Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27418
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวีศักดิ์ กรีฑานันทร์ | |
dc.contributor.author | สุวรรณา รจิตชีพิต | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-09T08:21:47Z | |
dc.date.available | 2012-12-09T08:21:47Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745664871 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27418 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | สหกรณ์โคนมเป็นสหกรณ์รูปหนึ่งที่จัดอยู่ในประเภทสหกรณ์การเกษตร ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมกลุ่มของสมาชิกผู้มีอาชีพเลี้ยงโคนม เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรวบรวมนมดิบจากสมาชิกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมออกจำหน่าย จัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย ตลอดจนการให้บริการอื่นๆ ในอันที่จะช่วยส่งเสริมและเผยแพร่อาชีพการเลี้ยงโคนมให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้าต่อไป เนื่องจากมีการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ หลายด้านตามที่กล่าวมา จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมให้ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์และนโยบายของสหกรณ์ แต่เท่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สหกรณ์โคนมส่วนใหญ่ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร และประสบปัญหาด้านการดำเนินธุรกิจอยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ยังไม่ดีพอ เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานของคณะกรรมการดำเนินการ หรือพนักงานสหกรณ์บางส่วนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องเหมาะสมตามที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้อาจะเกิดจากสมาชิกขาดความรู้และความสนใจในการดำเนินงานของสหกรณ์ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอการประเมินผลการควบคุมภายในของสหกรณ์โคนมเกี่ยวกับธุรกิจด้านต่างๆ ที่สหกรณ์ดำเนินการอยู่ โดยเลือกศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมภายในของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ซึ่งจัดว่าเป็นสหกรณ์โคนมที่ใหญ่ที่สุดในจำนวนสหกรณ์โคนมทั้งหมดทั่วประเทศซึ่งมี 14 แห่งและเป็นสหกรณ์ที่มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจครบทุกด้าน คือ ธุรกิจเครดิต ธุรกิจการซื้อ ธุรกิจการขาย และธุรกิจการส่งเสริม และเผยแพร่การเกษตร สำหรับวิธีการศึกษาก็ได้ใช้การสังเกตและสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด รวมทั้งการสอบถามข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสหกรณ์แห่งนี้ ได้แก่ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ประจำสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดราชบุรีที่ทำหน้าที่กำกับแนะนำด้านการเงินการบัญชีให้แก่สหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกส่วนหนึ่งได้จากรายงานการสอบบัญชีประจำปี และสรุปผลการตรวจสอบบัญชีระหว่างปีของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ซึ่งได้มาจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในของสหกรณ์ เช่น ระเบียบและข้อบังคับของสหกรณ์ รายงานการประชุม คำสั่งและคำแนะนำวิธีปฏิบัติงานจากหน่วยราชการที่ทำหน้าที่ควบคุมสหกรณ์ ฯลฯ แล้วจึงทำการประเมินผลเพื่อดูว่าสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด มีการควบคุมภายในของธุรกิจแต่ละด้านเป็นอย่างไรและยังมีปัญหาเกิดขึ้นในแต่ละธุรกิจนั้นหรือไม่ ผลจากการศึกษาพบว่าสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด มีระบบการควบคุมภายในส่วนใหญ่เป็นไปตามลักษณะของการควบคุมภายในที่ดี ได้แก่ การมีผังจัดแบ่งส่วนงาน และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มีนโยบายและวิธีปฏิบัติงาน มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานตลอดจนการจดบันทึกและรายงาน แต่ยังขาดด้านกาตรวจสอบภายใน และถึงแม้จะมีการกำหนดวิธีการควบคุมภายในตามลักษณะดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฎว่ายังมีปัญหาเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจแต่ละด้าน โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานและความเอาใจใส่ดูแลของคณะกรรมการ การขาดแคลนพนักงานในบางแผนกและพนักงานบางคนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่งคำแนะนำต่างๆ ของหน่วยราชการที่ควบคุม ตลอดจนขาดการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมคณะกรรมการ พนักงาน รวมทั้งสมาชิก เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เข้าใจในภาระหน้าที่ของตนให้ดีขึ้นอันจะช่วยส่งเสริมให้ทุกฝ่ายร่วมมือประสานงานกันเพื่อความเจริญก้าวหน้าองสหกรณ์โคนม จากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจแต่ละด้านของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ไว้แล้ว แต่ทั้งนี้แนวทางและข้อเสนอแนะต่างๆ จะสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการควบคุมภายในของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ได้เพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะมีผลกระทบ เช่น โครงสร้างองค์การ การควบคุมดูแลของฝ่ายบริหาร และบุคลากร นอกจากนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับข้อจำกัดต่างๆ เช่น ความร่วมมือของฝ่ายบริหารและทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรณีศึกษาการควบคุมภายในของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่แสดงไว้นี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด เองแล้ว สหกรณ์โคนมแห่งอื่นๆ ก็สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการควบคุมการดำเนินธุรกิจได้ อีกทั้งอาจเป็นประโยชน์ต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสหกรณ์โคนม เพื่อใช้ศึกษาและปฏิบัติงานควบคุมตลอดจนกำหนดแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือและประสานงานกับสหกรณ์โคนมให้ได้ผลดีต่อไป | |
