Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27575
Title: แนวทางการพัฒนาพื้นที่ดินชายทะเล จังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Preliminary study for the preparation of a master plan for coastal land development of Chanthaburi province
Authors: อรนุช ชินอ่อน
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และ กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เขตพื้นที่ดินชายทะเลจังหวัดจันทบุรี เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่เหมาะสมกับทรัพยากรระบบนิเวศ จำนวนประชากรในอนาคตตลอดจนแนวโน้มและศักยภาพในการพัฒนาของพื้นที่ในระดับตำบล ขอบเขตของพื้นที่ทำการวิจัย มีดังนี้คือ ทิศเหนือ จรด ทางหลวงหมายเลข 3, ทางหลวงหมายเลข 3152 และ 3153 ถนนสายในเชื่อมระหว่างเทศบาลจันทบุรีและเทศบาลอำเภอขลุง ทิศใต้ จรด อ่าวไทย ทิศตะวันตก จรด แม่น้ำเวฬุ ซึ่งเป็นแนวเขตติดต่อกับจังหวัดตราด ทิศตะวันตก จรด แม่น้ำพังราด ซึ่งเป็นแนวเขตติดต่อกับจังหวัดระยอง วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ 1. ค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ในรูปของบทความและแผนภูมิ ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรท่องเที่ยว รวมทั้งข้อมูลด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ คำบอกเล่า การสัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลในระดับท้องถิ่น 2. วิเคราะห์ข้อมูล โดยการกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่พัฒนาเปรียบเทียบวิวัฒนาการของการใช้พื้นที่ดินชายทะเลจังหวัดจันทบุรี สภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความต้องการและความเหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่ดินชายทะเลดังกล่าวเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินชายทะเลจังหวัดจันทบุรี 3. การวิจัยนี้ได้อาศัยแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ 1) แนวความคิดในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ดินชายทะเล 2) แนวความคิดในการอนุรักษ์ธรรมชาติเขตพื้นที่ดินชายทะเล 3) แนวความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของป่าชายเลนในประเทศไทย 4) แนวความคิดทฤษฎีย่านกลาง (Central Place Theory) 5) แนวความคิดเทคนิคการวิเคราะห์พื้นที่แบบ Sieve Analysis หรือ Sieve Mapping ผลสรุปของการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ดินชายทะเลจังหวัดจันทบุรี โดยการกำหนดกรอบการใช้ที่ดินซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและคุณสมบัติของพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่สำคัญ คือการเพาะปลูก การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง และการประมง โดยมีแนวทางการใช้พื้นที่ดังนี้ คือ บริเวณใกล้ทางหลวงหมายเลข 3 พื้นที่ส่วนใหญ่ควรปลูกผลไม้ พื้นที่-ใกล้เคียงชายทะเล และพื้นที่ที่เป็นกรดจัดปลูกพืชประเภท มะพร้าว สน มะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ พื้นที่ตอนกลางปลูกยางพาราและข้าว พื้นที่เกษตรกรรมเหล่านี้มีศักยภาพในการพัฒนาการระบบชลประทานได้ในรูปแบบของการสร้างคันดินและประตูปิดเปิดเพื่อกันการรุกของน้ำเค็ม และเพื่อเก็บกักน้ำจืดไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างแหล่งเก็บน้ำในบริเวณเพาะปลูก สำหรับพื้นที่ลอนลาดควรปลูกพืชวางแนวระดับ เพื่อป้องกันการกัดเซาะดินและเพื่อการใช้น้ำในการเพาะปลูกได้นานขึ้น พื้นที่เพาะปลูกในที่ราบควรจัดขนาดแปลงให้เท่ากันและปรับระดับพื้นที่ให้เท่ากัน เพื่อการเก็บน้ำ สะดวกในการเพาะปลูกและการดูแลรักษาพืช พื้นที่ป่าชายเลน วางมาตรการควบคุมบุกรุกทำลายป่าอย่างเคร่งครัด ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ส่งเสริมชุมชนศูนย์กลางที่มีแนวโน้มในการพัฒนาให้เป็น “ย่านกลาง” ในบริเวณพื้นที่ห่างไกล ขยายโครงข่ายสาธารณูปโภคกลางไปสู่พื้นที่ชนบทให้ทั่วถึง ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ดินชายทะเลจังหวัดจันทบุรีอย่างเต็มที่
Other Abstract: This thesis presents the preliminary study for the preparation of a Master plan for coastal land development of Chanthaburi province for the best utility of natural resources relate to the environment and the ecosystem. The boundary of the study area is in the site between the Sukhumwit road no. 3, 3152 and 3153 ; the Gulf of Thailand ; Phangrat river ; Welu river The methods of study are 1. Data collection 2. Data analization 3. Using the concerning theories for Coastal Zone planning. Conclusion of the study is that the development plan for the Coastal Zone of Chanthaburi province is to present land use framework relate to the environment and the land characteristics. The important utilities are agriculture, the coastal fisheries, and Fisheries. Near the main road number 3, the plant should be fruits ; near the shore should be plants like coconut ; and in the middle area should be rice. Strictly conservation of the mangrove for the coastal fisheries. Develop the central place and expanding the infrastructure to the rural area. Develop the human beings by managing knowledge and technology for the development of the Coastal Zone of Chanthaburi province.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27575
ISBN: 9745668427
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranuch_Ch_front.pdf542.54 kBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch1.pdf481.45 kBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch2.pdf329.02 kBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch5.pdf526.45 kBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch6.pdf773.63 kBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_ch7.pdf379.6 kBAdobe PDFView/Open
Oranuch_Ch_back.pdf295.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.