Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27546
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรเพชร วิชิตชลชัย | |
dc.contributor.advisor | มุรธา วัฒนะชีวะกุล | |
dc.contributor.author | วินัย ตูวิเชียร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-11T16:13:18Z | |
dc.date.available | 2012-12-11T16:13:18Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745608017 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27546 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | ปัญหาเรื่องการละเมิดอำนาจศาล เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานาน และยังคงเป็นปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้จนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีในศาลนั้น จะต้องมีหลักประกันว่าในการดำเนินคดี เขามีสิทธิเต็มที่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ปลอดจากความหวาดหวั่นว่าจะถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล ถ้าศาลใช้อำนาจลงโทษโดยไม่เป็นธรรมปราศจากเหตุผลและขาดการไตร่ตรอง โดยคำนึงความสะดวกสบายของศาลแต่เพียงฝ่ายเดียวแล้ว สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการดำเนินคดีจะถูกสกัดกั้นโดยสิ้นเชิง และผลสุดท้ายประชาชนทั่วไปอาจเสื่อมความเคารพนับถือ และขาดความศรัทธาต่อสถาบันศาลยุติธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องคำนึงถึงศาล ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเป็นประธานการพิจารณาคดีและรักษาความสบเรียบร้อยในศาล เพื่อให้การดำเนินคดีสำเร็จไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว บริสุทธิ์ ยุติธรรม จึงต้องบัญญัติกฎหมายให้อำนาจศาลในการที่จะลงโทษจำคุก ปรับ หรือด้วยวิธีการอื่นๆ แก่ผู้ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามศักดิ์ศรี หรือรบกวนขัดขวางการพิจารณาคดีของศาลได้ด้วย ฉะนั้น บทบัญญัติเรื่องการละเมิดอำนาจศาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือของศาล แต่บทบัญญัติเรื่องการละเมิดอำนาจศาลในปัจจุบัน ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากทนายความว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เพราะตัวบทกฎหมายและการใช้อำนาจลงโทษของศาลไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจนก่อให้เกิดความเสียหาย อันเป็นการกีดกั้นสิทธิเสรีภาพในการดำเนินคดีของประชาชน ขัดต่อหลักนิติธรรมที่ศาลผู้ถูกกระทำละเมิดสั่งลงโทษได้เอง กระทำความผิดครั้งเดียวถูกลงโทษสองซ้ำ และศาลใช้อำนาจลงโทษโดยขาดวิจารณญาน ทำให้เหลิงอำนาจ จึงได้เรียกร้องให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และอำนาจการพิจารณาและสั่งลงโทษให้แน่ชัด รวมทั้งยกเลิกโทษจำคุกด้วย จากการศึกษาปัญหาเรื่องการละเมิดอำนาจศาล ได้แบ่งหลักเกณฑ์การละเมิดอำนาจศาลออกเป็น 4 ประเภท คือ การละเมิดอำนาจศาลทางอาญา การละเมิดอำนาจศาลทางแพ่ง การละเมิดอำนาจศาลโดยตรง และการละเมิดอำนาจศาลโดยอ้อม และกำหนดอำนาจการพิจารณาและสั่งลงโทษไว้ 2 วิธี คือ กระบวนการพิจารณาและสั่งลงโทษ การละเมิดอำนาจศาลโดยตรงกับกระบวนการพิจารณาและสั่งลงโทษการละเมิดอำนาจศาลโดยอ้อม หลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ กฎหมายของไทยบัญญัติไว้ไม่แน่ชัด คงปล่อยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลฝ่ายเดียว จึงควรจะได้พิจารณาแก้ไขในเรื่องนี้ให้แน่ชัด ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีแก่ศาล จะได้ใช้หลักเกณฑ์และอำนาจได้ถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น สำหรับประชาชนผู้เกี่ยวข้องก็จะได้รับหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพในการดำเนินคดีมากขึ้น ส่วนข้อเรียกร้องให้ยกเลิกโทษจำคุก สมควรจะได้พิจารณาไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนว่า มีเหตุผลสมควรเพียงใด เพราะการดำเนินคดีในศาล บุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีความสำนึกและรับผิดชอบต่อการกระทำใดๆ ต่อศาล ซึ่งกระทำการพิจารณาพิพากษาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ถ้าปรากฏว่าผู้เกี่ยวข้องไม่มีความสำนึกและรับผิดชอบ ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นในระหว่างการพิจารณาคดี และศาลใช้ความอดทน สุขุม รอบคอบแล้ว ก็ไม่สามารถระงับเหตุร้ายได้ การยกเลิกโทษจำคุกก็ไม่เป็นการเหมาะสม แม้แต่ในต่างประเทศก็มีโทษจำกัดเสรีภาพทำนองเดียวกัน ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะ โดยทำการแก้ไขปรับปรุงตัวบทกฎหมายเรื่องละเมิดอำนาจศาล รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน | |
dc.description.abstractalternative | The question of contempt of court has long been controversial and so far could not be settled. As the question of contempt in directly involved the rights and freedom of every citizen especially one who engages in court proceedings. It is, therefore, necessary to provide the security for any person involved in the proceedings to exercise his full rights, within the limit of Law, without having to fear that he may be held liable for contempt. If the court abuses its power without any reasonable cause and without thorougly considering, in punishing any person for contempt, the rights and freedoms of the citizen would be inevitably jeopadized. It would certainly result in the abatement of prestige and faith of the citizen to the court. However, the contempt of court should remain as a measure of deterrent because it is an effective device in keeping law and orders in the courtroom. Presently, this power has been criticized by attorneys who view that it is unjust because there is no definite Furthermore, the imposition of contempt of court, in most of the attorneys’ view, is an unjust Law, It is-also contrarary to the rule of law in the sense that contempt of court against the court is decide by the same institution. It goes without saying that one who has the power always abuses his power, therefore, attorneys request the court to impose the definite guideline in deciding the question of contempt of court as well as to repeal the term of imprisonment for contempt. From this study , contempt of court can be divied into four categories. ( 1) criminal contempt. (2) civil contempt; (3) direct contempt; and (4) indirect contempt. The proceedure of which can be categorized into: (1) the proceeding and punishment of direct contempt, and (2) the proceeding and punishment of indirect contempt. In Thai law, there is no definite guideline concerning the contempt of court and it is left up tfi the court's own discretion. Therefore it is appropriate that such remedy be maintained. The purpose of this thesis is to recommend the revision and amendment of the law pertaining contempt of court and to inform the authorities concerned to reform the proceedures to suit the present contemporary. | |
dc.format.extent | 586993 bytes | |
dc.format.extent | 1337377 bytes | |
dc.format.extent | 2003134 bytes | |
dc.format.extent | 3458443 bytes | |
dc.format.extent | 1635268 bytes | |
dc.format.extent | 877640 bytes | |
dc.format.extent | 242968 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การละเมิดอำนาจศาล | |
dc.subject | Contempt of court | |
dc.title | ละเมิดอำนาจศาล | en |
dc.title.alternative | Contempt of court | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vinai_Tu_front.pdf | 573.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vinai_Tu_ch1.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vinai_Tu_ch2.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vinai_Tu_ch3.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vinai_Tu_ch4.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vinai_Tu_ch5.pdf | 857.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vinai_Tu_back.pdf | 237.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.