Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27709
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจารุวรรณ ลืมปะเสนีย์
dc.contributor.authorหัสนัย จิตอารีย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-15T04:18:30Z
dc.date.available2012-12-15T04:18:30Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745663689
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27709
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractลักษณะที่ตั้งของชุมชนเมืองท่าเรือและพื้นที่ต่อเนื่องมีระบบการคมนาคมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ ประกอบกับเป็นจุดเปลี่ยนการเดินทางที่ก่อให้เกิดการประหยัดและสะดวกในด้านการขนส่งและตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากแหล่งวัตถุดิบและตลาด เป็นพื้นที่ที่สนใจของนักลงทุนอุตสาหกรรม จึงมีโอกาสได้รับการพัฒนาความเป็นเมืองได้สูง ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านลักษณะกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ชุมชนเมืองท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการพัฒนาพื้นที่จากชุมชนเกษตรกรรมเป็นชุมชนอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งกลางรับซื้อวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพด และข้าวฟ่าง และเป็นแหล่งส่งออกที่สำคัญแห่งหนึ่ง สาระสำคัญของวิทยานิพนธ์ ศึกษาถึงบทบาทและความสำคัญของชุมชนเมืองท่าเรือที่มีต่ออำเภอท่าเรือโดยตรง และรวมถึงมีบทบาทต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจนระดับภาคของประเทศ ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของชุมชนเมืองท่าเรือ แต่ละช่วงเวลาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคต ศึกษาลักษณะของอุตสาหกรรมไซโลซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศ โดยเฉพาะผลผลิตจากการเกษตรประเภทธัญพืช มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าการใช้ที่ดินและทิศทางการขยายตัวของชุมชนเมืองท่าเรือมีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของอุตสาหกรรมไซโลอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ จากการที่ชุมชนเมืองท่าเรือมีลักษณะความได้เปรียบเชิงพื้นที่ เพราะตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากแหล่งผลิตของข้าวโพดและข้าวฟ่าง และท่าเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นจุดที่สะดวกและประหยัดในด้านต้นทุนการขนส่ง จึงกลายเป็นแหล่งรับซื้อที่สำคัญ ทำให้อุตสาหกรรมไซโลเข้ามาก่อตั้งในพื้นที่จำนวนมากและรวดเร็ว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมในลักษณะเดียวกัน คือ จำนวนความต้องการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ในเขตชุมชนเมืองท่าเรือมีมากขึ้นตามพื้นที่และจำนวนของอุตสาหกรรมไซโลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ที่ดินเพื่อเป็นบริเวณพักอาศัยและย่านพาณิชยกรรมมีการเพิ่มอย่างชัดเจน นอกจากนี้พบว่ามีการปรับปรุงและเพิ่มโครงข่ายการให้บริการในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตามการขยายตัวของชุมชนเมืองเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น อาทิ โครงข่ายการคมนาคม โครงข่ายการสื่อสาร ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุข และการให้บริการด้านการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตามการปรับปรุงและเพิ่มเติมการให้บริการดังกล่าวยังไม่เพียงพอและทันต่อความต้องการของชุมชน พบว่าการใช้ที่ดินขยายตัวสูงขึ้นทุกด้าน จนพื้นที่ในเขตชุมชนเมืองไม่เพียงพอต่อการรองรับ จำเป็นต้องขยายออกไปในพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งเป็นเขตชนบท ทิศทางการขยายตัวของชุมชนเมืองที่ศึกษาจะขยายตามนาวเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบลำแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ ตามแนวถนนสายท่าเจ้าสนุก-ศาลาลอย และตามแนวถนนสายท่าเรือ-ปากท่า นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวตามแนวถนนสายหลักอื่น เช่น ตามแนวถนนสายพระพุทธบาท-ท่าเรือ เป็นต้น ปัจจุบันการขยายตัวของชุมชนเมืองท่าเรือ เป็นไปอย่างตามยถากรรม ขาดความเป็นระเบียบแบบแผนที่เหมาะสมและขาดการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขยายตัวไปตามแนวยาวของเส้นทางคมนาคมอย่างไม่สิ้นสุด บางบริเวณมีการขยายตัวเข้าไปในเขตการปกครองอื่นที่ติดต่อกัน ทำให้มีปัญหาต่อการจัดบริการปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ให้เพียงพอต่อความต้องการและทั่วถึงเพื่อสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต นอกจากนี้จากการที่ขาดความเป็นระเบียบในการใช้ที่ดินแต่ละประเภท จึงก่อให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะ แก่ชุมชนเมือง และได้เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ของเขตเทศบาลตำบลท่าเรือและพื้นที่ต่อเนื่องโดยมีรายละเอียดประเด็นหลัก 2 ประการ คือ ด้านการควบคุม ได้กำหนดความเป็นระเบียบในการใช้ที่ดินของแต่ละประเภทที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อการใช้ที่ดินประเภทอื่น โดยเฉพาะที่สำคัญคือการใช้ที่ดินเพื่อเป็นย่านอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลภาวะด้านฝุ่นและเสียง ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้ที่อยู่ใกล้เคียง จึงเสนอให้ควบคุมการเพิ่มจำนวนอุตสาหกรรมไซโลที่จะตั้งขึ้นใหม่ในเขตชุมชนเมืองท่าเรือทั้งหมด