Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27622
Title: วิธีประมาณการรายได้ประเภทภาษีอากรของรัฐบาลไทย
Other Titles: Thailand's taxes revenues estimation methods
Authors: อรพิน อยู่สมบูรณ์
Advisors: อรัญ ธรรมโน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์จะสนับสนุนให้รัฐบาลให้ความสำคัญในการประมาณรายได้ของรัฐบาลมากขึ้น โดยจะขึ้นให้เป็นแนวทางในการประมาณการรายได้ที่เหมาะสม การศึกษาจึงมุ่งที่จะศึกษาครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ - ลักษณะโดยทั่วไปเกี่ยวกับรายได้ประเภทต่างๆ ของรัฐบาล วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ในการจัดเก็บรายได้ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยสังเขป - หลักเกณฑ์หรือวิธีการทั่วไปในการประมาณการภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการประมาณรายได้ของรัฐบาลได้ด้วย อันสามารถแบ่งเป็นวิธีการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ก. การประมาณการโดยใช้แนวโน้ม ข. การประมาณการโดยใช้ดัชนี ค. การประมาณการโดยการสำรวจความเห็น ง. การประมาณการโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ - วิธีการประมาณการรายได้ของรัฐบาลได้ของรัฐบาลไทย เพื่อจะได้ชี้ให้เห็นแนวทางที่เหมาะสมในการประมาณการรายได้ ภายใต้สภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน - ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและผลเสียที่เกิดขึ้นจากการประมาณการรายได้ที่ผิดพลาดเพื่อจะได้หาทางแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ในการวิจัยจะอาศัยข้อสมมุติพื้นฐานทางเศรษฐกิจบางประการ ในการใช้หลักเกณฑ์หรือเทคนิคในการประมาณการภาวะการณ์ในอนาคต เช่น การหาค่าเฉลี่ย การหาแนวโน้มการสร้างแบบจำลองแบบจำลองเศรษฐมิติแบบง่ายๆ ผลการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์หรือวิธีการในการประมาณรายได้ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ได้แก่ การประมาณการโดยหาค่าเฉลี่ย หาแนวโน้มและการสร้างแบบจำลองเศรษฐมิติแบบง่ายๆ เพราะสามารถทำได้ง่ายและให้ผลสรุปเป็นที่เชื่อถือได้พอสมควร สำหรับการประมาณการโดยใช้ดัชนี การสำรวจความเป็นการสร้างแบบจำลองเศรษฐมิติแบบยากๆ ไม่ค่อยได้นำมาใช้มากนัก เนื่องจากขาดแคลนข้อมูลไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรผันที่เกี่ยวข้องได้ชัดเจน การประมาณการรายได้ของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน อาจจะแบ่งออกเป็นลักษณะสำคัญ 2 ลักษณะ คือ 1. การประมาณการรายได้โดยพิจารณาเป็นส่วนรวม เป็นการประมาณการโดยวิเคราะห์จากภาวการณ์ส่วนรวม โดยปกติจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติเป็นหลักส่วนการวิเคราะห์ก็อาศัยหลักเกณฑ์การประมาณการภาวะเศรษฐกิจในอนาคต 2. การประมาณการรายได้โดยพิจารณาแต่ละประเภทภาษีเป็นการพิจารณาอย่างละเอียดแต่ละประเภทภาษีแล้วจึงนำมารวมเข้าด้วยกัน เนื่องจากแต่ละภาษีมีลักษณะพิเศษแตกต่างกัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับภาษีประเภทใด สามารถติดตามผลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง วิธีการที่ใช้ในการประมาณการก็มีหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งอาจจะทำให้มีผลสรุปแตกต่างกันไปบ้าง ฉะนั้น ผู้ทำประมาณการจำต้องใช้ความรู้ความสามารถประกอบกับความชำนาญและประสบการณ์ของตนเองเข้าพิจารณาประกอบด้วย แต่ต้องไม่ทิ้งหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ ในทางปฏิบัติ ตัวเลขประมาณการรายได้ที่ปรากฏในเอกสารงบประมาณบางตัวมิใช้ตัวเลขที่เกิดขึ้นจากการประมาณการตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่เป็นตัวเลขที่เกิดจากการต่อรองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือถูกกำหนดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญจึงทำให้เกิดความผิดพลาดอยู่เสมอ ดังนั้น ควรจะได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น โดยพยายามปรับปรุงวิธีการประมาณการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำหลักเกณฑ์หรือวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาใช้มากขึ้น เช่น การประมาณการโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติแบบยาก การประมาณการโดยใช้ Input-Output tables เพื่อให้สอดคล้องกับการวางแผนเศรษฐกิจส่วนรวม เป็นต้น ในขณะเดียวกันจะต้องมีการปรับปรุงทางด้านการบริหารด้วย โดยยกเลิกระบบต่อรองในการกำหนดประมาณการรายได้ของรัฐบาลอย่างจริงจัง นอกจากนี้ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับภาษีอากรของรัฐบาลควรจะได้คำนึงถึงความเป็นไปได้และความสามารถในการดำเนินการตามนโยบายด้วย ควรจะเลิกระบบกำหนดนโยบายภาษีอากรเพื่อสนองความต้องการหรือคำเรียกร้องของประชาชนเพื่อเอาตัวรอดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากกำหนดก็มิได้สนใจว่าเป็นอย่างไร ไม่ยอมรับผิดชอบกับนโยบายที่กำหนดไว้ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีคณะทำงานเกี่ยวกับการวางโครงสร้างภาษี เพื่อจะได้ดำเนินการวางแผนเกี่ยวกับนโยบายภาษีให้แน่นอน ทำให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างมีจุดหมาย มิใช้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเช่นในปัจจุบันซึ่งไม่เป็นผลดีในการพัฒนาโครงสร้างภาษีอากรของประเทศ และสำคัญที่สุดก็คือไม่สามารถใช้ระบบภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
