Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2729
Title: เอกสารมหาบุรุษเขมร : การศึกษางานเขียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของกัมพูชา
Other Titles: "Ekasar Mahaburas Khmer" : a study of a modern Cambodian historical writing
Authors: ธิบดี บัวคำศรี, 2516-
Advisors: ฉลอง สุนทราวาณิชย์
ใกล้รุ่ง อามระดิษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Chalong.S@Chula.ac.th
Klairung.A@Chula.ac.th
Subjects: ประวัติศาสตร์นิพนธ์ -- กัมพูชา
ชาตินิยม -- กัมพูชา
กัมพูชา -- ประวัติศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชาตินิยมของกัมพูชาซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของการเขียนประวัติศาสตร์มี 2 แบบ คือ "ชาตินิยมผู้ใหญ่" และ "ชาตินิยมผู้น้อย" โดยทั่วไปแล้ว "ชาตินิยมผู้ใหญ่" จะมีอำนาจเหนือ "ชาตินิยมผู้น้อย" งานเขียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของกัมพูชาซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างชาติจึงมักเสนอภาพแต่ของผู้ใหญ่ และกีดกันประชาชนซึ่งเป็นผู้น้อยออกจากการมีส่วนร่วมในชาติที่ถูกสร้างขึ้นนั้น เอกสารมหาบุรุษเขมรซึ่งเรียบเรียงชำระ โดย เอง สต และพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1969 เป็นงานเขียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกชาตินิยมทั้ง 2 แบบ เอกสารมหาบุรุษเขมรเล่าทั้งเรื่องของผู้ใหญ่และเรื่องของผู้น้อย และในบางตอนผู้น้อยมีบทบาทเด่นเสียยิ่งกว่า เอกสารมหาบุรุษเขมรจึงมีส่วนอย่างสำคัญในการรวบรวมผู้น้อยให้เข้ามาอยู่ร่วมกันกับผู้ใหญ่ในชาติเดียวกัน สอดรับกับอุดมการณ์แบบพุทธิกสังคมนิยมที่ดำรงอยู่ในสมัยสังคมราษฎร์นิยมอันเป็นช่วงเวลาที่มีการเรียบเรียงชำระเอกสารมหาบุรุษเขมร
Other Abstract: Cambodian nationalism, which was the inspiration for writing history, consisted of "nationalism of the king" and "nationalism of the people." Generally, "nationalism of the king" was more powerful than that of the people. Therefore, modern historical writings as an important tool for nation building usually portrayed only the picture of the kings and excluded the people from the nation that was constructed. Ekasar Mahaburus Khmaer (Documents of the Great Khmer Figures), written by Eng Soth and first published in 1969, was a modern historical writing created from these two kinds of nationalism. This book told both the stories of the kings and the ordinary people. In some parts, the people even played more outstanding role than the monarchs. Ekasar Mahaburus Khmaer was important in terms of including the people in the nation. And this was influenced by the concept of Buddhist Socialism, the political ideology of the Sangkum Reastr Niyum period when the book was written.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2729
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1039
ISBN: 9741767544
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1039
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thibodi.pdf35.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.