Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2757
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยนาถ บุนนาค-
dc.contributor.authorดวงพร นพคุณ-
dc.contributor.authorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาประวัติศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภูมิศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาผังเมือง-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2006-09-23T05:35:33Z-
dc.date.available2006-09-23T05:35:33Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2757-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงประวัติความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงของคลองในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบันเมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปีใน พ.ศ. 2525 ทั้งนี้โดยมุ่งศึกษาถึงคลองขุดซี่งมีหลักฐานสนับสนุนพร้อมกับประเมินผลกระทบของความเป็นมา และการเปลี่ยนแปลงของคลองด้งกล่าวต่อกรุงเทพฯ ด้วย การศึกษาแบ่งเป็น 5 บท คือ หลังจากเริ่มด้วยบทนำแล้วเป็นบทที่ 1 ซึ่งว่าด้วยสภาพทั่วไปของกรุงเทพฯ (คือธนบุรีและพระนคร) ซึ่งมีผลต่อการขุดคลอง และกล่าวถึงคลองชุดในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ บทที่ 2 เกี่ยวกับคลองขุดในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนสนธิสัญญาเบาริง บทที่ 3 เกี่ยวกับคลองขุดภายหลังสนธิสัญญาเบาริงจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 บทที่ 4 ว่าด้วยคลองขุดตั้งแต่สมัยสมัยกาลที่ 6 ถึง พ.ศ. 2500 และ บทที่ 5 ว่าด้วย คลองขุดในสมัยปัจจุบันคือตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2525 จบลงด้วยบทสรุป ซึ่งเป็นบทที่สรุปเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา และการเปลี่ยนแปลงของคลองจากเนื้อหาทั้งหมด แล้ววิเคราะห์และประเมินผลกระทบของคลองดังกล่าวต่อกรุงเทพฯ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน จึงนับว่าบทสรุปมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าบทอื่นๆ และเป็นบทที่ทำให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษา วิจัย ได้ข้อสรุปว่า ในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นเขตวงราชธานีมีคลองขุดมาบ้างแล้วก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการขุด คือ เพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ การคมนาคม ขนส่ง และการค้าขาย ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะมีสืบมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการทำสนธิสัญญาเบาริง ต่อมาภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว วัตถุประสงค์ในการขุดคลองด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์หายไป แต่ยังคงวัตถุประสงค์เพื่อการคมนาคม ขนส่ง และค้าขายอยู่อย่างเดิม ในขณะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเปิดพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ เพราะในขณะนั้นโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ข้าวซึ่งเพิ่มถูกส่งเป็นสินค้าออกตามข้อกำหนดของสนธิสัญญาเบาริงได้เริ่มมีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการขุดคลองใหม่และซ่อมคลองเก่าอย่างมากมายทั้งในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียง แม้ว่ารัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาการคมนาคมทางบกก็ตาม จากการวิจัยพบว่า รัฐบาลในห้ารัชกาลแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีนโยบายทำนุบำรุงคลองด้วยการขุดคลองใหม่ และขุดซ่อมคลองเก่าเพื่อให้คลองใช้การได้ดีอยู่เสมอ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้มีการออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อรักษาคลองให้ใช้การได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีระเบียบว่าด้วยการจราจรทางน้ำด้วย แต่ปรากฏว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน คลองขุดโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ได้ถูกปล่อยปละละเลยทั้งจากรัฐบาลและประชาชนทั่วไป ทำให้คลองมีความตื้นเขิน สกปรก บางคลองก็ถูกถมเป็นถนน สภาพการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมเป็นพิษต่อชาวกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ จึงน่าจะเป็นแนวคิดกระตุ้นให้คนปัจจุบันมองย้อนหลังไปสู่อดีต โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบรรพบุรุษของเรานั้น ท่านได้วางผังเมืองโดยพิจารณาถึงความสำคัญ และการใช้ประโยชน์ของคลองในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ ในสมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่สะอาด เรียบร้อย สายงาม ร่มรื่น ด้วยแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่ดุจเป็น "เวนิสตะวันออก" ซึ่งห่างไกลจากสภาพปัจจุบันอย่างมาก ถ้าได้มีการรักษาคลองให้ใช้การได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่บรรพบุรุษไดกระทำไว้ แทนที่จะทำลายเสียอย่างที่เป็นอยู่ก็คงมีส่วนทำให้คนกรุงเทพฯ มีสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้อย่างแน่นอนen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study and analize the orign and the changes of cnanls (klong) in Bangkok and the areas near-by from the year the city was founded (1782) until the bicentennial celebration year (1982). By and large, this study concentrates on Man-made Canals or "Dug Canals" (Klong Kut) mentioned in historical records or proven by reliable evidences, and