Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27297
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุรณี กาญจนถวัลย์-
dc.contributor.authorดวงรัตน์ แผ้วพลสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-01T07:36:51Z-
dc.date.available2012-12-01T07:36:51Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27297-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลการทดสอบ และลักษณะคำตอบจากแบบทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ ในผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกติ กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท 35 คน กลุ่มควบคุมเป็นผู้มารับบริการโรคหูคอ จมูก 35 คน ซึ่งไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช โรคทางสมอง และโรคทางกายอื่นๆ ที่มีปัญหาทางสมองร่วมด้วย โดยมีการจับเข้าคู่กันในปัจจัยด้านเพศและอายุในระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม การศึกษาครั้งนี้ศึกษาโดยเก็บข้อมูลจากลักษณะการวาดที่ผิดปกติ ในแบบทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ แปลผลโดยการลงความเห็นร่วมกันของนักจิตวิทยาคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานแบบ paired t-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างชองผลการทดสอบทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทมีค่าเฉลี่ยคะแนนจำแนกการวินิจฉัย (Differential diagnostic scoring) สุงกว่าบุคคลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบลักษณะการวาดภาพผิดปกติ 2 ลักษณะ คือ การวาดภาพถดถอย (retrogression) และการวาดภาพแบบขาดหายไปบางส่วน (omission) สูงกว่าบุคคลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยโรคจิตเภทมีค่าเฉลี่ยระดับการมีพยาธิสภาพทางสมองสูงกว่าบุคคลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) สรุปและข้อเสนอแนะ แบบทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ โดยใช้วิธีการคิดคะแนนตามระบบ แมรี หลุยส์ มาร์เลย์ สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างของลักษณะคำตอบ และผลการทดสอบของผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกติได้ และมีความเหมาะสมในการนำไปใช้เพื่อติดตามผลการรักษาและการพยากรณ์โรคen
dc.description.abstractalternativeThis cross-sectional analytic study is aimed to assess the differences in the Bender Visual Motor Gestalt test’s result between schizophrenia patients and control group. The sample consisted of 35 schizophrenia patients and 35 ENT patients as control. All had never been diagnosed other mental disorders, physical disorders with CNS involvement. Age and gender had been matched between groups. The information collected consisted of demographic data, differentiate diagnostic scores, characteristics of drawing, and organicity scores of Bender Visual Motor Gestalt test. The test result were interpreted by the consensus of clinical psychologists. The statistical analysis was performed using descriptive analysis and paired t- test. The result found that schizophrenia patients had significantly higher mean of differentiate diagnostic scores than control group. The patients with schizophrenia had significantly more responsed in 2 pathological drawing characters, retrogression and omission, than control. Moreover schizophrenia patients shown higher proportion of some degree of brain pathology than in control. In conclusion, Bender Visual Motor Gestalt Test using the scoring system of Mary Louise Marley is able to demonstrate the difference in the answers and test results between schizophrenia patients and control. The result also reflected that patients with schizophrenia have significantly abnormalities in brain function than control. The patient’s performance on the Bender Visual Motor Gestalt Test could be benefit in following the disorder progression or in prediction the prognosis.en
dc.format.extent1494293 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1956-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจิตเภทen
dc.subjectแบบทดสอบเบนเดอร์เกสตอลท์en
dc.subjectSchizophreniaen
dc.subjectBender-Gestalt Testen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบเบนเดอร์ วิชวล มอเตอร์ เกสตอลท์ ในผู้ป่วยโรคจิตเภทและบุคคลปกตen
dc.title.alternativeA comparative study of Bender Visual Motor Gestalt Test’s result between schizophrenia patients and healthy control groupen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorBuranee.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1956-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
duangrat_pa.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.