Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27440
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดุษฎี ทายตะคุ | |
dc.contributor.author | สุวัฒน์ คุ้มวงษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-10T15:13:14Z | |
dc.date.available | 2012-12-10T15:13:14Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27440 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าพันปีของประเทศไทย บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติอย่างมากมาย แต่มาในยุคปัจจุบันเป็นยุคของความเสื่อมโทรมในด้านนี้อย่างมาก โบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากถูกทำลายลง ทั้งโดยธรรมชาติความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนรุ่นหลัง และการปล่อยปละละเลยไม่บูรณะดูแลรักษา จากปัญหานี้ แผนการทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525 – 2529) จึงตั้งเป้าหมายไว้ว่า ให้ประชากรโดยเฉพาะในเขตเมืองทั่วประเทศประมาณ 8 ล้านคน มีความสำนึกในการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง คุ้มครองรักษา และหวงแหนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไว้ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในความเป็นชาติที่มีเอกราชมาช้านาน เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นชุมชนเมืองซึ่งประกอบด้วยบริเวณโบราณสถานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของไทยในอดีต ในปัจจุบันตกอยู่ในสภาพปัญหาดังกล่าว โดยเกิดความขัดแย้งกันระหว่างการใช้ที่ดิน 50%เป็น Static function ได้แก่ บริเวณโบราณสถานที่ว่าง ถนน แม่น้ำลำคลอง กับอีก 50% เป็น Dynamic function ได้แก่ การใช้ที่ดินทางเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอยู่ทุกขณะ ได้แก่ บริเวณพักอาศัย บริเวณพาณิชยกรรม และ บริเวณอุตสาหกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงสภาพในอดีตและปัจจุบัน คุณค่าความสำคัญ และปัญหาของบริเวณโบราณสถาน เพื่อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์พัฒนาบริเวณโบราณสถาน และผลนำจากการศึกษาไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาเมือง โดยมีขั้นตอนในการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น การสำรวจบริเวณโบราณสถานในพื้นที่ศึกษา การศึกษาวิเคราะห์สภาพโบราณสถาน ความสัมพันธ์ของบริเวณโบราณกับชุมชนเมืองและปัญหาของบริเวณโบราณสถาน การกำหนดเกณฑ์พิจารณาคุณค่าความสำคัญและระดับการอนุรักษ์และพัฒนา การวางนโยบาย และแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณโบราณสถาน รวมทั้งกำหนดมาตรการในการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน จากการศึกษาพบว่า เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยาและบริเวณเกี่ยวเนื่องมีโบราณสถานเป็นจำนวนถึง 188 แห่ง ทำให้หน่วยงานของรัฐไม่มีงบประมาณพอที่จะดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนา ทั้งในด้านการบูรณะ ดูแลรักษา และการปลูกฝังค่านิยมที่ดีแก่ประชาชน ในขณะเดียวกัน การขยายตัวของเมืองซึ่งเกิดจากเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมก็บีบบังคับให้ประชาชนไม่ใส่ใจในบริเวณโบราณสถาน เป็นผลให้โบราณสถานถูกประชิด บุกรุก และถูกทำลาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบไปถึงการท่องเที่ยวซึ่งขึ้นอยู่กับบริเวณโบราณสถานเป็นสำคัญ นโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณโบราณสถานจึงควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและแบ่งเบาภาระการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณโบราณสถานจากหน่วยงานของรัฐ โดยมีแนวทางและมาตรการแบ่งออกเป็น 7 แนวทาง คือ 1. การให้การศึกษาประชาสัมพันธ์เผยแพร่ การอนุรักษ์โบราณสถาน 2. การแบ่งกลุ่มโบราณสถาน ตามระดับคุณค่าความสำคัญ และระดับการได้รับการอนุรักษ์พัฒนา 3. การจัดระเบียบการใช้ที่ดิน และสภาพแวดล้อมชุมชน 4. การส่งเสริมกิจกรรมประเพณี และศิลปวัฒนธรรม 5. การจัดระบบสาธารณูปโภค, สาธารณูปการ 6. การจัดระบบการท่องเที่ยว 7. ข้อเสนอแนะการอนุรักษ์พัฒนาย่านโบราณสถาน 7 บริเวณ ได้แก่ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ บริเวณบ้านสวน บริเวณอโยธยาตอนเหนือ บริเวณอโยธยาตอนใต้ บริเวณคลองสระบัว บริเวณย่านพาณิชยกรรมหัวรอ และบริเวณโบราณสถานตามลำน้ำสายต่างๆ การศึกษาทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนอนุรักษ์พัฒนาบริเวณโบราณสถาน และนำไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพัฒนาเทศบาลเมืองนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี | |
dc.description.abstractalternative | More than a thousand years of the national history, Thailand has built up its own distinct culture and works of art. Some of these historical works of art are still remain to be evidenced in the present day. Apart form the educational value, they also represent the national pride. Never theless, it is sad to find out that some of them are left to remain in the run down conditions and unprotected. Ignorance and carelessness of the people in the present generation are partly to be blamed . Realizing the urgent need to deal with the problem effectively, the government has put forward the strategy for conservation in the Fifth National Social and Development Plan, aiming to inject the eight million people in the urban area the consciousness of conservation. Phra Nakhon Si Ayutthaya Municipality is the classical case of the linkage between the past and the present, the living community among traquilruines. Impressed by this striking characteristic, this study aims at presenting a guideline for urban development for the living people while keeping the most of these ruins undisturbed. The study reveals that the municipality of A consists of 188 archeological sites. Urban growth and increasing number of population have led to the invasion of these archeological sites which, in turn, brought about the conflict in land uses. This problem also has the impact on the tourism promotion in A. The government alone do not have enough budget and manpower to cope with all of these problems. This is why the strategy of community participation in the conservation is seen as an effective solution to help alleviate the government responsibility. The recommendations for development are devided into 7 categories as follow; 1. Using public relation as the mean to educate people about conservation. 2. The ranking of the archeological sites according to its importance and the need for development. 3. The organization of landuse and environment. 4. Art and cultural promotion 5. The organization of public facilities and utilities. 6. The organization of tourism 7. The recommendation for development of 7 archcological sites which are; the site of historical park, Ban Suan Area, the North and the south of Ayothaya area, Klong Sraboa Area, Commercial area at Hua Raw and the archcological sites along the water ways. | |
dc.format.extent | 557803 bytes | |
dc.format.extent | 376976 bytes | |
dc.format.extent | 372232 bytes | |
dc.format.extent | 2361428 bytes | |
dc.format.extent | 1487365 bytes | |
dc.format.extent | 3226388 bytes | |
dc.format.extent | 2261464 bytes | |
dc.format.extent | 911902 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาบริเวณโบราณสถานเพื่อประกอบการวางแผนพัฒนาเมือง เทศบาลเมืองนครศรีอยุธยา | en |
dc.title.alternative | A study of historic areas for their integration into an urban plan : Phra Nakhon Si Ayutthaya municipality | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwat_Ku_front.pdf | 544.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_ch1.pdf | 368.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_ch2.pdf | 363.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_ch3.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_ch4.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_ch5.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_ch6.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwat_Ku_back.pdf | 890.53 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.