Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2764
Title: ไวยากรณ์ภาษาทิเบตถิ่นคามใต้ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: โครงการไวยากรณ์ภาษาทิเบตถิ่นคามใต้
Grammar of Southern Kham Tibetan
Authors: กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
Email: Krisadawan.H@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภาษาศาสตร์
Subjects: ภาษาทิเบต--ไวยากรณ์--วิจัย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการไวยากรณ์ภาษาทิเบตถิ่นคามใต้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ลักษณะสำคัญทางไวยากรณ์ของภาษาทิเบตถิ่นคามใต้ 2 ภาษาคือภาษาเกียลทังซึ่งพูดในเขตปกครองตนเองเตเชนของคนทิเบต มณฑลยูนานและภาษาบาทังซึ่งพูดในเขตปกครองตนเองกานเซของคนทิเบตมณฑลเสฉวน ประเด็นที่ศึกษาได้แก่ประเภททางไวยากรณ์ของคำกริยาและความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ของคำนามโดยเฉพาะรูปแบบการลงการก ในส่วนของภาษาเกียลทังซึ่งผู้วิจัยได้ทำวิจัยต่อจากโครงการไวยากรณ์ภาษาเกียลทัง ภาษาทิเบตในยูนนาน ผู้วิจัยยังได้ใช้ข้อมูลในระดับปริจเฉท เพื่อวิเคราะห์ลักษระไวยากรณ์บางลักษณะให้ชัดเจนขึ้น คำถามที่ผู้วิจัยถามคือไวยากรณ์ภาษาเกียลทังและภาษาบาทังเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ความเหมือนและความต่างนี้นำไปสู่การตั้งข้อสรุปเกี่ยวกับไวยากรณ์ของภาษาทิเบตถิ่นคามใต้อย่างไรได้บ้าง วิธีการวิจัยประกอบด้วย (1) การวิจัยเอกสารเพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสถานการณ์ทางภาษาในทิเบตตะวันออก ไวยากรณ์ภาษาทิเบต ความรู้เกี่ยวกับภาษาทิเบตถิ่นต่างๆ ตลอดจนรูปแบบไวยากรณ์ที่คล้ายคลึงกันในภาษาอื่น และ (2) การทำวิจัยภาคสนามโดยทำที่เมืองเกียลทัง (จงเตี้ยน) เมืองบาทังและเมืองอื่นๆ ที่มีชาวทิเบตถิ่นคามอาศัยอยู่ วิธีการทำวิจัยภาคสนามได้แก่การซักถามข้อมูลภาษาจากผู้บอกภาษาและผู้เชี่ยวชาญทางภาษา การอัดเสียงนิทานและเรื่องเล่า การถ่ายสียงตัวบทเหล่านี้เป็นตัวอักษร การวิเคราะห์รูปแบบทางไวยากรณ์จากตัวบทดังกล่าว การสัมภาษณ์ข้อมูลทางวัฒนธรรมจากชาวบ้าน การสังเกตและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และการสำรวจภาษาทิเบตถิ่มคามอื่นๆ เพื่อทำให้เข้าใจสภาพทางภาษา สังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้รวมทั้งลักษณะทางไวยากรณ์ของภาษาทิเบตถิ่มคามใต้ให้ชัดเจนขึ้น ผลการวิจัยพบว่าไวยากรณ์ภาษาเกียลทังมีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงกับและส่วนที่แตกต่างจากไวยากรณ์ภาษาบาทัง การลงสาธกการกในภาษาเกียลทังมีความแตกต่างจากการลงสาธกการกในภาษาบาทังและภาษาคามถิ่นอื่นเช่น เดเก (ภาษาคามถิ่มเหนือ) การแสดงแก่นความในภาษาเกียลทังและภาษาบาทังมีรูปแบบคล้ายคลึงกันและมีปฏิสัมพันธ์กับการลงสาธกการก เช่นเดียวกับภาษาทิเบตถิ่นกลาง กริยาช่วยในภาษาเกียลทังและในภาษาบาทังพัฒนามาจากกริยา 'เป็น' และกริยาเคลื่อนไหวที่ผ่านการกลายมาเป็นคำไวยากรณ์ กริยาเหล่านี้แสดงประเภททางไวยากรณ์ของภาษาทิเบตสมัยใหม่ กล่าวคือมีการแสดงการณ์ลักษณะ มุมมองของผู้ร่วมสนทนา สถานภาพของความรู้ และแหล่งที่มาของความรู้ ลักษณะอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาทิเบตถิ่นคามใต้ ซึ่งแตกต่างจากไวยากรณ์ภาษาทิเบตถิ่นกลางอย่างชัดเจน เช่น มีการใช้กริยารองเพื่อแสดงอรรถานุเคราะห์และการณ์ลักษณะ มีการใช้รูปแสดงความเป็นเจ้าของซ้อนกัน มีระบบสรรพนามที่ซับซ้อนกริยาหลักในประโยคไม่แปรไปตามกาลและมาลา ลักษณะเหล่านี้ยังพบในภาษาทิเบตถิ่นคามอื่นๆ แม้ว่าจะมีความแตกต่างในรายละเอียด งานวิจัยนี้ให้ข้อคิดสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยภาษาในทิเบตตะวันออกและนำไปสู่การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาของชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นที่พูดในบริเวณนี้ การสัมผัสกันของภาษาเหล่านี้ กำเนิดและพัฒนาการของภาษากลางตลอดจนประเด็นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น ความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์และพัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนต่อรูปแบบการดำรงชีวิตดั้งเดิมของผู้คนในบริเวณนี้ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวทิเบตและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในทิเบตตะวันออก
