Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27762
Title: องค์ประกอบที่มาจากชีวิตจริงในนวนิยาย เรื่อง อเมริกา และ ดาซ ชโลส ของ ฟรานซ คาฟกา
Other Titles: Realistische elemente in Franz Kafkas romanen Amerika und Das Schloß
Authors: อรพิม ตันตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ยอมรับกันว่างานของ คาฟกา มีลักษณะเกินความจริง และไม่สมเหตุสมผล วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งที่จะวิเคราะห์องค์ประกอบที่มาจากชีวิตจริง ในนวนิยายเรื่องแรกคือ “อเมริกา” และเรื่องสุดท้ายคือ”ดาซ ซโลส” ของคาฟกา เพื่อแสดงให้เห็นว่า นวนิยายทั้งสองเรื่องนี้เป็นจริงเพียงใด และโดยวิธีใด มีวิวัฒนาการทางด้านการประพันธ์เกิดขึ้นหรือไม่ งานวิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วยบทใหญ่ 3 บท ในบทนำเป็นคำจำกัดความและความหมายของ “เรียลิสม์” บทที่ 2 เป็นการวิเคราะห์นวนิยายทั้งสอง เรื่องแรกคือ “อเมริกา” และ”ดาซ ซโลส” เป็นเรื่องที่สอง ส่วนแรกของการวิเคราะห์นวนิยายแต่ละเรื่อง เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบที่มาจากชีวิตจริง โดยศึกษาต้นตอและข้อมูลที่คาฟกานำมาใช้ในนวนิยายของเขา เช่นเรื่อง “อเมริกา” จะเป็นการวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ของ ชาลส ดิกเกนส, ชีวประวัติของ เบนจามิน แฟรงกลิน, บันทึกประสบการณ์การเดินทางในสหรัฐอเมริกา ของ อาธัว ฮอลิทเชอร์ เพื่อวิเคราะห์ว่า คาฟกา นำเสนอข้อมูลเหล่านี้ในงานของเขาอย่างไร ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างและวิธีการเขียนของคาฟกา เช่น การสร้างตัวละคร, เวลาและสถานที่ในเรื่องเป็นต้น บทที่ 3 เป็นการเปรียบเทียบนวนิยายทั้งสอง และตอบคำถามที่ว่า “มีวิวัฒนาการอันใดหรือไม่ระหว่าง “อเมริกา” นวนิยายเรื่องแรกและ”ดาซ ซโลส” นวนิยายเรื่องสุดท้ายของคาฟกา นั่นคือคาฟกา ในฐานะนักประพันธ์ได้พัฒนาตัวเองหรือไม่?” ซึ่งนักวิจารณ์วรรณคดีจำนวนมากตอบปฏิเสธคำถามนี้
Other Abstract: Es wird behauptet,daB Kafkas Werke surrealistisch und unlogisch sind. Das Ziel dieser Arbeit ist es,die realistiscen Elemente in seinem ersten und letzten Roman : “Amerika" und "Das SchloB",zu untersuchen, um zu zeigen,wieweit und wodurch die beiden Romane realistisch sind und ob es moglicherweise eine dichterische Entwicklung in Kafkas werk festzustellen ist. Diese Arbeit besteht aus drei Kapiteln. In der Einleitung wird der Begriff "Realismus" definiert. Das zweite Kapitel ist die Analyse der beiden Romane, zunachst "Amerika" und dann "Das SchloB". Im ersten Teil der Untersuchung der Romane werden die realistischen Elemente in Bezug auf die Quellen untersucht z.B. die Quellen des "Amerika Romans": Charles Dickens‘ "David Copperfield“, Benjamin Franklins Biographie, Arthur Holitschers Bericht uber seine Reise in Amerika, Kafkas eigene Biographie. Diese Quellen werden untersucht, um zu zeigen, wie Kafka sie in seinem Roman verarbeitet hat. Der zweite Teil ist die strukturelle und stilistische Analyse, z.B. die Zeit- und Raumgestaltung und die Gestaltung der Figuren. Das dritte Kapitel ist der Vergleich der beiden Romane und die Antwort auf die Frage: "Gibt es hier Entwicklung zwischen Kafkas erstem Roman "Amerika" und letztem Roman "Das SchloB? D,h.Hat Kafka sich als Schriftsteller entwickelt? Das wird namlich von vielen Literaturkritikern geleugnet.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาเยอรมัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27762
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapim_Ta_front.pdf390.98 kBAdobe PDFView/Open
Orapim_Ta_ch1.pdf327.17 kBAdobe PDFView/Open
Orapim_Ta_ch2.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Orapim_Ta_ch3.pdf308.33 kBAdobe PDFView/Open
Orapim_Ta_back.pdf278.09 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.