Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปรีมา มัลลิกะมาส-
dc.contributor.authorวิโรจน์ อรุณมานะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภาษาศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภาษาศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-23T05:57:08Z-
dc.date.available2006-09-23T05:57:08Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2761-
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์ของการใช้คลังข้อมูลภาษาต่อการแปล โดยจัดทดลองการแปลของกลุ่มทดลองสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ใช้ทรัพยากรแบบดั้งเดิมคือ พจนานุกรมต่างๆ อีกกลุ่มหนึ่งให้ใช้ทั้งพจนานุกรมและคลังข้อมูลภาษาเป็นทรัพยากรการแปล เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของผลการแปลของทั้งสองกลุ่ม โดยให้แปลต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนคลังข้อมูลภาษาที่ให้ใช้เป็นคลังข้อมูลภาษาอังกฤษทางด้านเศรษฐศาสตร์ ผลการทดลองยืนยันสมมติฐานว่า การใช้คลังข้อมูลภาษาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ จะช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการขาดความเข้าใจเนื้อหาของเอกสารที่แปลและความสามารถในการใช้ภาษาสำหรับแปลได้มากกว่าการใช้ทรัพยากรแบบดั้งเดิม ในการแปลจากภาษาไทยเป็นอังกฤษ คลังข้อมูลภาษาช่วยลดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการเลือกใช้คำและสำนวนภาษารวมทั้งศัพท์เฉพาะสาขา โดยกลุ่มที่ใช้คลังข้อมูลมีข้อผิดรวมน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้คลังข้อมูล สำหรับการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทย คลังข้อมูลภาษาช่วยลดข้อผิดที่เกิดจากการไม่เข้าใจความหมายของศัพท์และเนื้อหาในต้นฉบับเฉพาะด้าน โดยกลุ่มที่ใช้คลังข้อมูลมีข้อผิดรวมน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้คลังข้อมูลเช่นกัน ส่วนสมมติฐานที่ว่า การใช้คลังข้อมูลภาษาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษช่วยเพิ่มประสสิทธิผลการแปลในด้านความสามารถในการใช้ภาษาสำหรับแปลมากกว่าด้านความเข้าใจเนื้อหาของเอกสาร นั้น ผู้วิจัยก็พบว่าคลังข้อมูลภาษาอังกฤษสามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการแปลจากไทยเป็นอังกฤษได้ชัดเจนกว่าการแปลจากอังกฤษเป็นไทย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของผลการแปลนี้ เมื่อพิจารณาโดยเปรียบเทียบคะแนนที่ผู้แปลแต่ละคนได้จากการแปลและคำนวณค่า t-score ผลที่ได้นี้ ยังไม่มีความแตกต่างกันของคะแนนอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในการแปลโดยรวมของกลุ่มที่ใช้และที่ไม่ได้ใช้คลังข้อมูล ในการแปลทั้งจากไทยเป็นอังกฤษและจากอังกฤษเป็นไทย นอกจากนี้ ผลการทดลองช่วยให้ตระหนักถึงปัจจัยและข้อจำกัดต่างๆ ที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และคลังข้อมูลภาษาในการแปล คือ นอกจากผู้วิจัยจะได้พบกรณีที่คลังข้อมูลภาษาเป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับการแปลเช่นเดียวกับงานวิจัยที่ทดลองทำในภาษาอื่น ผู้วิจัยยังได้พบข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้คลังข้อมูลไม่สามารถใช้เป็นประโยชน์โดยตรงได้ สิ่งที่พบจากงานวิจัยนี้จะช่วยให้สามารถพัฒนาแนวทางและวิธีการในการนำคลังข้อมูลภาษามาใช้สอนวิชาแปลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแปลให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไปen
dc.format.extent27445937 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การใช้ภาษาen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การแปลen
dc.titleผลของการใช้คลังข้อมูลภาษาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษ ที่มีต่อความเข้าใจเนื้อหาของต้นฉบับ และความสามารถในการใช้ภาษาสำหรับแปลen
dc.title.alternativeImpact of specialized English corpora on translators' comprehension and production skillsen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorPrima.M@Chula.ac.th-
dc.email.authorWirote.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirote(imp).pdf17.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.