Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27741
Title: | ผลของการแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มย่อยต่อวุฒิภาวะทางอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม |
Other Titles: | The effect of small-group career guidance on career maturity of matayom suksa three students |
Authors: | อรุณี ชาญด้วยกิจ |
Advisors: | จีน แบรี่ วัชรี ทรัพย์มี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มย่อยต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีสมมติฐานว่านักเรียนที่ได้รับการแนะแนวอาชีพ ด้วยกระบวนการแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มย่อยจะมีคะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการแนะแนวอาชีพในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสองชั้น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 12 คน รวม 24 คน แล้วสุ่มตัวอย่างง่ายขากนักเรียน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมกระบวนการแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มย่อยทุกสัปดาห์ๆละ 50 นาที รวม 15 สัปดาห์ โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนกิจกรรมแนะแนวอาชีพในชั้นเรียนตามปกติ สัปดาห์ละ 50 นาที รวม 15 สัปดาห์เช่นเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพ มาตรวัดทัศนคติของ จอห์น โอ ไครส์ท ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย ดร.พรรณราย ทรัพยะประภา การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการทดลองสองกลุ่ม ทดสอบก่อนการทดลองและทดสอบหลังการทดลอง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยทดสอบความแตกต่างของคะแนนรวมในครั้งทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) และคะแนนรวมในครั้งทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้ค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า การเข้าร่วมกระบวนการแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มย่อยมีผลต่อการเพิ่มวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนมากกว่าการแนะแนวอาชีพในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the effects of small group career guidance on career maturity of Matayom Suksa 3 students. The hypothesis tested was that participants in small group career guidance would obtain higher scores on career maturity than participants in a guidance class. The sample included students who studied in Matayom Suksa 3 at Satri Wat Absorn Sawan School. The subjects were assigned to two groups, each group comprising 12 students for a total of 24 students. The subjects were randomly divided into an experimental group and a control group. The experimental group participated in small group career guidance sessions, 50 minutes per week for a period of 15 weeks. The group leader was the researcher. The control group attended guidance classes of 50 minutes per week for a total of 15 weeks. The instrument used for this research was "The Career Maturity Inventory", constructed by John O‘ Crites and translated by Dr. Panarai Supyeprapar. The randomized pretest- posttest design was used. The data were analysed using the t-test. Results indicated that there was a statistically significant difference at the .01 level between the experimental group and the control group. Small group career guidance participation was effective in increasing career maturity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27741 |
ISBN: | 9745662682 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arunee_Ch_front.pdf | 405.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_Ch_ch1.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_Ch_ch2.pdf | 535.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_Ch_ch3.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_Ch_ch4.pdf | 627.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_Ch_ch5.pdf | 280.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_Ch_back..pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.