และสนับสนุนให้ขยายตัวหรือก่อสร้างในพื้นที่ต่อเนื่องที่ใกล้เคียง คือในพื้นที่ตำบลท่าเจ้าสนุกและตำบลศาลาลอยทั้งสองฟากแม่น้ำป่าสัก ซึ่งทั้งสองพื้นที่นี้จัดว่ามีความเหมาะสมลำดับแรก ส่วนพื้นที่ในเขตตำบลบางโขมด จังหวัดสระบุรี ตามแนวถนนสายพระพุทธบาท-ท่าเรือ เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในลำดับรอง ด้านการพัฒนา จากการที่อุตสาหกรรมไซโลเป็นกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อกิจกรรมดังกล่าวจากมาตรการด้านการควบคุมจึงเสนอให้มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมการจัดบริการปัจจัยพื้นฐานให้เพียงพอและเหมาะสมกับสภาพความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรมได้ นอกจากนี้ได้เสนอแนะให้มีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการประกอบการอุตสาหกรรม ปัจจุบันเพื่อให้สามารถดำเนินการได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะดังกล่าวะจะเป็นการรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองท่าเรือในอนาคต
dc.description.abstractalternativeThe Tha Rua community and its neighbors have good transportation system both by land and by river. It is convenience for cargo exchange since it is not too far from the market. This city has a potential in developing to be a big city and with the change in physical, economic and social from a small agricultures into agro-industry and key industry. It can be the center importing raw materials such as maize and millet and can be also exporting center. This thesis put an emphasis upon the essential role of Tha Rua which will directly benefit the Tha Rua district, Ayuttaya province and the region at last. This work has triend to analysis the factors affecting the land-use pattern in the future. It is found that silo industry is one of the key factors influencing social and economic changes of the Tha Rua community. Land-use pattern and community expanding have closely related to the expanding silo industry. Since it is located near the maize and millet Production and The Eastern Sea Board, it can develop to be an important place in buying factor of production. This situation will influence in changing on land-use demanding for the related activities in Tha Rua community, especially on residential area, commercial area and the need for public utilities. According to the expanding community, there should have more effective service in public utilities, education, communication etc. However these services are still not enough for the demands for this community. I have found out that the demand for land-use increases every day until the land cannot meet the demand in this community. Expanding toward to the country side is needed. New transportation especially along Pa-Sak River such as along The Chow Sanook-Salaloy Road and Tha Rua-Pak Tha Road and some other roads along Pra Putha Bath-Tha Rua have been studied in this research. At present the development of Tha Rua community is not well plan therefore the basic problem on infrastructure and on environment are accured two suggestions have made for this community development. – Control Land-use pattern should be set to be residential area, industrial area and storage area in order to minimize the problem of air pullusion and noise pullusion. I would like to suggest to increase silo industry at Tha Rua, first into Tumbol Tha Chow Sanook and Tumbol Sa La Loy along both side of Pa Sak River, and second to Tambol Bang Ka Mod Saraburee Province along Pra Put Tabat-Tha Rua Road. –Development Because of silo industry is the main activity that lead to economic development of this area, Therefore basic public utilities are necessary. All of these suggestion I hope it can help in developing of Tha Rua community in the future.
dc.format.extent617805 bytes
dc.format.extent326542 bytes
dc.format.extent421147 bytes
dc.format.extent4432352 bytes
dc.format.extent1211487 bytes
dc.format.extent1248138 bytes
dc.format.extent347967 bytes
dc.format.extent265502 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาen
dc.title.alternativeA guidelines of development plan for Amphoe Tha Rua Changwat Pha Nakhon Si Ayutthayaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hassanai_Ji_front.pdf603.33 kBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_ch1.pdf318.89 kBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_ch2.pdf411.28 kBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_ch3.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_ch4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_ch5.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_ch6.pdf339.81 kBAdobe PDFView/Open
Hassanai_Ji_back.pdf259.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.