Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27608
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จริยศาสตร์แบบ "พันธนิยม" ของ เซอร์ วิลเลียม เดวิด รอส
Other Titles: An analytical study of deontological ethics of Sir William David Ross
Authors: สมชาย คอนศรี
Advisors: วิทย์ วิศทเวทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ก็เพื่อศึกษาปัญหาและคำตอบของจริยศาสตร์แบบพันธนิยมของรอส กล่าวคือรอสต้องการผสานความคิดเกี่ยวกับปัญหาความถูก-ผิด และมาตรฐานการตัดสินของการกระทำของสุข-ประโยชน์นิยมเข้ากับหลักการของพันธนิยมสุดโต่ง คือค้านท์ สุข-ประโยชน์นิยมเชื่อว่าการกระทำใดๆ ของเราทุกครั้งหรือทุกอย่างจะได้ชื่อว่าถูกต้องหรือดี ก็เพราะสิ่งเหล่านั้นนำมาซึ่งความสุข ความพึงพอใจ หลีกหนีจากสภาพตรงข้ามแก่ตัวผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นความสุขของปัจเจกชน หรือของมหาชน ทางตรงหรือทางอ้อม ไกลหรือใกล้ ฯลฯ ดังนั้นความสุขเท่านั้นจึงเป็นมาตรฐานประการเดียวที่ใช้ตัดสินความถูก-ผิดของการกระทำ แต่รอสบอกว่าโดยทั่วๆ ไปคนเราก็ทำสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขอยู่บ้าง (การปฏิบัติหน้าที่โดยอ้อม) แต่บางครั้งบางสถานการณ์คนเราต้องทำตามกฎทางศีลธรรมหนึ่งๆ (ในที่นี้คือการทำตามหน้าที่โดยตรง) เช่นการรักษาสัญญา เราทำตามสัญญาเพราะสัญญาคือสัญญา ผลจากการกระทำเช่นนี้อาจจะไม่ได้รับความสุข แต่เราก็ต้องทำ เรารู้เพียงแค่ว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องทำมันเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสม ซึ่งความคิดของรอสเช่นนี้ (มาตรการตัดสินการกระทำ) คล้ายคลึงกับนักพันธนิยมสุดโต่ง คือค้านท์อย่างมาก แต่รอสก็เห็นว่าความคิดของค้านท์เกี่ยวกับมาตรฐานตัดสินการกระทำออกจะตึงเครียดเกินไป กล่าวคือค้านท์เห็นว่าการกระทำทุกอย่างและทุกครั้งจะต้องมีกฎทางศีลธรรมหรือมาตรฐานตามตัวสูงสุดซึ่งเกิดจากเหตุผลเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องตัดสิน และต้องทำตามอย่างเคร่งครัดจริงจัง ไม่มีการยกเว้นในทุกสถานการณ์และทุกคน ความคิดเช่นนี้ของค้านท์ รอสเห็นว่าต้องแก้ไขให้สมเหตุสมผลมากขึ้น คือในความคิดเรื่องหน้าที่โดยตรงของเขาได้บ่งบอกว่าการกระทำที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์เฉพาะหน้าในเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น (ซึ่งแน่ละบางครั้งการกระทำนั้นอาจจะส่งผลลัพธ์ที่ดีด้วย) ดังนั้นความคิดทั้งหมดของรอสจึงออกมาในลักษณะที่มีความคิดพื้นฐานของสุข-ประโยชน์นิยมเจือปนอยู่บ้าง แต่ในขณะเดียวกันรอสก็ถือว่าการกระทำที่ถูกต้องอย่างแท้จริงต้องเกิดจากการปฏิบัติตามกฎทางศีลธรรมอย่างเหมาะสมกับเหตุการณ์หนึ่งๆ เท่านั้น
Other Abstract: The aim of this thesis is to study ethical problems and answers of Ross’s Deontology : his idea which mixes the problem of rightness of action and the standard of judgement of action of Hedonism-Utilitarianism with Kant’s principle of extreme Deontology The belief of Hedonism-Utilitarianism is that whether any when or which of one’s action is judged right or good because it imposes the actor with happiness, contentment or evasion from any opposite condition and no matter whether this happiness falls on an individual or public, whether direct or indirect, far or near etc. Thus, happiness is the only standard of judgement to the rightness of action. But for Ross, he states that generally one performs various actions to attain happiness (a Duty of Non-Perfect Obligation). But in some situations at sometimes one has to act up to curtain moral law (a Duty of Perfect Obligation). For example, to keep one’s promise; one acts up to a promise because it is a promise and the result of this action may not be the attainment of happiness but one still has to do so because he only knows that he has to and it is right and suitable. Though this idea of Ross (the standard of judgement of action) is quite similar to Kant’s idea about the standard of judgement of action is too serious. Kant’s idea is that when and where of any action must be regulated by a certain moral law or fixed ultimate standard which solely born form reasoning as judgment and it is to be seriously acted up to without relevation in any situation and for anybody. Ross believes that this idea of Kant is to be corrected in order to be more reasonable. As a result, Ross’s idea about a Duty of Perfect Obligation indicates that right action must be most suitable and right to a certain situation at certain time (sometimes such an action bears good result) Thus, the whole idea of Ross mixes up a little with the basic idea of Hedonism-Utilitarianism but at the same time Ross believes that right action must be an action which acts up to a certain moral law and is suitable with a certain situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27608
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Ko_front.pdf428.12 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ko_ch1.pdf369.52 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ko_ch2.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ko_ch3.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ko_ch4.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ko_ch5.pdf261.38 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Ko_back.pdf255.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.