Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27696
Title: แบบแผนและปัจจัยอันเป็นมูลเหตุของการย้ายถิ่นของข้าราชการครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Patterns and factors affecting migration of teachers under the Ministry of Education in Bangkok metropolitan area
Authors: ศันสนีย์ จันทร์สถิตย์พร
Advisors: อรพินท์ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงแบบแผน และปัจจัยอันเป็นมูลเหตุการย้ายถิ่นของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพฯ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลด้วยตนเองด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดกรมการฝึกหัดครู และกรมสามัญ แบ่งเป็น 3 ระดับ ประเภทสถานศึกษาคือ ระดับประถม มัธยม และวิทยาลัยครูตามลำดับ การเก็บข้อมูลใช้เวลาประมาณ 1 ภาคเรียนของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2522 ระหว่างเดือน พฤษภาคม – พฤศจิกายน ได้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา 1306 ราย เป็นข้อมูลกลุ่มประถม 223 ราย กลุ่มมัธยม 906 ราย และกลุ่มวิทยาลัยครู 177 ราย วิทยานิพนธ์มิได้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาเพื่อพิสูจน์สมมติฐานใดๆ หากแต่มุ่งศึกษาเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบบแผน และปัจจัยอาจเป็นมูลเหตุต่อการย้ายถิ่นของข้าราชการครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น ทั้งนี้ได้มีแนวความคิดหลักว่า แบบแผนการย้ายถิ่นของข้าราชการครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพฯ น่าจะเป็นการย้ายถิ่นในระยะสั้น คือเป็นการย้ายถิ่นภายในภาคเดียวกันมากกว่าการย้ายถิ่นระหว่างภาค ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่อาจเป็นมูลเหตุต่อการย้ายถิ่นของ ข้าราชการครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพฯ จากการศึกษาพอสรุปผลย่อๆได้ดังนี้คือ ลักษณะโดยทั่วไปของผู้ย้ายถิ่น จากการศึกษาลักษณะของผู้ย้ายถิ่นทั้งหมดจำนวน 444 รายหรือประมาณร้อยละ 34 จากข้อมูลทั้งหมด 1306 ราย พบว่า ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุค่อนข้างสูงคือ ระหว่าง 28-47 ปี เพราะเป็นผู้สมรสแล้วมากกว่าเป็นโสด และส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดภาคกลางและกรุงเทพฯ มากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นผู้มีขั้นข้าราชการ 3-4 เฉพาะกลุ่มวิทยาลัยครู จะมีขั้นข้าราชการระดับ 5 ขึ้นไป การถือครองที่อยู่อาศัยผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ที่มีอยู่อาศัยประเภท เช่าอยู่อาศัยผู้อื่นอยู่ และมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แบบแผนการย้ายถิ่นของข้าราชการครูกลุ่มนี้ ข้าราชการครูประมาณร้อยละ 34 เคยย้ายข้ามถิ่นจังหวัด และร้อยละ 29.4 เคยย้ายถิ่นภายในจังหวัดประมาณร้อยละ 73 ของผู้ย้ายถิ่น จะเป็นผู้ย้ายถิ่นเพียงครั้งเดียว และเป็นการย้ายมาจากจังหวัดในภาคกลาง อนึ่งลักษณะทางประชากรบางอย่าง เช่น อายุ สถานภาพการสมรส จะมีผลกระทบต่อความถี่ของการย้ายถิ่นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนระดับการศึกษาพบว่ามิได้มีผลต่อความถี่ของการย้ายถิ่นของข้าราชการครูกลุ่มนี้ สาเหตุการย้ายถิ่นของข้าราชการกลุ่มนี้ ผู้ย้ายถิ่นทั้ง 3 กลุ่มให้เหตุผลเกี่ยวกับครอบครัวสำคัญ รองลงมาเป็นเหตุผลเกี่ยวกับความผูกพันต่อภูมิลำเนาเดิม (ที่เกิด) มีความแตกต่างในระดับความสำคัญของเหตุผลการย้ายถิ่นเกี่ยวกับครอบครัว ระหว่างข้าราชการครูทั้ง 3 กลุ่มอยู่บ้าง การศึกษาเกี่ยวกับความต้องการย้ายถิ่น พบว่าข้าราชการครูทั้งหมดที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ มีความต้องการย้ายถิ่นเป็นอัตราส่วนที่ไม่สูงนัก คือมีเพียงร้อยละ 27.5 ไม่ต้องการย้ายมีร้อยละ 34.1 และอีกร้อยละ 36.5 ไม่แน่ใจหรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ มีความแตกต่างของระดับความต้องการย้ายถิ่นระหว่างข้าราชการครูทั้ง 3 กลุ่มบ้าง คือข้าราชการครูกลุ่มวิทยาลัยครู มีความต้องการย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ เป็นอัตราส่วนต่ำสุด ข้าราชการกลุ่มมัธยมต้องการย้ายถิ่นสูงสุด และเมื่อพิจารณาอัตราส่วนความต้องการไม่ต้องการย้ายถิ่นร่วมกับลักษณะต่างๆอันได้แก่ ลักษณะทางประชากร สังคมและเศรษฐกิจ ผลการศึกษานี้จะมีลักษณะสอดคล้องกับงานวิจัยด้านการย้ายถิ่นที่ทำไว้แล้วกล่าวคือ ข้าราชการครูที่มีอายุน้อยหรือ เป็นโสดต้องการย้ายถิ่นมากกว่าข้าราชการครูที่มีอายุมาก หรือข้าราชการครูที่สมรสแล้ว ข้าราชการที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในกรุงเทพฯ มีความต้องการย้ายถิ่นต่ำสุด เช่นเดียวกับลักษณะฐานะทางเศรษฐกิจคือ ข้าราชการที่มีฐานะเศรษฐกิจระดับต่ำ มีความต้องการย้ายถิ่นสูงสุด ในขณะที่ข้าราชการครูที่มีระดับเศรษฐกิจสูงแทบจะไม่มีความต้องการย้ายถิ่นเลย ประสบการณ์การย้ายถิ่นมีผลต่อความต้องการย้ายถิ่นในลักษณะที่ต่างออกไปบ้าง กล่าวคือ ข้าราชการครูที่เคยย้ายถิ่นหลายครั้งมีความต้องการย้ายน้อยกว่าผู้ไม่เคยย้ายเลย อาจจะเป็นได้ว่าผู้ที่เคยย้ายถิ่นมาหลายครั้ง ปัจจุบันมีอายุมากขึ้น มีการตั้งถิ่นฐานและครอบครัวอย่างถาวรในกรุงเทพฯ ความต้องการจะย้ายออกจากกรุงเทพฯจึงมีไม่มากนัก
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate the patterns and factors affecting migration of teachers in Bangkok metropolitan area. For this purpose, data were collected from schools under the Ministry of Education in Bangkok Metropolitan Area. The population in this study including teachers in elementary school, secondary school and teachers' training collage with the total sample size of 1306. Migration in this study is defined as permanent change of residence after joining teaching career. By this definition, the fin¬dings are different from previous migration studies in Thailand since migrants are relatively older, 28-47 years; married and high educational attainment with the average of bachelor degree. Majority of them had their places of birth in Central region and in Bangkok It was found from the patterns of migration that about one- thirds of all teachers ever moved across provincial boundary while 29 percent had ever migrated within their respective provinces. Among migrants, majority of them (73 per cent) had moved only once, in other words, moved directly to Bangkok, and predominantly short distance moves, mainly within Central Region. This study also indi¬cated that their frequency of moves were related to some demographic factors especially age and marital status. The date indicated a number of factors affecting migration. The most important migratory motives are social. These include family factor (following spouse), followed by community's tie with their domicile. However, their are some differences among teachers in there levels concerning with the reasons for moving. Having considered a desire of migrating out of Bangkok, of the 1306 respondents, 27.5 per cent expressed a desire to leave Bangkok, teachers; from, secondary schools expressed highest level, while those from teachers' training colleges have the lowest and primary school teachers are in between. There are evidences about selectivity on age, marital status and economic levels. A higher proportions of young ages, single and low level of economic status expressed a desire to move. For example, never-married teachers tend to have a considerably higher proportion of those who expressed a desire to move than the ever-married. In addition, teachers who were born in Bangkok expressed the lowest level of desire to move as compared to those who were born elsewhere. Another interesting point is, teachers who have experienced multiple moves before tend to have a lower proportion of these who expressed a desire to move than the non-migrant teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27696
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sansanee_Ja_front.pdf559.11 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_Ja_ch1.pdf884.1 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_Ja_ch2.pdf671.35 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_Ja_ch3.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Sansanee_Ja_ch4.pdf705.6 kBAdobe PDFView/Open
Sansanee_Ja_back.pdf300.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.