Other Abstract: The objective of this research is to instigate the government to give more attention to the method of government revenue estimations by suggesting better approaches. This study aims to cover the following areas : - The general characteristics of different types of government revenues and techniques of economic forecastings which can be categorized into 4 major techniques. (a) Mechanical Extrapolation (b) Barometric Techniques (c) Opinion Polling (d) Econometric Models - The review of methods that have been employed in estimating Thailand’s taxes revenues in order to recommend the use of other estimation approaches which are more appropriate under present condition. – The identification of the problems and effects of erroneous estimations. The research will be based on certain fundamental economic assumptions when making economic forecastings using such methods as averaging method, trend analysis and simple econometric madels-the least square techniques. The study finds that the revenues estimation methods commonly employed are the averaging technique, the trend analysis, and some simple econometric model because of their simplicity and rather reliable conclusions. On the contrary, the estimation methods like opinion polling and sophisticated econometric model are not widely used due to inadequate informations ; hence, it is difficult to find the clear relationships among the relevant variables. The systems presently used in estimating Thailand’s taxes revenues may be classified into 2 major systems. 1. The aggregate estimations The estimations are derived from the analysis of aggregate economic conditions, usually utilizing the national income statistics, based on the economic forecasting principles. 2. The estimations of individual taxes The estimations are derived from the combined assessment of individual tax. This system has the advantage of giving more accurate conclusions, when there is any change taking place in certain component of the tax. System because each type of taxation has its particular feature. When the estimation methods are different, the conclusions are likewise different. Those who undertake the estimations have to incorporate their talents, skills, and experiences into the making of judgements, but not omitting the appropriate theoretical technigues. In practice certain estimated revenue figures are not deduced from the theoretical-wise estimations but resulting from the negotiation between the agencies concerned, or established by the government’s policies. As a result, the wrong estimations are inevitable, To rectify these defects attempts should be made to improve estimation methods by increasing uses of modern and more efficient analytical techniques such as the sophisticated econometric models and the Input-Output tables. In the meantimes, it is advisable to put an end to the negotiation method in the process of government revenue estimations. Moreover, in formulating tax policies or system the possibility and the practicability of each tax should have to be taken into consideration. It is necessary to avoid the setting up of any tax system in the manner to please the public just to temporarily save the government without any attention being paid to or responsibility taken for the aftermath. Therefore the government should set up a working committee to make firm and practicable tax policies as against the present inconsistent policies which have become disadvantageous to the development of the country’s appropriate tax structure; and worst of all, could not be used as means to promote economic development and stability as they should be.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27622
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orpin_Us_front.pdf550.41 kBAdobe PDFView/Open
Orpin_Us_ch1.pdf556.98 kBAdobe PDFView/Open
Orpin_Us_ch2.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Orpin_Us_ch3.pdf940.83 kBAdobe PDFView/Open
Orpin_Us_ch4.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Orpin_Us_ch5.pdf997.25 kBAdobe PDFView/Open
Orpin_Us_back.pdf343.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.