Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27436
Title: การผลิตและการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย ประเภทเครื่องจักสานไม้ไผ่-หวาย
Other Titles: Production and promotion of Thai handicrafts, wickerwork-bamboo and rattan
Authors: สุวรรณี ทัศนาภิรมย์
Advisors: โพธิ์ทอง แก้วสุทธิ
สุกาญจนา ลิมปิสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สินค้าหัตถกรรมไทย เป็นสินค้าที่มีบทบาทต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทย กล่าวคือ ในด้านเศรษฐกิจ สินค้าหัตกรรไทยเป็นสินค้าออกที่สำคัญรายการหนึ่ง ในปี 2524 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าหัตถกรรมไทยประมาณ 6000 ล้านบาท ในด้านสังคม การผลิตและการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย ทำให้คนมีงานทำลดปัญหาการว่างงาน มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ด้วยความสำคัญของสินค้าหัตถกรรมไทยดังกล่าวนี้ ทำให้รัฐบาลกำหนดนโยบายการส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมไทย ซึ่งได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาความเป็นมาของเครื่องจักสานประเภทไม้ไผ่หวาย สำรวจสภาพและแนวโน้มการผลิตและการส่งเสริมการจำหน่ายเครื่องจักสาน รวมทั้งการส่งเสริมของภาครัฐบาล โดยแบ่งประเภทกิจกรรมออกเป็นทางด้าน เทคนิควิชาการผลิต การเงิน สิทธิพิเศษในการลงทุน การตลาดและการส่งออก หน่วยงานภาครัฐบาลที่เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาและค้นคว้า ได้แก่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพาณิชย์สัมพันธ์ กรมพัฒนาชุมชน กรมการค้าต่างประเทศ กรมศุลกากร เป็นต้น วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้บริหารในหน่วยงานดังกล่าว รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสอบถามผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทยประเภทเครื่องจักสานโดยใช้แบบสอบถาม จากการศึกษาวิจัยพบว่า เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมประเภทเครื่องใช้ที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของชาวชนบทมาช้านานนับร้อยๆ ปีแล้วเครื่องจักสานของไทยแต่ละภาคมีเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป ตามสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น หน้าที่ในการใช้สอย การใช้วัสดุ และคตินิยมของท้องถิ่นนั้นๆ การผลิตเครื่องจักสานมีขั้นตอน มีหลักเกณฑ์เฉพาะตนที่สามารถนำมาวิเคราะห์ในเชิงศิลปได้ มีลักษณะการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นส่วนใหญ่ โดยการบอกกล่าวสอนกันด้วยปากและการฝึกฝนด้วยตนเอง จึงทำให้เครื่องจักสานมีการพัฒนาไปอย่างช้า แม้ในปัจจุบันจะมีการฝึกอบรมการทำเครื่องจักสานให้แก่ชาวชนบท โดยหน่วยงานที่ส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมบ้างก็ตามแต่ก็มีเพียงส่วนน้อย และยังขาดวิธีการที่ถูกต้อง จึงยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร จากการสำรวจพบว่า ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องจักสานหลายประเภทกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนจะมีการผลิตค่อนข้างมาก ทั้งที่ทำขึ้นใช้ในครัวเรือน ผลิตจำหน่ายเป็นอาชีพหลักและอาชีพรอง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ารายได้จากการผลิตเครื่องจักสานนั้นค่อนข้างต่ำ ในด้านรูปแบบของเครื่องจักสานส่วนใหญ่ยังคงอาศัยรูปแบบพื้นบ้านดั้งเดิมเป็นหลักแต่มีหลายท้องถิ่นถูกอิทธิพลทางเศรษฐกิจและกระแสวัฒนธรรมต่างถิ่นเข้าไปเปลี่ยนแปลงทำให้รูปแบบของเครื่องจักสานเปลี่ยนไปและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาด การส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมไทยของหน่วยงานภาครัฐบาลยังมีข้อบกพร่อง กล่าวคือ การเผยแพร่กิจกรรมการส่งเสริมในด้านต่างๆ ดังกล่าวไว้แล้วของหน่วยงานภาครัฐบาลยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องงบประมาณ คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ยังไม่เหมาะสม และขาดข้อมูลทางการตลาดที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้การส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐบาลบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมนี้ ควรจะได้พิจารณาและให้ความสำคัญกับงบประมาณในการส่งเสริมโดยจัดสรรให้มากยิ่งขึ้น จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทำการส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เพียงพอ สำรวจ ศึกษา วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดเกี่ยวกับสินค้าหัตถกรรมไทยให้แก่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอยู่เสมอ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในการส่งเสริมเพื่อให้ธุรกิจผู้ประกอบการได้เข้ารับการส่งเสริมและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ตรงกับความต้องการ
Other Abstract: Thai handicraft products play a significant role in the social and economic development of the country. In the economic aspect, they were one of 1981’s main export products, totaling about 6 billion (6,000,000,000) baht in export value while in the social aspect, production and sales of handcraft products help reduce unemployment and improve the standards of living. The government therefore put forth a handicraft promotional policy in the National Economic and Social Development Plan, beginning in 1967. This research aims at studying the development of bamboo and rattan wickerwork and at examining both the status and trend in its production and sales promotion, including the government sector’s promotional activities, namely these activities on the manufacturing techniques, on financing and investment privileges, on marketing and exporting. The author received information from the Department of Industrial Promotion, the Department of Commercial Relations, the Department of Community Development, the Department of foreign Trade, and the Department of Customs, and interviewed administrators in these agencies collected information from related documents, and used questionnaires to obtain specific answers from wickerwork entrepreneurs. It was found that wickerwork have been a principal and indispensable art and tool type of handicraft to Thai rural people for hundreds of years. Each region’s type of wickerwork possesses a unique and characteristic identity, depending on geographical factors, purposes of usage, raw material use , and on the traditional folklore. Production of wickerwork consists in unique procedures and principles which can be analyzed in terms of art. There procedures and principles are generally transmitted from generation the generation in the form of verbal instruction and self-practice, which explains the slow development of wickerwork as a whole. Although certain government agencies, in their effort to promote handicrafts, have provided training in wickerwork technique to rural people, these were only a small portion of the population. Besides, some techniques taught are still incorrect. These reasons partially explain the unsatisfactory progress of the trade. The survey revealed that production of various types of wickerwork is done in various parts of the country, particularly where raw materials are abundant; here the quantity manufactured is normally large, including products for household and commercial uses (both as major and minor occupations). It is interesting to note that the income from selling wickerwork products has been rather low. Traditional forms and patterns still prevail nowadays in wickerwork, while in some regions the forms and patterns have been modified and innovated to suit market demand affected by foreign economic and cultural influences. Government agencies’ efforts to promote handicraft products are still less than satisfactory, i.e. propagation of promotional activities has not been extensive enough owing to budgetary problems, lack of qualified personnel and lack of appropriate marketing information, etc. To enable governmental agencies to attain their goals in promoting handicraft products, the government ought to give the industry some serious consideration and allocate a more substantial budgetary portion for promotional purposes. The government should also provide adequate training for the promotional officials, survey, study and analyze marketing information on handicraft products, and regularly feed it to the producers and sellers, as well as publicize its promotional activities so that all participating entrepreneurs can benefit to the extent desired.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27436
ISBN: 9745626503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannee_Tu_front.pdf549.23 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch1.pdf374.62 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch2.pdf417.38 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch3.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch5.pdf807.01 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch6.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch7.pdf478.32 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_ch8.pdf839.45 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_Tu_back.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.