Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2760
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปิยนาถ บุนนาค | - |
dc.contributor.author | จันทรา บูรณฤกษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาประวัติศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-23T05:51:26Z | - |
dc.date.available | 2006-09-23T05:51:26Z | - |
dc.date.issued | 2522 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2760 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาระดับอุดมศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กล่าวคือ ผลของการปฏิรูปการศึกษาระดับสูงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 ทำให้นักเรียนไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับการศึกษาระดับสูงจากต่างประเทศได้กลับมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และผู้นำในการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นต่อมาส่วนใหญ่ก็ได้กลายมาเป็นผู้นำทางการเมืองของไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้นำทางการเมืองของไทยมักตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาแต่เป็นไปในลักษณะที่จะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของตน แต่กลับเป็นกำลังสนับสนุนและสร้างความชอบธรรมให้แก่การปกครองของตน ด้วยสาเหตุนี้ประกอบกับสาเหตุอื่นๆ เช่น สภาพทางการเมือง การปกครอง สังคม ตลอดจนค่านิยมของสังคมไทย ทำให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาไม่ค่อยมีบทบาทในการพัฒนาทางการเมืองในความหมายที่แท้จริงนัก ถ้าจะมีอยู่บ้างก็เป็นไปในรูปแบบแต่ทางทฤษฎีมากกว่า นิสิตนักศึกษาซึ่งเป็นผลผลิตสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความสนใจและกระตือรือล้นในทางการเมืองนัก แม้กระนั้นก็ตามภายหลัง พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา นิสิตนักศึกษาบางกลุ่มที่มีความสนใจในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้แสดงปฏิกิริยาของการที่จะเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ประกอบกับความกดดันจากเหตุการณ์ภายในและภายนอกทำให้นิสิตนักศึกษาซึ่งมีความสนใจทางการเมืองอยู่บ้าง ได้กลายเป็นจักรกลสำคัญในการเรียกร้องการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองประเทศ โดยทำการต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการในขณะนั้น และได้รับการสนับสนุนอย่างมากมายจากนิสิตนักศึกษาเองตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ได้ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ดี ความตื่นตัวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษายังอยู่ในวงจำกัด และเป็นการตื่นตัวในลักษณะเป็นปฏิกิริยาต่อพลังเผด็จการที่กดดันเขาอยู่เป็นเวลานานมากกว่าความตื่นตัวที่เป็นไปตามกระบวนการฝึกฝนทางการเมืองที่มีระเบียบแบบแผน เพราะการรวมกลุ่มของนิสิตนักศึกษาก่อนและหลัง 14 ตุลาคม 2516 ยังจำลองแบบการรวมอำนาจไว้กับกลุ่มบุคคลมากกว่าการคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย ผู้นำนักศึกษาเองหลังจากการเผยแพร่ประชาธิปไตย ก็มีแนวโน้มที่จะละทิ้งกระบวนการประชาธิปไตยและหันไปใช้ "พลังมวลชน" เป็นเครื่องตัดสินปัญหา โดยนัยนี้อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2516 จึงไม่มีบทบาทในการพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทยในความหมายที่แท้จริงเท่าใดนัก | en |
dc.description.abstractalternative | Higher education has had a role on the political development of Thailand since the change of the governing system in 1932. The results of the reform of higher education from the reign of King Rama V to King Rama VII was that a group of students who received higher education abroad caused the change of the government from monarchy to the system which the king is under constitution. The leaders of this change later became the political leaders of Thailand. All through the passing time, the political leaders realized the importance of higher education. They promoted and supported higher education in the way that it was not against their system of governing. Because of this reason and others such as political condition, governing system, society and the values of Thai society, higher education of Thailand since 1932 did not have the role on the political development in the real sense. If it did, it was in the form of theory. Most students who were the products of higher education were not interested and enthusiastic in politics. However, after 1971 some students interested in articipating in politics reacted to indicate that they wanted to take part in politics. Besides, the pressures from internal and external incidents caused, the students interested in politics to be the principals in demanding for participation in politics and the governing system. They fought against tyranny at that time and they were greatly supported by students and people in general. Thus, a great change of the political condition could be made on October 14, 1973. However, students' political enthusiasm was limited. Their enthusiams was in the form of being against tyranny which had oppressed us for a long time. It was not the enthusiasm which followed the process of orderly political training. Students' coming together before and after October 14, 1973 was the imitation of agroup of people's power collection more than considering the principles of democracy. The student leaders themselves, after the spread of democracy, had a tendency toomit the process of democracy and used "mass power" to solve problems. Therefore, it can be said that higher education of Thailand from 1932 - 1973 did not really have the role on its political development. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนโครงการไทยศึกษา สถาบันวิจัยสังคม | en |
dc.format.extent | 103455162 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษา--ไทย | en |
dc.subject | การเมืองกับการศึกษา | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา--ไทย | en |
dc.subject | ไทย--การเมืองและการปกครอง | en |
dc.title | บทบาทของการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อการพัฒนาทางการเมืองของประเทศไทย (พ.ศ.2475-พ.ศ.2516) : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | The role of higher education on the political development of Thailand (1932-1973) | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Piyanart.B@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyanart(role).pdf | 33.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.