Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27451
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วชิราพร อัจฉริยโกศล | |
dc.contributor.author | สุรินทร์ ยิ่งนึก | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-10T17:06:57Z | |
dc.date.available | 2012-12-10T17:06:57Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745664146 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27451 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพกับแบบการคิดในการสร้างมโนทัศน์ประเภทร่วมลักษณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2528 ของโรงเรียนสตรีชัยภูมิ และโรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาโดยให้นักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรทำแบบทดสอบ เดอะ กรุป เอเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสท์ (The Group Embedded Figures Test) เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มตามแบบการคิด คือ ฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ และฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายให้เหลือกลุ่มละ 60 คน จากนั้นได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่มๆ ละ 40 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แต่ละกลุ่มทดลองประกอบด้วยนักเรียนที่มีแบบการคิด ฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ และฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ แบบละ 20 คน จากนั้นสุ่มแต่ละกลุ่มทดลองเข้ารับการเสนอภาพ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการเสนอภาพแบบเดี่ยว แบบพร้อมกัน และแบบเพิ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นภาพสไลด์ชุด 20 ชุด แต่ละชุดจะสอน 1 มโนทัศน์ แต่ละมโนทัศน์ประกอบด้วยภาพตัวอย่าง 4 ภาพ ซึ่งจะถูกนำเสนอในรูปแบบการเสนอภาพที่ต่างกัน 3 รูปแบบ ให้เวลาในการดูภาพๆ ละ 5 วินาที และเขียนค่าของลักษณะเฉพาะของแต่ละมโนทัศน์ลงในกระดาษคำตอบ 15 วินาที รวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการเปรียบเทียบเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพกับแบบการคิดในการสร้างมโนทัศน์ประเภทร่วมลักษณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2. รูปแบบการเสนอภาพแบบเพิ่ม ให้ผลดีกว่ารูปแบบการเสนอภาพแบบพร้อมกัน ในการสร้างมโนทัศน์ประเภทร่วมลักษณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. รูปแบบการเสนอภาพแบบเดี่ยว ให้ผลไม่แตกต่างกับรูปแบบการเสนอภาพแบบเพิ่ม และแบบพร้อมกัน ในการสร้างมโนทัศน์ประเภทร่วมลักษณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. นักเรียนที่มีการคิดฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ สร้างมโนทัศน์ประเภทร่วมลักษณะได้ดีกว่า นักเรียนที่มีแบบการคิดฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the interaction of visual presentation formats and cognitive styles on conjunctive concept formation of Mathayom Suksa Five students. The subjects were one hundred and twenty Mathayom Suksa Five students of Streechaiyapoom School and Maungphayalaewithaya School in academic year of 1985. The individuals cognitive styles labeling field dependence and field independence were determined by the Group Embedded Figures Test (Oltman, Raskin and Witkin 1971). Sixty subjects were randomly selected from each of the two cognitive styles groups : highly field dependent and highly field independent. Twenty field dependent and twenty field independent subjects from each group, then, were randomly assigned into three experimental groups. Each group received different treatments of visual presentation formats : single-image, multi-image and addition-image. The materials used in this research was a series of twenty slide sets. Each set composed of four pictures was represented one conjunctive concept. The subjects were allowed 20 seconds to view one set of picture and 15 seconds to respond. The collected data were analized by means of Two-Way Analysis of Variance. The pairwise differences were tested by Sheffe Method. The results of the study were as follows : 1. There was no statistical significant interaction between visual presentation formats and cognitive styles on conjunctive concept formation. 2. Addition-image presentation format was found to be superior to multi-image presentation format on conjunctive concept formation at the .05 level of confidence. 3. There was no significant difference between neither single-image to addition-image presentation format nor single-image to multi-image presentation format on conjunctive concept formation. 4. The field independent subjects performed the conjunctive concept task significantly better than the field dependent subjects at the .01 level of confidence. | |
dc.format.extent | 421930 bytes | |
dc.format.extent | 487177 bytes | |
dc.format.extent | 1072241 bytes | |
dc.format.extent | 379524 bytes | |
dc.format.extent | 467280 bytes | |
dc.format.extent | 543994 bytes | |
dc.format.extent | 439711 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพกับแบบการคิด ในการสร้างมโนทัศน์ประเภทร่วมลักษณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 | en |
dc.title.alternative | An interaction of visual presentation formats and cognitive styles on conjunctive concept formation of mathayom suksa five students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surin_Yi_front.pdf | 412.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surin_Yi_ch1.pdf | 475.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surin_Yi_ch2.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surin_Yi_ch3.pdf | 370.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surin_Yi_ch4.pdf | 456.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surin_Yi_ch5.pdf | 531.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surin_Yi_back.pdf | 429.41 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.