Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27677
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ของนายอำเภอในการบริหารสุขาภิบาล
Other Titles: An analytical of district officers authorith functions and responsibility in the Sanitary Administration
Authors: อนุ สงวนนาม
Advisors: จรูญ สุภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหา การปกครองท้องถิ่นรูปสุขาภิบาล เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรูปหนึ่ง วัตถุประสงค์ของการจัดการปกครองท้องถิ่นรูปสุขาภิบาลนั้นก็เพื่อให้สุขาภิบาลบริหารกิจการต่างๆ ในอันที่จะสร้างสรรค์ความเจริญในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก่ท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน ทั้งนี้อยู่ภายใต้การอำนวยการและบริหารกิจการของข้าราชการและประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ภายในขอบเขตและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยเหตุที่การจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาลตามหลักการและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น ยังมีลักษณะกระจายอำนาจไม่สมบูรณ์แบบเหมือนกับการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล เพราะสุขาภิบาลจัดตั้งขึ้นในท้องที่ที่มีความเจริญรองลงมาจากเทศบาล ฉะนั้นการดำเนินการปกครองท้องถิ่นรูปสุขาภิบาลจึงต้องจัดให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและประชาชน โดยเหตุนี้การปกครองท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาลจึงอยู่ภายใต้การอำนวยการรับผิดชอบของข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นส่วนรองทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเหมาะสมกับความสามารถทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น นายอำเภอเป็นจักรกลที่สำคัญต่อการบริหารกิจการของสุขาภิบาล นายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการบริหารกิจการสุขาภิบาลทั้งปวง ยิ่งไปกว่านั้นนายอำเภอในฐานะที่เป็นข้าราชการของรัฐบาลกลางยังมีความเกี่ยวพันกับกิจการของสุขาภิบาลทั้งในด้านนิตินัยและพฤตินัยอย่างกว้างขวางอีกด้วย เมื่อนายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของสุขาภิบาลอย่างกว้างขวางดังกล่าว ประกอบกับทั้งรัฐบาลเองยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับความสามารถทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการใช้อำนาจควบคุม (popular control) ฉะนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องตรากฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ออกมาใช้บังคับเพื่อให้การบริหารกิจการของสุขาภิบาลดำเนินไปด้วยดี ป้องกันความผิดพลาด อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่นอย่างรัดกุม จนทำให้นายอำเภอในฐานะผู้รับผิดชอบบริหารกิจการสุขาภิบาลขาดความเป็นอิสระในการบริหารงาน เพราะถูกครอบงำด้วยบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายและมีลักษณะจำกัด จึงทำให้ดูเสมือนว่า การบริหารงานของสุขาภิบาลไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า ไม่สนองความต้องการของประชาชน ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสุขาภิบาลก็คือ รายได้ของสุขาภิบาลมีน้อยไม่ได้ส่วนสัมพันธ์กับภารกิจอันเป็นหน้าที่ของสุขาภิบาลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สุขาภิบาลมีหน้าที่ถึง 10 ประการ เช่น หน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การประปา ไฟฟ้า การดับเพลิง การโยธา การกำจัดขยะมูลฝอย ฯลฯ จะเห็นได้ว่าหน้าที่ความรับผิดชอบของสุขาภิบาลดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องใช้จ่ายสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันสุขาภิบาลส่วนใหญ่จะมีรายได้ประมาณปีละ 3-4 แสนบาท สุขาภิบาลที่มีรายได้ถึงปีละ 1 ล้าน มีเพียงไม่กี่แห่ง ดังนั้น เมื่อพิจารณาด้วยเหตุผลจะเห็นได้ว่าสุขาภิบาล ส่วนใหญ่ไม่อาจจะรับผิดชอบงานในหน้าที่ได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ เพราะอุปสรรคในด้านการเงิน วิธีการศึกษา “การศึกษาเชิงวิเคราะห์อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอในการบริหารสุขาภิบาล” เป็นการศึกษาในทางกฎหมาย (legal study) โดยอาศัยพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 และกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักในการศึกษา นอกจากนี้จะได้ศึกษาจากเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ตำรา เอกสาร วารสาร ทางด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น การบริหารท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น ฯลฯ มาอ้างอิง รวมตลอดถึงอาศัยประสบการณ์ (experiences) ของผู้เขียนในฐานะที่มีส่วนรับผิดชอบอย่างใกล้ชิดกับกิจการสุขาภิบาลทั้งในฐานะปลัดสุขาภิบาลและประธานกรรมการสุขาภิบาลมาพิจารณาศึกษาร่วมกับแนวทางการวิเคราะห์โครงสร้าง (structural analysis) ควบคู่กันไป ข้อสรุป ผลของการศึกษาสรุปได้ว่า เป็นไปตามข้อสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ กล่าวคือ นายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล ไม่อาจจะบริหารกิจการสุขาภิบาลให้เจริญก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ตามเป้าหมายหรืออุดมคติที่ตั้งไว้ เพราะอุปสรรคที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. นายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลขาดความเป็นอิสระในการบริหาร เพราะถูกจำกัดโดยกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของทางราชการส่วนกลาง 2. รายได้ของสุขาภิบาลน้อยไม่เป็นการเพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะท้องถิ่นสุขาภิบาลส่วนใหญ่ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจยังไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประกอบทั้งสุขาภิบาลมีรายได้จากภาษีอากรน้อยประเภท และได้รับส่วนแบ่งในอัตราที่ต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น การที่สุขาภิบาลอยู่ภายใต้การอำนวยการและการปฏิบัติการของข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย ข้าราชการที่ต้องรับผิดชอบงานของสุขาภิบาลมีภารกิจในหน้าที่ประจำล้นมืออยู่แล้ว จึงทำให้การบริหารกิจการของสุขาภิบาลมีประสิทธิภาพต่ำลงไปอีก ข้อเสนอแนะ จากผลของการศึกษาวิจัย เรื่อง “การศึกษาเชิงวิเคราะห์อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายอำเภอในการบริหารสุขาภิบาล” เห็นว่ามีข้อเสนอแนะที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างของสุขาภิบาลใหม่ โครงสร้างใหม่นี้ควรเป็นโครงสร้างที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมใจกิจการของสุขาภิบาลมากขึ้น