Other Abstract: This project is aimed to analyze grammatical characteristics of two southern dialects of Kham Tibetan, namely the Rgyalthang dialect spoken in Diqin Tibetan Autonomous Prefecture, Yunnan Province, and the Bathang dialect spoken in Ganzi Tibetan Autonomous Prefecture, Sichuan Province. Specifically, it investigates grammatical categories pertaining to the verb phrase and those to the noun phrase, particularly grammatical relations and case-marking patterns. As a follow-up to the previous project on Rgyalthang grammar, the project additionally examines Rgyalthang discourse in order to find out more about certain grammatical attributes. The general questions posed in this research are: whether Rgyalthang grammar is similar to or different from the grammar of the Bathang dialect, and how these similarities or differences lead to the conclusion about grammar of southern Kham Tibetan. The methodology used in this study include (1) document research on linguistic situation in East Tibet, Tibetan grammar, Tibetan dialects, and typological patterns in other languages, and (2) fieldwork at Rgyalthang (Zhongdian), Bathang, and other towns where Khampa Tibetans reside. Among the various fieldwork methods used are elicitation of data from informants and language consultants, recordings and transcriptions of folktales and narratives, the analysis of grammatical characteristics from these texts, interviewing, participant-observation, and the survey of other dialects of Kham Tibetan in order to find out about general linguistic and cultural situation of this region and make a conclusion about grammar of southern Kham Tibetan. It is found that Rgyalthang grammar is both similar to and different from Bathang grammar. Ergative marking in Rgyalthang has a distinctive pattern, which is not found in Bathang and other Kham dialects such as Dege (northern Kham). Topic marking in Rgyalthang is similar to that in Bathang and shows close interaction with ergative marking. Like Central Tibetan, auxiliaries in Rgyalthang and Bathang are grammaticalized from copula verbs and motion verbs. These verbs mark novel features (i.e. aspect, participant perspective, mirativity and evidentiality) which constitute grammar of Modern Spoken Tibetan. Such attricutes as the use of double possessives, the development of secondary verbs to indicate aspect and modality, the existence of complex pronominal paradigms, and the lack of verbal inflections to indiate tense and mood, can be climed to be characteristic of southern Kham Tibetan as a whole, though there are differences among Kham varieties. This research contributes to linguistic research in East Tibet and leads to more investigation of such important issues as the description of non-Tibetan languages spoken in the same area, language contact among these languages, development of linguae francae. It also poses questions on issues related to ethnohistory and culture such as memory of local history, ethnic identity, impacts of globalization and economic development in China on traditional way of life, and interactions among the Tibetans and other ethnic minorities.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2764
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krisadawan(gram).pdf20.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.