dc.description.abstractalternative | Dairy Co-operative is one type of agricultural co-operatives, formed by groups of members that engage in dairy farming. The objectives of the co-operative are to carry out the business of collecting row milk from members and turning them into dairy products for sale, supply commodities to members, and provide services that day help to promote the progress and stability in dairy farming. Because of several activities as stated, it is necessary to control the operation of Dairy Co-operatives in order that it will be incongruence with the objectives and policies of the co-operatives. At the present time, most co-operatives have not attained the required level of growth and always face many problems during their operation. These may be due to the inadequacy of internal central system, the lack of knowledge and understanding of administrative techniques of the executive committees, the inability of employees to properly perform their duties and functions, and the lack of Knowledge and interest in the operation of co-operatives member. This research, therefore, offers an evaluation of the internal control of Dairy Co-operatives in so far as it concerns with their business activities. Selected study is the internal control of Nong Pho Dairy Co-operative (Under the Royal Patronage) in Rajchaburi which is the largest of the 14 existing Dairy Co-operatives in the country conducting a rather comprehensive business activities consisting of credit granting, purchasing, selling, and agricultural promotion and diffusion. The research methods used are personal observation, interviewing the executives and employees of Nong Pho Dairy co-operative and also the outsiders who were involving in its operation such as the Co-operative auditors, the Co-operative Auditing Department’s officials at the Provincial Co-operative Auditing Office in Rajchaburi being responsible for supervising and advising the Co-operative on its financial and accounting affairs, and the Co-operative on its financial and accounting affairs, and the Co-operative on its financial and accounting affairs, and the Co-operative Promotion Department’s officers. Additional data are also extracted from the auditor’s annual reports as well as periodic auditing reports of Co-operative Auditing Department. Other information is based on relevant documents on the internal control of this Co-operative such as rules and regulations, minutes of meetings, administrative orders and suggestions on the performance of work in the Co-operative. Related documents are obtained from the government agencies who are responsible for the control of Co-operative and from other sources. Evaluation is them made to determine the effectiveness of the Co-operative’s internal control as well as the existing problems in the Co-operative. The study revealers that Nong Pho Dairy Co-operative maintains an appropriate internal control system in general. This consists of an organization chart, division of functions and responsibilities, polices and procedures, work standards, and recording and reporting system. However, there is no internal audit in such system. Even with such appropriate internal control, problems and shortcomings are still present in each business activity conducted by the Co-operative. The problems may be attributable to the lack of administrative knowledge and concern on the part of the Co-operative’s committee, the shortage of manpower in some operating sections, and the failure of some employees to perform the function assigned to them. Other factors contributing to the problems in the Co-operative are the failure of following rules, regulations, and those advices given by the government agencies being responsible for control Co-operatives, as well as the absence of support to conduct training and educational programs for the committees, employees and members in order to help them gain better understanding of their duties which will promote co-operation among the parties concerned for the progress of the Dairy Co-operatives. In the study, the researcher has presented recommendations in connection with guidelines which can be used to solve problem in the conducting of each business activity of Nong Pho Dairy Co-operative. However, whether the guidelines and other suggestions for improving the internal control of the Co-operative will be effective or not, depends on such factors as its organizational structure, supervision and control by executive officials, and personnel. The effectiveness also depends on such limitations as the co-operation from management and the availability of resources. This case study and the guidelines for solving the Co-operative’s problems, besides being beneficial to the administration of Nong Pho Dairy Co-operative, can also be adapted by other Dairy Co-operatives will be useful to the government agencies responsible for the control of Dairy co-operatives in that the agencies may make use of the study and guidelines in exercising better control on the Co-operatives and in formulating their own policies aiming at providing more effective assistance and achieving coordination among the Co-operatives. | |
dc.format.extent | 600636 bytes | |
dc.format.extent | 557595 bytes | |
dc.format.extent | 1688489 bytes | |
dc.format.extent | 1760781 bytes | |
dc.format.extent | 2176241 bytes | |
dc.format.extent | 1921984 bytes | |
dc.format.extent | 1136093 bytes | |
dc.format.extent | 3670521 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การควบคุมภายในของสหกรณ์โคนม : กรณีศึกษาของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด | en |
dc.title.alternative | Internal control of dairy co-orpratives : case study of Nong Pho dairy co-operative (under the royal patronage) | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwanna_Ra_front.pdf | 586.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_ch1.pdf | 544.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_ch2.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_ch3.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_ch4.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_ch5.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_ch6.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Ra_back.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.