และลดบทบาทการบริหารกิจการสุขาภิบาลของฝ่ายข้าราชการลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการฝึกฝนให้ประชาชนในท้องถิ่นคุ้นเคยกับกระบวนการปกครองตนเองและสามารถที่จะรับภารกิจทั้งของจากฝ่ายข้าราชการในอนาคตอันใกล้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองท้องถิ่นอันแท้จริง 2. ควรได้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับรายได้ของสุขาภิบาล เพื่อให้สุขาภิบาลมีรายได้เพียงพอแก่การปฏิบัติหน้าที่ในการทำนุบำรุงท้องถิ่น สร้างความผาสุขให้แก่ประชาชน การปรับปรุงเกี่ยวกับรายได้ของสุขาภิบาลนี้ สิ่งที่ควรดำเนินการได้ทันทีและไม่มีผลกระทบกระเทือนแก่ประชาชน ตลอดจนสร้างความรู้สึกที่เป็นธรรมให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีก็คือการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีให้ผลสมบูรณ์โดยน่าจะนำโครงการ “แผนที่ภาษีของกรุงเทพมหานครและเทศบาล” มาพิจารณาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีของสุขาภิบาล 3. ควรให้มีการพิจารณาปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขาภิบาลไม่ให้มีลักษณะจำกัดเกินไป จนทำให้ผู้บริหารงานของสุขาภิบาลขาดความอิสระในการทำงาน อันเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการบริหารกิจการสุขาภิบาลประการหนึ่ง
Other Abstract: Problem Identification The existence of the Sanitary Authorities, the oldest form of local government ever established in modern Thailand, have, since its inception, had significant links with the daily life of the people living within their jurisdictions. The aims are to provide an efficiently economic, social and political development and democratic socialization for the benefits of the local residents. The legal administration and supervision, however, have been placed in the hands of the civil servants plus a number of elected citizens. Notwithstanding, the principle of decentralization has not yet been fully applied to the Sanitary Authorities due to their establishment in the relatively less developed areas than that of the Municipalities. Consequently, the supervisory role of regional civil servants have been the significant practice while the participatory activities of the people are, at the moment, considered auxiliary. The present standard practice has yielded certain marginal advantages, namely, a relatively low operational cost and an appropriate organizational structure and functions commensurate with the generally underqualified local electorate. In this connections, the district officers have been the vital link as well as the important administrator solely entrusted with the overall Sanitary responsibilities. Because of the magnitude of ‘de facto’ and ‘de jure’ authority explicitly and implicitly given to the district officers regarding the Sanitary affairs coupled with the generally low degree of political consciousness and orientation among local citizens, invariably causing an ineffective popular control, it is, therefore, deemed necessary by the national government to prescribe certain laws and regulations for the prevention of possible errors and damages committed by the authorities. However, the legal limitations imposed on the district officers are so rigid and inflexible that the administrative discretions, autonomous characteristics of the Sanitary Authorities and substantial satisfaction of the people’s needs almost virtually disappear from the local scenes. In addition, the meager revenues presently obtained by a large number of the Sanitary Authorities have been become a major impediment hindering the fulfillment of the important tasks. Legally assigned duties, ranging from water-work, power supply, water and/or land communication to garbage disposal, are, accordingly, hampered. Each of these responsibilities is so costly that the average annual tax return of the Sanitary Authorities in general amounting to no more than four hundred thousand baths meet the expenses incurred in each working program. Financial handicaps are, at present, still insurmountable. Methodology, Legal survey, documentary studies, structural analysis and field observations coupled with first-hand experience are simultaneously utilized in analyzing all possible variables connecting with the verification of the validity of the proposed hypotheses. Conclusions, Findings have both supported and justified the hypotheses. That is to say, the district officers in their capacity as the presiding officials of the Sanitary Authorities are not able to fulfill their responsibilities efficiently and substantially due to legal, regulatory and revenue limitations and low popular participation. The officials, spared to Sanitary administration, are themselves fully occupied by the routine governmental duties. The situation, thus, adversely effects the overall administrative outputs of the Sanitary Authorities. Recommendations, Certain improvements and corrections should be systematically implemented. Structurally, the Sanitary organizations should simultaneously increase the popular participation and reduce the official roles of the bureaucrats especially the district officers. The long term benefit is democratically political socialization and orientation. Financially, revenue collection measures must be seriously considered so as to improve monetary strength for necessary operation and services. Aiming at giving administrative discretion for flexible and positive outputs, realistic reexamination and evaluation of all laws and regulations regarding Sanitary Authorities must be urgently done.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27677
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anu_Sa_front.pdf520.56 kBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_ch1.pdf562.62 kBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_ch2.pdf868.74 kBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_ch3.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_ch5.pdf922.41 kBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_ch6.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Anu_Sa_back.pdf412.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.