Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27808
Title: การเตรียมครูและการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัยในประเทศไทย ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนในสาขาปฐมวัย
Other Titles: Preparation and performance of pre-school teacher in Thailand as perceived by administrators and instructors in pre-school education
Authors: เอื้อพร โอนพรัตน์วิบูล
Advisors: กิติยวดี บุญชื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีความมุ่งหมายที่จะ 1) ศึกษาหลักสูตรการเตรียมครุระดับปฐมวัยของสถาบันเตรียมครู 2) ศึกษาคุณสมบัติของครูที่ผู้บริหารโรงเรียนระดับปฐมวัยต้องการ 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนระดับปฐมวัยและอาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยของวิทยาลัยครูและมหาวิทยาลัยที่มีต่อการเตรียมครูและการปฏิบัติงานของครูในระดับนี้ ตัวอย่างประชากรประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันเตรียมครูระดับปฐมวัย อาจารย์ผู้สอนในสาขาการศึกษาปฐมวัยและผู้บริหารโรงเรียนระดับปฐมวัย โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากประชากรทั่วประเทศ ได้ตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมครูและการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า ที (t-test) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ คือ 1) จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถาบันเตรียมครู พบว่า วิทยาลัยครูรับนโยบายและหลักสูตรตามที่เจ้าสังกัดกำหนด แต่มหาวิทยาลัยมีอิสระในการวางหลักสูตรให้เหมาะสมได้มากกว่าโครงสร้างของหลักสูตรทั้งสองคล้ายคลึงกัน โดยเน้นทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ นอกจากนี้ ได้ทราบว่า มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยครูยังมิได้สำรวจหาข้อมูลอย่างจริงจังเกี่ยวกับความต้องการหรือวางแผนร่วมกับผู้ใช้ครูระดับนี้ ตลอดจนการติดตามผลนิสิตที่จบไปแล้ว 2) จากการรายงานของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ในสภาพปัจจุบัน ครูปฐมวัยส่วนใหญ่เป็นหญิงและอัตราส่วนครูต่อนักเรียน 1:35 ขึ้นไปมีร้อยละ 32.35 และ 1 : 30 มีร้อยละ 29.41 วุฒิการศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนส่วนใหญ่มีวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 5 รองลงไปคือวุฒิ ป.ก.ศ. ต้นและ ป.ก.ศ. สูงตามลำดับ ส่วนครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและทบวงมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีวุฒิ ป.ก.ศ. สูง สาขาปฐมวัยมากที่สุด รองลงไป คือ วุฒิ ป.ก.ศ.สูงสาขาอื่นและปริญญาตรี ตามลำดับ 3) คุณสมบัติของครูที่ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ต้องการ คือ เป็นผู้หญิง โสด มีวุฒิการศึกษา ป.ก.ศ. สูง สาขาปฐมวัย หรือผ่านการอบรมทางด้านนี้มาแล้ว และมีความสามารถพิเศษหลายด้าน 4)ในด้านกระบวนการสอน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยครูส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการวางนโยบายร่วมกับสถาบันอื่น และควรมีศูนย์กลางเพื่อให้สถาบันเตรียมครูศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน การฝึกสอนของนิสิตนักศึกษาควรใช้เวลาประมาณ 12 สัปดาห์ อาจารย์นิเทศควรมีประสบการณ์ในการสอนเด็กปฐมวัยไม่น้อยกว่า 3 ปี วิธีสอนที่อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ใช้ คือ บรรยาย สาธิต อภิปราย ตามลำดับ ส่วนวิธีสอนที่ผู้สอนต้องการให้นิสิตนำไปใช้ คือ บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลองและวิธีทดลอง 5) ผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า หลักสูตรการเตรียมครูปฐมวัยควรให้ความสำคัญทุกหมวดวิชาเท่ากัน วิชาบังคับในหมวดวิชาเอก ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วย ยกเว้นวิชาการเรียนคีย์บอร์ด 1 ควรจัดเป็นวิชาเลือก สำหรับอาจารย์ผู้สอนเห็นด้วยกับทุกวิชายกเว้นวิชาการเต้นรำทำจังหวะควรจัดเป็นวิชาเลือก ส่วนวิชาเลือกนั้น วิชาที่ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าควรเป็นวิชาบังคับ คือ วิชาเครื่องมืออนุบาล และวิชาเลือกที่อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าควรเป็นวิชาบังคับ คือ วิชากิจกรรมดนตรีสำหรับครูก่อนประถมศึกษา 6) ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครูในด้านบุคลิกภาพ การเตรียมตัวเพื่อการสอน วิธีการสอน และมนุษยสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this survey research were :1. To study the curriculum of the pre-school teachers program of teacher training institutes. 2. To study the quality of pre-school teachers required by the school administrators. 3. To study the opinions of the administrators and the instructors concerning the teacher training institutes ‘preparation of pre-school teachers and also the pre-school teachers’ performances. The total of 141 samples were the administrators of pre-school teacher training institutes, the instructors in teacher training institutes and the school administrators selected by simple random sampling technique. The instrument used in this research were the interviewed forms and questionnaires constructed by the researcher. The obtained data were analyzed by computing the percentage, means, standard deviation and t-test. Finding : 1. According to the data obtained, all of the training institutes adopted the policy and set up the curriculum according to the Ministry of Education while the university had more freedom of constructing her own curriculum. These curriculums were similar in both theory and practice. Neither research nor survey was studied about the needs of the schools concerning the preparation of the pre-schoolteachers including the follow-up program. 2. The school administrators reported that : most of the pre-school teachers were female. The teacher-students ratio was 1:35 and over (32.35 percent) and 1:30 (29.41 percent). Most of the teachers under the Office of Private Education had M.S. 5 certificate, and some had received Certificate in Education and Higher Certificate in Education. While most of the teachers under the Office of Primary Education and the Ministry of University Affairs had received Higher Certificate in Pre-school Education, Higher Certificate in other majors and Bachelor Degree. 3. According to school administrators’ preferences concerning the qualification of pre-school teachers were single, female with Higher Certificate in Pre-school Education or training experiences in this field. Special abilities in certain areas would be well appreciated. 4. In teaching process, most instructors have agreed that there should be common policy and centre for exchanging ideas and knowledge among university, institutes and schools. The period of training program should not be less than twelve weeks. The teacher training supervisors should have at least three years experiences in teaching pre-school students. The teaching methods used were lecturing, demonstrating and discussing. However the teaching techniques expected to be used in pre-school by the trainees would be role play assimilation and experimentation technique. 5. Most of the school administrators and instructors considered that all courses in the curriculum should be equally emphasized. They agreed on most of the compulsory major subjects except Key-board I , the school administrators preferred to move course Movement in Music into Elective Area. At the same time the school administrators preferred the course Nursery Instrument to be compulsory while the instructors viewed that the course Music Activities for Young Children should be compulsory. 6. There was no significant difference between the school administrators’ and instructors’ opinions concerning teachers’ performances in the area of personalities, teaching preparation, teaching methods and human relationship.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27808
ISBN: 9745621641
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eauporn_On_front.pdf403.22 kBAdobe PDFView/Open
Eauporn_On_ch1.pdf371.98 kBAdobe PDFView/Open
Eauporn_On_ch2.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Eauporn_On_ch3.pdf298.62 kBAdobe PDFView/Open
Eauporn_On_ch4.pdf847.31 kBAdobe PDFView/Open
Eauporn_On_ch5.pdf483.74 kBAdobe PDFView/Open
Eauporn_On_back.pdf883.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.