills in interpreting data and making conclusion higher than before the experiment at .05 level of significance. 4. After the experiment, the experimental group had an average score of skills in interpreting data and making conclusion higher than the control group at .05 level of significance.en
dc.format.extent1986066 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1951-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การตีความen
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4EX2 ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องแสงและการมองเห็นและทักษะการแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeEffects of using the 4Ex2 instructional model on concepts about light and vision and skills in interpreting data and making conclusion of lower secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAlisara.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1951-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanyarat_ka.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.