Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27406
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดด้านเหตุผลเชิงถ้อยคำ จำนวน เหตุผลเชิงนามธรรม ความสัมพันธ์เชิงมิติ การเรียงลำดับอักษร และแผนภาพ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นปีที่ 3 ในเรียนอาชีวศึกษา
Other Titles: Relationships between verbal reasoning, numerical ability, abstract reasoning, space relation, letter series and diagramming, and learning achievement in computer of third year students in vocational schools
Authors: สุวรรณ์ สถลชา
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
ไกรวิชิต ตันติเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบ 6 ฉบับคือแบบทดสอบความถนัดด้านเหตุผลเชิงถ้อยคำด้านจำนวน ด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ด้านความสัมพันธ์เชิงมิติ การเรียงลำดับตัวอักษรแลแผนภาพ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์ (2) ศึกษาแบบทดสอบทั้ง 6 ฉบับร่วมกัน และเปรียบเทียบแบบทดสอบแต่ละฉบับในการมีส่วนทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) สร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับ ปวช. ชั้นปีที่3 จากโรงเรียนโยนออฟอาร์คพณิชยการ จำนวน 124 คน โรงเรียนเทคนิคศรีวัฒนา จำนวน 142 คนและนักเรียนระดับปวส. ชั้นปีที่ 1 จากโรงเรียนเซนต์จอห์นเทคนิคกรุงเทพจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบความถนัดด้นเหตุผลเชิงถ้อยคำ แบบทดสอบความถนัดด้านจำนวน แบบทดสอบความถนัดด้านเหตุผลเชิงนามธรรม แบบทดสอบความถนัดด้านความสัมพันธ์เชิงมิติ แบบทดสอบการเรียบลำดับตัวอักษร และแบบทดสอบแผนภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบใช้ตัวแปรทุกตัวและแบบสเต็บไวส์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวทำนายกับตัวเกณฑ์แต่ละคู่ของทั้ง 3 โรงเรียนที่ศึกษา มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.1704 ถึง 0.6973 2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบทั้ง 6 ฉบับร่วมกัน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของทั้ง 3 โรงเรียนที่ศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณอยู่ระหว่าง 0.6266 ถึง 0.7924 3. เปรียบเทียบความสำคัญของตัวทำนายในการมีส่วนทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานเป็นหลักในการพิจารณาและใช้ตัวทำนายทั้ง 6 ตัวร่วมกันทำนาย เรียงตามลำดับความสำคัญของตัวทำนายที่มีนัยสำคัญทางสถิติจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ โรงเรียนโยนออฟอาร์คพณิชยการ เรียงลำดับได้ดังนี้ แบบทดสอบความถนัดด้านเหตุผลเชิงนามธรรม แบบทดสอบแผนภาพ แบบทดสอบการเรียงลำดับตัวอักษรและแบบทดสอบความถนัดด้านจำนวน โรงเรียนเทคนิคศรีวัฒนาเรียงลำดับได้ดังนี้ แบบทดสอบความถนัดด้านเหตุผลเชิงนามธรรม แบบทดสอบแผนภาพ และแบบทดสอบความถนัดด้านจำนวนโรงเรียนเซนต์จอห์นเทคนิคกรุงเทพ เรียงลำดับได้ดังนี้ แบบทดสอบแผนภาพ และแบบทดสอบการเรียงลำดับตัวอักษร
Other Abstract: The purposes of this study were : (1) to investigate the relationship between six aptitude tests : verbal reasoning, numerical ability, abstract reasoning, space relation, letter series and diagramming, and learning achievement in computer ; (2) to study the six aptitude tests and compare each of them in the cabability to predict the learning achievement in computer : (3) to construct the multiple regression equations for predicting learning achievement in computer. The samples were 124 third year students from St. Joan of Arc’s Commercial School, 142 third year students from Sriwattana Technical college and 120 first year students from St. John Technical College. The instruments used for collecting data were the six aptitude test. The data were analyzed by using Pearson’s Product Moment Correlation, Multiple Correlation, Enter Multiple Regression and Stepwise Multiple Regression. The major findings were as follow :- 1. There were significant positive correlations at the .05 level between each pair of predictor and criterion from three schools. The coefficient of correlations were form 0.1704 to 0.6973. 2. There were significant positive multiple correlations at the .01 level between scores from the six aptitude tests and learning achievement in computer. The coefficient of multiple correlations were form 0.6266 to 0.7924. 3. The six predictors were compared by using Beta - Weight of multiple regression equation. The significant predictors were ranked from the maximum Beta – Weight to minimum Beta – Weight :ST.Joan of Arc’s Commercial School were abstract reasoning, diagramming, letter series and numerical ability Sriwattana Technicial College were abstract reasoning, diagramming and numerical ability. St. John Technicial college were diagramming and letter series.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27406
ISBN: 9745644609
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwan_Sa_front.pdf520.28 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Sa_ch1.pdf629.02 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Sa_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Suwan_Sa_ch3.pdf794.39 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Sa_ch4.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Suwan_Sa_ch5.pdf676.78 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Sa_back.pdf858.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.