Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27845
Title: | การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย และการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Other Titles: | A development of model of physical fitness promotion and health problem-solving thinking of underweight elementary school students in the Southern border province |
Authors: | ถาวรินทร รักษ์บำรุง |
Advisors: | สมบูรณ์ อินทร์ถมยา เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somboon.I@Chula.ac.th Aimutcha.W@chula.ac.th |
Subjects: | การส่งเสริมสุขภาพ นักเรียนประถมศึกษา -- ไทย (ภาคใต้) น้ำหนักตัว เด็ก -- สุขภาพและอนามัย Health promotion Students -- Thailand, Southern Body weight Children -- Health and hygiene |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และศึกษาผลการใช้รูปแบบดังกล่าวที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จากโรงเรียนรูสะมิแล จังหวัดปัตตานี โดยใช้การเลือกโรงเรียนตัวอย่างแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายโดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพ แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพ และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated measures) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two way ANOVA with repeated measures) และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ รูปแบบการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินกิจกรรมของรูปแบบมี 4 ระยะ โดยใช้กิจกรรมพลศึกษาและนันทนาการ เป็นกิจกรรมหลักและใช้ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาเป็นกระบวนการในการปฏิบัติกิจกรรม 2. ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายและคะแนนเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรูปแบบดังกล่าวส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย และคะแนนเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | To develop a model of physical fitness promotion and health problem-solving thinking of underweight elementary school students in the southern border province and to study the effect of implementation of the model. The subjects were underweight elementary school students from Rusamelae School, Pattani Province. The research procedures were divided into 4 phases: pre-test, implement, post-test and following u. The research tools were the physical fitness promotion activities plan model by using health problem-solving thinking approach, health problem-solving thinking test and physical fitness test. The data were then analyzed in terms of one way ANOVA with repeated measure and tested mean difference between the experimental group and the control group in terms of two way ANOVA with repeated measures. The test of statistic significance difference was at .05 level. The research results were as follows: 1. The model of physical fitness promotion and health problem-solving thinking were developed by using physical education activities, recreational activities and problem solving thinking approach. 2. The effectiveness of the model was shown that the experimental group had higher mean scores in physical fitness test and health problem-solving thinking test than the control group statistically significant difference at .05 level during pre-test, treatment, post-test and following up phase. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27845 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1437 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1437 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tavarintorn_ra.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.