Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27663
Title: ผลของการรักษาด้วยแสงยูวีบีต่อระดับวิตามินดีในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต
Other Titles: Effect of UVb therapy to serum 25(OH) vitamin D3 level in post kidney transplantation recipients
Authors: สมศรี อัศวินพร
Advisors: เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
ประวิตร อัศวานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Kearkiat.P@Chula.ac.th
Pravit.A@Chula.ac.th
Subjects: รังสีเหนือม่วง -- การใช้รักษา
การขาดวิตามินดี
ไต -- การปลูกถ่าย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Background: The prevalence of hypovitamin D in post kidney transplantation patient is high and causes morbidity and mortality. Vitamin D is synthesized by sun exposure. The objective of this study is to evaluate the effect of UVB therapy compared with oral vitamin D in post transplant recipients. Methods: Forty post kidney transplant recipients who had 25(OH)D concentration less than 30 ng/ml were enrolled and randomized into 2 groups, Group 1 received UVB, accumulation dose of 6,952 mJ/cm2 within 3 weeks. Group 2 receives oral vitamin D, total dose of 120,000 IU within 7 weeks. 25(OH)D, serum calcium, phosphorus, iPTH were measured before and after treatment. Results: Vitamin D deficiency of kidney transplant recipients had 17.5% DM. Fifty percent of vitamin D deficiencient cases received corticosteroid for rejection prevention. In UVB group, 25(OH)D was significantly increased (P<0.001) at 3th week and at 7th week after therapy. Serum calcium and phosphorus were also significantly increased (P<0.04 and P<0.03 respectively) at 7th week after therapy. In oral vitamin D group, 25(OH)D significantly increased (P<0.001) within 8th week after therapy. In this group they were not statistic significant of serum calcium and serum phosphorous before and after therapy (P>0.05). Serum iPTH of both groups was not significantly changed (P>0.05). The adverse event of UVB therapy was itching (33.3%), hyperpigmentation (27.7%) and no hypercalcemic event. Conclusion: UVB exposure increases 25(OH)D. Its efficacy was compared to oral vitamin D. inadequate sun exposure and corticosteroid use were risk factors of hypovitamin D in post kidney transplant recipients.
Other Abstract: ที่มา ความชุกของภาวะวิตามินดีต่ำพบได้มากและก่อให้เกิด morbidity และ mortality ในผู้ป่วยหลังรับการปลูกถ่ายไต การสังเคราะห์วิตามินดีใต้ชั้นผิวหนังได้รับการกระตุ้นจากการอาบแดดและเป็นแหล่งสร้างวิตามินดีหลักของร่างกาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการฉายแสงยูวีบีต่อการสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังเปรียบเทียบกับการรับประทานวิตามินดีแก่ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต วิธีการศึกษา ผู้ป่วยหลังรับการปลูกถ่ายไตจำนวน 40 คนที่มีระดับ 25(OH)D น้อยกว่า 30 ng/ml ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มีการฉายแสงยูวีบีซึ่งมี dose สะสม 6,952 mJ/cm2 ภายในเวลา 3 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 รับประทานวิตามินดีซึ่งมีdose สะสมรวม 120,000 IU ในเวลา 7 สัปดาห์ ผู้ป่วยทุกท่านได้รับการตรวจระดับ 25(OH)D, calcium, phosphate และ iPTH เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการศึกษา ผลการศึกษา ร้อยละ 17.5 ของผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตมีภาวะ vitamin D deficiency มีภาวะเบาหวานเป็นภาวะร่วม ผู้ป่วยที่มีภาวะ vitamin D deficiency ใช้ corticosteroid มากกว่าร้อยละ 50 เพื่อป้องกันภาวะ rejection ผู้ป่วยที่ได้รับการอาบแสงยูวีบีระดับ 25(OH)D เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) หลังผู้ป่วยได้รับการอาบแสงครบ 3 สัปดาห์และในสัปดาห์ที่ 7 ระดับแคลเซียมและฟอตฟอรัสเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.04 และP<0.03 ตามลำดับ) ผู้ป่วยที่รับประทานวิตามินดีขนาด 120,000 IU ภายในระยะเวลา 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับ 25(OH)D อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของระดับแคลเซียมและฟอตฟอรัส (P>0.05) ระดับ iPTH ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาบแสงยูวีบี ได้แก่ อาการคันร้อยละ 33.3 และภาวะสีผิวเข้มร้อยละ 27.7 อย่างไรก็ตามไม่พบภาวะ hypercalcemia สรุปผลการศึกษา ภาวะวิตามินดีต่ำถูกแก้ไขได้ด้วยกาอาบแสงยูวีซึ่งได้ประสิทธิผลเทียบเท่ากับการรับประทานวิตามินดี ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะวิตามินดีต่ำคือ การใช้ corticosteroid และการตากแดดที่ไม่เพียงพอ
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27663
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สมศรี อัศวินพร.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.