evaluates the changes of "Dug Canals" and their effect upon Bangkok. This study consists of five chapters. Following the introduction is the first chapter concerning the general environment of Bangkok (Thonburi and Bangkok area) which affected the "Dug Canals" project. "Dug Canals" in Bangkok and adjacent areas before the founding of the city was mentioned in this chapter as weel. The second chapter concerned directly with all "Dug Canals" in Bangkok prior the Bowring Treaty. "Dug Canals" after the Bowring Treaty to the reign of King Rama V was explained in chapter three. All "Canals dug" between King Rama II's reign up intil the year 1957 appeared in the fourth chapter. The fifth chapter focussed on the "Dug Canals" in the contemporary period (1957-1982). This research ended with the conclusion which consisted of too parts, the first part dealt with the origin and the changes of the canals in Bangkok briefly, and the second part involved the analysis and the evaluation of the effect of "Dug Canals" on Bangkok city in the past and the present. It may be considered that the summary is just as important as other chapters and made the study complete. The result of this research revealed that Bangkok and the areas near-by which are in the capital boundary had has number of "Dug Canals" before Rattanakosin period. The objective of digging canals at that time were first, for the benefit of defensive strategy and second, for the facility of the water-way transportation. The objectives mentioned above had been kept in will by the government up until the time before the Bowring Treaty was signed. It is quite obvious that the reason of digging canalsfor defensive purpose was replaced by an economic purpose after the treaty. Indeed, the new and significant objective of "/dug Canals" which the Thai government endeavored to pursue was to enlarge arable land for rice cultivation. However, the purpose of "Dug Canals" for the facility of transportation is still retained. Undoubtedly, the crucial change of this domestic policy of "Dug Canals" plan was because rice, in the reign of King Rama V. started to be classified as an export goods according to the agreement in the Bowring Treaty. Rice at that period become more important and was required by the world market in term of quantity out only the government of King Rama V dug many new canals and repaired a number of old canals in Bangkok and adjacent areas, but also attempted to develop the land transportation to some extent. The result of this research disclosed that the governments of the first five Rattanakosin kings had the policy of maintaining and developing water-ways in the capital boundary by diggingnew canals and restoring the old ones. In the reigns of King Rama the fourth and the fifth, the governments imposed a number of laws to protect the canals for efficient use and to develop the traffic rule of the water-ways. Nevertheless, the "Dug Canals", especially in the Bangkok area, have been neglected by the users and the Thai governments since the reign of King Rama VI to the present regime. There is no doubt that the act of long neglect of the responsible institution have brought about the problems of shallow canals and water pollution. During this period, some canals have been filled and replaced by new roads. To sum up, the serious situation as to the loss of "Dug Canals" in numerous manners is themajor cause of pollutions in Bangkok at present. In short, this study might be able to stimulate the present Bangkok population to look back into the past during the reign of King Rama I to King Rama V of Rattanakosin, and realize that their forbears had laid out the city panning by considering the importance of canals for various usages. This doing made Bangkok clean, beautiful, shady and cool and intervening with canals large and small and often called "Vencie of the East", quite different from what it is at present. If the canals have been constantly maintained as our previous generation had done, today Bangkok residents would have a better mental and psychical health than than they are having now.en
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการen
dc.format.extent131319577 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกรุงเทพฯ--คลองen
dc.subjectกรุงเทพฯ--ประวัติen
dc.subjectกรุงเทพฯ--แผนที่en
dc.titleคลองในกรุงเทพฯ : ความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ 200 ปี (พ.ศ. 2325-2525)en
dc.title.alternativeCanals in Bangkok : history, changes and their impact (1782 A.D. - 1982 A.D.)en
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorPiyanart.B@Chula.ac.th-
dc.email.authorDuangporn.N@Chula.ac.th-
dc.email.authorSuwattana.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanart(can).pdf47.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.